5 กลยุทธ์ทำ Community Mall ให้คึกคัก!

ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมากระแส Community Mall ถือว่าคึกคักมากมีการเปิดโครงการใหม่ๆ ในย่านชานเมืองรองรับการขยายตัวของคนที่ออกสู่ชานเมืองมากขึ้น จากข้อมูลในปี 2560 ระบุว่า พื้นที่เช่ารวมของ Community Mall นั้นมีถึง 8.56 แสนตร.ม. เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ที่มีพื้นที่เช่ารวมเพียง 3.45 แสนตร.ม.

จุดเด่นของ Community Mall การอยู่ใกล้ชิดกับแหล่งชุมชน การลงทุนน้อยกว่าห้างสรรพสินค้า เน้นการเข้าถึงของลูกค้าที่ง่ายตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ที่เร่งรีบมากขึ้น Community Mall ชื่อดังที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีเช่น
K Village , Asiatique The Riverfront . The Crystal หรืออย่าง The Circle Ratchapruk เป็นต้น

5 กลยุทธ์ทำ Community Mall ให้คึกคัก!

ภาพจาก https://goo.gl/vVJ34q

อย่างไรก็ตามใช่ว่าทุกคนที่คิดลงทุนทำ Community Mall จะไปรอดได้หลายแห่งเปิดตัวไม่นานก็ต้องปิดกิจการซึ่ง
www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าการทำ Community Mall ไม่ใช่แค่การมีเงินทุนแล้วใครจะทำก็ได้สำคัญคือเทคนิคและกลยุทธ์ที่ต้องศึกษาเรื่องนี้ให้ละเอียดลึกซึ้ง

1.ยึดทำเลทองแพงแค่ไหนก็ต้องทุ่ม

101

ภาพจาก https://goo.gl/Xd1LZN

เป็นกฏพื้นฐานของการลงทุนที่ละเลยไม่ได้โดยเฉพาะหากคิดทำ Community Mall การมีทำเลที่ดีจะเป็นรากฐานให้เราคิดต่อยอดเรื่องธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งหลักการที่บรรดาผู้บริหารกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ใช้ในการเลือกทำเลสร้าง Community Mall

คือ “ที่ไหนมีคนอยู่เยอะ ที่นั่นจะมีความเจริญเข้าไปรองรับ” จึงไม่แปลกใจที่เราจะเห็นตามย่านชานเมืองก่อเกิด Community Mall จำนวนมากบางแห่งสร้างไว้เตรียมรองรับการขยายตัวที่จะตามมาเรียกว่าลงมือก่อนย่อมได้เปรียบ

2.สถาปัตยกรรมให้ลดต้นทุนแต่ลูกค้าสนใจ

จุดอ่อนของ Community Mall ที่ต่างจากห้างสรรพสินค้าคือมักจะออกแบบให้เป็นพื้นที่เปิดโล่ง สถาปัตยกรรมของ Community Mall ส่วนใหญ่จะเน้นการถ่ายเทของอากาศ ใช้แสงสว่างจากธรรมชาติ ลดการใช้เครื่องปรับอากาศเพื่อลดค่าไฟฟ้า ซึ่งสวนทางกับคนที่มักนิยมสถานที่อากาศเย็นสบายแม้การไปเดินห้างจะมีเป้าหมายแค่ไปตากอากาศเย็นๆ

103

ภาพจาก https://goo.gl/2ctsak

แต่ก็เป็นการสร้างภาพจำในใจว่าหากจะคิดไปหลบร้อน เดินเล่นจะเลือกไปเดินห้างสรรพสินค้า Community Mall ที่ออกแบบโดดเด่นสวยงามมักจะมีคนมาเดินแค่ในช่วงแรกแต่พอผ่านไปหากไม่ตอบโจทย์ความรู้สึกลูกค้าก็จะเลือกไปเดินห้างมากกว่าจุดนี้ผู้ลงทุนต้องคิดให้หนักว่าจะทำอย่างไรเพื่อเปลี่ยนความคิดนี้ของลูกค้าให้ได้

3.เปิดเรตค่าเช่าดึงดูดให้พ่อค้าแม่ค้าสนใจ

105

ภาพจาก https://goo.gl/h9eu7L

หลักการของ Community Mall ต้องพยายามสร้างพื้นที่ให้เป็นเหมือนอีกหนึ่งชุมชนที่ภายในแวดล้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่ไม่แตกต่างจากห้างสรรพสินค้า เพื่อดึงดูดให้คนในพื้นที่ไม่ต้องไปใช้บริการที่อื่น มาที่ Community Mall แห่งเดียวมีจบครบทุกความต้องการ ซึ่งการจะทำให้ได้แบบนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ลงทุนต้องกล้าได้กล้าเสียในเรื่องเรตค่าเช่า บางแห่งมีการลงทุนสูง

จึงคิดจะถอนทุนคืนให้ไว้ ตั้งราคาเช่าพื้นที่แพงพอๆกับในห้างสรรพสินค้าเพราะมั่นใจว่าคุณภาพดึงดูดคนไม่แพ้กัน อย่างไรก็ตาม ถ้าต้องการลดความเสี่ยงเรื่องนี้ควรกล้าได้กล้าเสีย คิดค่าเช่าในช่วงต้นที่สมเหตุสมผลไม่แพงเกินไป ล่อตาล่อใจให้พ่อค้าแม่ค้าอยากเอาสินค้าและมาเปิดร้าน อีกทั้งต้องไม่มีกฏระเบียบที่เข้มงวด เกินไปอันจะเป็นการทำให้พ่อค้าแม่ค้ารู้สึกกดดันและยกเลิกการขาย อันจะเป็นการสร้างชื่อเสียงที่ไม่ดีให้กับ Community Mall ของเราอีกด้วย

4.ทางเข้าออกสะดวก ลานจอดรถต้องสบาย

102

ภาพจาก https://goo.gl/AXntdn

ยุคนี้สถานที่จอดรถเป็นเรื่องใหญ่สำหรับการทำธุรกิจ ลูกค้าบางคนไม่ได้โฟกัสอะไรมากขอแค่ให้ขับรถไปแล้วหาที่จอดรถได้ง่ายๆ แม้พื้นที่ตรงนั้นอาจไม่ได้ดีไปกว่าที่อื่นแต่มีที่จอดรถดีก็พร้อมเข้ามาใช้บริการ Community Mall ก็เช่นกันด้วยการลงทุนแต่ละครั้งงบประมาณน่าจะแตะหลักร้อยล้าน จึงควรพิจารณาเรื่องพื้นที่ในการเข้าออกที่แยกกันชัดเจน มีลานจอดรถที่รองรับรถได้ และหากเป็นไปได้ควรเป็นลานจอดรถที่มีร่มเงา จะยิ่งเพิ่มความประทับใจให้ลูกค้ามากขึ้น

5.มีการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ

104

ภาพจาก https://goo.gl/4cxnQ6

Community Mall หลายแห่งเปิดกิจการและปิดตัวไปในเวลาไม่นาน ซึ่งบางทีสาเหตุไม่ใช่เพราะตัวของ Community Mall ไม่ดีแต่มาจากการบริหารงานที่ไม่มีความเป็นมืออาชีพ การเปิด Community Mall รายได้ส่วนใหญ่มาจากค่าเช่าของร้านค้า

แต่ทั้งนี้ก็ใช่ว่าเราจะคิดเก็บแต่ค่าเช่าแต่ไม่ดูแลร้านค้า ดังนั้นงบประมาณด้านการประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรมพิเศษต่าง ๆเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง ซึ่งเราต้องมีระบบบัญชีที่ชัดเจน มีเงินทุนยามฉุกเฉินที่เอามาใช้ได้ง่าย รายได้ของ Community Mall ส่วนหนึ่งจึงควรเอามาพัฒนาธุรกิจด้วย ดังนั้นการบริหารจึงไม่สามารถคิดจะทำเล่นๆได้ต้องมีความเป็นมืออาชีพที่แท้จริง

107

ภาพจาก https://goo.gl/w34KsA

ทั้งนี้หากคิดจะลงทุน Community Mall ในยุคนี้ไม่ใช่เพียงแค่การมีเงินทุนเพียงอย่างเดียวแล้วจะไปรอดควรมีจุดเด่นที่เราลองรวบรวมมาให้ดู 8 ประการดังนี้

  1. ควรออกแบบพื้นที่คอมมูนิตี้มอลล์ให้มีสัดส่วนของการพบปะพูดคุยปรึกษาหารืออย่างไม่เป็นทางการ
  2. ต้องอยู่ในพื้นที่ชุมชนอยู่อาศัยไม่น้อยกว่า 3,000 ครัวเรือน
  3. ตัวมอลล์ควรออกแบบให้เปิดโล่ง (Open Air)
  4. ร้านอาหารต้องเป็นกลุ่มที่กินง่าย ไม่เป็นพิธีรีตอง
  5. มีซูเปอร์มาร์เก็ตขนาด 2,000 ตารางเมตร เพื่อจับจ่ายเพื่อเติมเต็มสินค้าอุปโภคบริโภคประจำวัน
  6. ออกแบบทางเข้า-ออกให้ง่าย
  7. จอดรถสะดวกสบาย
  8. มีต้นไม้ร่มรื่น

จากจุดเด่นที่เรานำเสนอบวกกับกลยุทธ์ในการทำ Community Mall ทั้ง 5 ข้อ น่าจะเป็นข้อมูลที่ดีสำหรับคนที่มีเงินและอยากลงทุนในธุรกิจนี้ ความยากของ Community Mall ไม่ได้อยู่ที่ว่าจะแข่งกับคนอื่นอย่างไร แต่ความยากคือทำอย่างไรให้ Community Mall ของเรากลายเป็นสิ่งที่ลูกค้ารู้สึกว่าอยากมาใช้บริการ มาแล้วสบายใจ มาแล้วคุ้มค่า โจทย์เหล่านี้คนลงทุนต้องคิดให้ได้ดหากทำได้ก็รวยด้วยธุรกิจนี้ง่ายๆเหมือนกัน


SMEs Tips

  1. ยึดทำเลทองแพงแค่ไหนก็ต้องทุ่ม
  2. สถาปัตยกรรมให้ลดต้นทุนแต่ลูกค้าสนใจ
  3. เปิดเรตค่าเช่าดึงดูดให้พ่อค้าแม่ค้าสนใจ
  4. ทางเข้าออกสะดวก ลานจอดรถต้องสบาย
  5. มีการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด