5 สิ่งที่ต่างระหว่าง หัวพ่อค้า Vs หัวธุรกิจ

พูดถึงคำว่า “ หัวพ่อค้า ” กับ “หัวธุรกิจ” หลายคนบอกว่ามันคือเรื่องเดียวกัน แต่ในความเป็นจริง ความหมายอาจคล้ายกันแต่มีสิ่งที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ในฐานะที่ www.ThaiSMEsCenter.com ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่ส่งเสริมให้คนได้มีอาชีพได้มีเทคนิคการทำธุรกิจในรูปแบบต่างๆ เราก็ควรมาพูดถึงเรื่องนี้เพื่อให้เข้าใจกระจ่างชัดและค่อยมาเลือกกันอีกทีว่าเราอยากเป็นหัวพ่อค้าหรือว่าสนใจอยากเป็นหัวธุรกิจ

เริ่มจากคำว่าหัวพ่อค้า ก็คือผู้ที่ลงทุนอะไรไปแล้วต้องกำไรทันที เช่น การขายสินค้า ซื้อ มา 10 บาท ขาย 15 บาท หักค่าใช้จ่ายแล้วยังต้องกำไร และ ต้องกำไรตลอดเวลาในการค้าขาย ทำให้คนที่เป็นพ่อค้าไม่สามารถขยายธุรกิจใหญ่โตได้ ปัจจุบันก็ยังคงเป็นพ่อค้าเหมือนเดิม

ส่วนคำว่าหัวธุรกิจจะแตกต่างกับคำว่าหัวพ่อค้า เพราะหัวธุรกิจนั้นคือผู้ที่ยอมลงทุนก่อนโดยไม่ได้หวังว่าจะต้องกำไรในทันที บางครั้งยอมขาดทุน 1-3 ปี เช่น เจ้าของโรงงานต่างๆหรือบางครั้งยอมขาดทุน ถึง10ปี

เช่น โรงแรมระดับ 4-5 ดาว นักธุรกิจจะมีอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ และ มีการขยายตัว ขยายธุรกิจ ตลอดเวลา เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ มีทั้ง cp, 7-11 ทรู และ อีกหลายๆธุรกิจซึ่งอยู่ในเครือ เมื่อจำแนกความหมายได้ชัดเจนระหว่างคำว่าหัวพ่อค้าและหัวธุรกิจ ทีนี้ก็ลองมาแยกย่อยลงลึกไปอีกจะเห็นความต่างถึง 5 ประการคือ

1.พ่อค้าขายอย่างเดียว แต่นักธุรกิจบริหารเป็นด้วย

หัวพ่อค้า

จะเห็นได้ว่าการเป็นพ่อค้านั้นง่ายใครๆ ก็ทำได้ แค่มีโต๊ะ 1 ตัว สินค้าสักอย่างก็วางขายได้แล้ว หรือจะลงทุนมากหน่อยก็เปิดร้านใหญ่ขึ้นขายสิจค้ามากขึ้นแต่ส่วนใหญ่พ่อค้ามักจะเป็นผู้ลงมาทำงานด้วยตัวเอง

แตกต่างจากนักธุรกิจที่จะลงมาในช่วงแรกๆที่เริ่มต้นกิจการ แต่หลังจากนั้นหัวนักธุรกิจจะเริ่มทำงานและเริ่มใช้หลักบริหารจัดการเข้ามาเพื่อลดภาระงานจตัวเองเพื่อเอาเวลาไปแสวงหารายได้ทางอื่นมากขึ้น

2.พ่อค้าพอใจกับปัจจุบัน แต่นักธุรกิจมองถึงอนาคต

q4

พ่อค้าส่วนใหญ่มักมองกับผลกำไรในปัจจุบันพอใจกับการค้าขายที่เกิดขึ้น พ่อค้าส่วนใหญ่จึงไม่ได้มีการวางแผนถึงการขยายธุรกิจไปสู่อนาคต บ่อยครั้งไม่มีการวางแผนธุรกิจ คิดแค่ว่าจะขายอะไรได้กำไรหรือไม่แค่นั้น

จึงเป็นเหตุผลสอดคล้องกันที่พ่อค้ามักจะโตช้ากว่าการทำธุรกิจ ที่ส่วนใหญ่มีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ และบางทีก็ยอมลงทุนก่อนเพื่อจะได้กำไรทีหลัง เรียกว่าเป็นการลงทุนเพื่ออนาคต

3.พ่อค้าไม่ค่อยกล้าเสี่ยงลงทุน แต่นักธุรกิจกล้าได้กล้าเสีย

q7

ความที่ไม่ได้มีการวางแผนชัดเจนทำให้พ่อค้ามองเรื่องผลกำไรเป็นรายวัน ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยกล้าลงทุนหรือเปลี่ยนแปลงการลงทุนเพราะรู้สึกว่าไม่คุ้มค่าและไม่อยากเสี่ยง พ่อค้าส่วนใหญ่มักจะเลือกเก็บเงินในรูปแบบเงินฝาก

แต่ในทางกลับกัน หัวนักธุรกิจมักใช้วิธีเอาเงินต่อเงินและกล้าได้กล้าเสียในการลงทุน เมื่อพิจารณาแล้วว่าสิ่งที่จะได้คุ้มค่าก็จะไม่ลังเลในการลงทุน และมีการตัดสินใจที่รวดเร็วกว่า

4.พ่อค้ามักยึดติดกับวิธีเดิม แต่นักธุรกิจมักมองหาเทคโนโลยีใหม่ๆ

q8

พ่อค้ามักไม่ค่อยจ้างพนักงานเพราะมองว่าบริหารด้วยตัวเองจะดีกว่า รวมถึงไม่เชื่อใจคนอื่นว่าจะมาทำงานได้ดีเหมือนที่ตัวเองทำหรือไม่ ทำให้วิธีการขาย วิธีการสั่งซื้อสินค้า ทุกอย่างจะเป็นแบบเดิม ๆ ที่ตัวเองเคยทำ ซึ่งแตกต่างจากนักธุรกิจที่ พร้อมเปิดรับเอาโครงสร้างด้านบุคลากรมาใช้ในการทำงาน

ดังนั้นหัวนักธุรกิจจึงมีลูกน้องในแผนกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบุคคล ฝ่ายบัญชี รวมถึงยังมีการรับเอาเทคโนโลยีหรือโปรแกรมที่ใช้ในการทำงานให้ง่ายขึ้นมาผนวกใช้กับธุรกิจ ซึ่งในกลุ่มพ่อค้าจะไม่มองเรื่องเทคโนโลยีที่ช่วยในการทำงานเพราะมองว่าไม่น่าเชื่อถือเป็นความแตกต่างอีกเรื่องที่ชัดเจนมาก

5.พ่อค้าไม่ได้คิดเรื่องกลุ่มลูกค้า แต่นักธุรกิจให้ความสำคัญกับกลุ่มเป้าหมาย

q3

เหตุผลที่นักธุรกิจขยายการลงทุนของตัวเองได้เร็วกว่าการเป็นพ่อค้าธรรมดาส่วนหนึ่งมาจากความชัดเจนในเรื่องกลุ่มเป้าหมาย หากมีการวางแผนการตลาดที่ดี เจาะกลุ่มลูกค้าได้ตรงจุด ตรงความต้องการ ทำให้ร้านกลายเป็นที่รู้จักในวงกว้างในเวลาสั้นกว่ามากหากเทียบกับไม่รู้กลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน เช่น พ่อค้าร้านธรรมดา อาจใช้เวลา 2 ปีทำให้คน 20,000 คนรู้จักร้าน

แต่หากเป็นธุรกิจที่ผู้บริหารเก่งอาจทำให้คน 500,000 – 800,000 คนรู้จักร้านในเวลาแค่ 6 เดือน แถมลูกค้ายังรู้สึกดีต่อแบรนด์นั้นๆอีกด้วย และเมื่อมีกลุ่มลูกค้าชัดเจน การขายก็ชัดเจน รายได้ก็ชัดเจน นั้นเป็นเหตุผลว่าทำไมคนลงทุนที่มีหัวธุรกิจถึงสามารถทำรายได้แตะหลัก 100 ล้าน 1,000 ล้าน ในขณะที่แนวคิดแบบพ่อค้าแม่ค้ายังมีรายได้แตะแค่หลัก 10,000 หลัก 100,000 เท่านั้น

อย่างไรก็ดีหัวพ่อค้าก็มีข้อดีในตัวเองที่หัวธุรกิจควรเอาเป็นแบบอย่างเช่น การคิดวิเคราะห์แบบรอบคอบ , ความขยันและอดทนที่เป็นเลิศ รวมถึง การรู้จักประหยัดและเก็บออม สิ่งเหล่านี้มีอยู่ในคำว่าหัวพ่อค้า

ซึ่งในภาคของนักธุรกิจที่ดีก็ควรเริ่มจากการเป็นพ่อค้าที่ดีก่อนที่จะต่อยอดตัวเองมาเป็นนักธุรกิจ โดยเฉพาะก่อนจะเป็นนายคนตัวเองก็ต้องรู้จักธุรกิจที่ทำรู้ซึ้งถึงปัญหาทุกซอกทุกมุมเผื่อเวลาเป็นผู้บริหารระดับสูงขึ้นไปเราจะได้พูดคุยและแก้ปัญหาให้กับลูกน้องได้อย่างถูกต้อง


SMEs Tips

  1. พ่อค้าขายอย่างเดียว แต่นักธุรกิจบริหารเป็นด้วย
  2. พ่อค้าพอใจกับปัจจุบัน แต่นักธุรกิจมองถึงอนาคต
  3. พ่อค้าไม่ค่อยกล้าเสี่ยงลงทุน แต่นักธุรกิจกล้าได้กล้าเสีย
  4. พ่อค้ามักยึดติดกับวิธีเดิม แต่นักธุรกิจมักมองหาเทคโนโลยีใหม่ๆ
  5. พ่อค้าไม่ได้คิดเรื่องกลุ่มลูกค้า แต่นักธุรกิจให้ความสำคัญกับกลุ่มเป้าหมาย

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S

plann01

ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด