4 สูตรสำเร็จตรวจเช็กสุขภาพการเงินธุรกิจ

วิธีการลงทุนธุรกิจ นั้นเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กับตัวเลขไม่ว่าจะเป็นต้นทุน กำไร การบริหารจัดการสินค้าทุกอย่างไม่ใช่สามารถทำได้ตามใจชอบ หลักการทางทฤษฏีมีสอนไว้หลายเรื่อง

โดยเฉพาะการตรวจเช็คสภาพทางธุรกิจว่ามีความแข็งแรงอยู่ระดับไหนซึ่งก็สามารถใช้สมการในการคำนวณที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยุ่งยากแต่ความหมายของตัวเลขเหล่านี้บอกให้เรารู้ล่วงหน้าว่าควรทำแผนการตลาดต่อไปได้อย่างไร

www.ThaiSMEsCenter.com นำเสนอข้อมูลของ 4 สูตรสำเร็จไว้ตรวจเช็คสถานะทางธุรกิจว่ามั่นคงแข็งแรงมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพื่อให้เตรียมการณ์ในเรื่องแผนการตลาดที่หากดีก็จะได้ส่งเสริมการขายหรือหากไม่ดีก็จะได้หาทางแก้ไขไม่ให้เกิดวิกฤติบานปลายไปมากกว่าที่ควรจะเป็น

1.ความสามารถในการชำระหนี้

วิธีการลงทุนธุรกิจ

ความสามารถในการชำระหนี้นั้นสะท้อนถึงสภาพคล่องของธุรกิจ โดยดูว่ามีเงินหมุนเวียนในธุรกิจมากกว่าหนี้สินแค่ไหน หรือมีเงินเพียงพอที่จะชำระหนี้ได้ตามกำหนดหรือไม่ ซึ่งดูได้จากสัดส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียน เรียกว่าอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio) ซึ่งคำนวณได้จากสมการ

อัตตราส่วนทุนหมุนเวียน=สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน=(เงินสด+ลูกหนี้การค้า+สินค้าคงเหลือ)/(เจ้าหนี้การค้า+หนี้สินระยะสั้น) และค่าที่คำนวณได้นี้ ควรมีค่ามากกว่า 1 ยิ่งได้มากก็ยิ่งดี แสดงว่าธุรกิจมีสภาพคล่องสูงสามารถชำระหนี้ได้ และหากค่าที่คำนวณได้น้อยกว่า 1 นั่นก็แปลว่าธุรกิจมีปัญหาสภาพคล่อง มีเงินหมุนเวียนในธุรกิจไม่พอจ่ายหนี้

แต่ถ้าหากคำนวณได้ค่าสูงมาก ต้องดูว่าบริหารสินทรัพย์ได้ไม่ดีเท่าที่ควรหรือไม่ เพราะเป็นไปได้ว่าจะเกิดมาจากการมีสินค้าคงเหลืออยู่มาก เนื่องจากเราไม่รู้ว่าสินค้าในสต็อกจะขายออกเมื่อไหร่ จึงถือว่ามีสภาพคล่องต่ำ เพราะเปลี่ยนเป็นเงินได้ช้าที่สุด ดังนั้นจึงไม่ควรนำสินค้าในสต็อกมาคำนวณด้วย

2.ความสามารถในการเรียกเก็บหนี้

y2

ความสามารถในการเรียกเก็บหนี้คือใช้เวลานานเท่าไหร่กว่าที่ธุรกิจของคุณจะเก็บเงินจากลูกหนี้การค้าได้ โดยปกติแล้วไม่ควรนานเกินไป เพราะจะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของธุรกิจหรือเงินหมุนเวียนในธุรกิจ

แต่ก็ไม่ควรน้อยเกินไปเพราะจะทำให้แข่งขันลำบาก เนื่องจากลูกหนี้จะหันไปซื้อสินค้าจากเจ้าอื่นที่ให้เวลาการจ่ายหนี้นานกว่านั่นเอง โดยสามารถคำนวณได้จากอัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover) มา จากสมการ

อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ =ยอดขายรวม/((ลูกหนี้ต้นงวด+ลูกหนี้ปลายงวด)/2) ค่าที่คำนวณได้ยิ่งมากยิ่งดี แสดงว่าสามารถเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ได้เร็ว

และควรพิจารณาควบคู่กับระยะเวลาเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ว่าใช้เวลากี่วัน ซึ่งสามารถคำนวณได้จากสมการ ระยะเวลาในการเรียกเก็บหนี้= 365/อัตราการหมุนของลูกหนี้ ค่าที่ได้ยิ่งน้อยยิ่งดี บ่งบอกว่าธุรกิจเรียกเก็บหนี้ได้ในระยะเวลาสั้น ตามจำนวนวันที่คำนวณได้

3.ความสามารถในการต่อรองหนี้

f9

นั้นคือการใช้วัดช่วงระยะเวลาที่ต้องจ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้การค้า ขึ้นอยู่กับว่าธุรกิจสามารถเจรจาต่อรองระยะเวลาการจ่ายเงินกับเจ้าหนี้ได้เพียงใด ซึ่งหากมีระยะเวลาในการชำระหนี้นาน ก็ยิ่งเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจดูได้จากอัตราหมุนเวียนเจ้าหนี้การค้า (Account Payable Turnover) คำนวณจากสมการ

อัตราการหมุนเวียนเจ้าหนี้การค้า=ต้นทุนสินค้าขาย/เจ้าหนี้การค้า ซึ่งค่าที่ได้ค่ายิ่งน้อยยิ่งดี ทำให้ธุรกิจมีสภาพคล่อง เพราะธุรกิจสามารถเอาเงินมาใช้ในกิจการก่อนจ่ายหนี้ได้ และสามารถหาระยะเวลาเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ว่าใช้เวลากี่วันได้จากสมการ

ระยะเวลาในการขายสินค้า=365/อัตราการหมุนเวียนเจ้าหนี้การค้า ค่าที่ได้ยิ่งมากยิ่งดี แสดงว่าธุรกิจต่อรองระยะเวลาการจ่ายหนี้ได้นาน ตามจำนวนวันที่คำนวณได้

4.ความสามารถในการขายสินค้า

f8

ซึ่งมีผลโดยตรงกับรายได้ของธุรกิจ เพราะการที่สินค้าค้างอยู่ในสต็อกนาน นั่นหมายถึงเงินทุนของเราที่จมอยู่กับสินค้า ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อเงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจได้ ดังนั้นอัตราส่วนการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover) จะช่วยให้ธุรกิจวางแผนการบริหารสินค้าคงเหลือให้เหมาะสมกับยอดขายที่คาดการณ์ไว้ คำนวณจากสมการ

อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ=ต้นทุนสินค้าขาย/((สินค้าคงเหลือต้นงวด+สินค้าคงเหลือปลายงวด)/2) ค่าที่คำนวณได้ยิ่งมากยิ่งดี เพราะแสดงว่าสามารถระบายสินค้าในสต็อกได้เร็ว นั่นหมายถึงธุรกิจจะได้รับเงินเร็วตามไปด้วย

หากค่าที่ได้น้อยก็บอกได้เลยว่ามีสินค้าค้างสต็อกมาก ซึ่งหมายถึงเงินทุนที่จมอยู่ในกองสต็อกนั้นด้วย ทั้งนี้สามารถคำนวณระยะเวลาในการขายสินค้า ซึ่งก็คือสินค้าคงเหลือที่ค้างอยู่ในสต็อกใช้เวลากี่วันกว่าจะขายได้ จากสมการ

ระยะเวลาในการขายสินค้า=365/อัคราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ ค่าที่ได้หรือจำนวนวันที่ได้ยิ่งน้อยยิ่งดี แต่มีข้อยกเว้นสำหรับสินค้าบางชนิดที่อาจมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้จำนวนวันที่คำนวณได้มีค่ามาก เช่น ฤดูกาล ความผันผวนของราคาสินค้า อัตราเงินเฟ้อ ที่อาจทำให้เกิดการกักตุนสินค้าเอาไว้ เป็นต้น

อย่างไรก็ตามในแต่ละอุตสาหกรรมนั้นมีธรรมชาติในการทำธุรกิจที่แตกต่างกัน ทำให้ตัวเลขที่คำนวณได้นั้นแตกต่างกันตามไปด้วย จึงควรนำไปเทียบกับค่าเฉลี่ยหรือมาตรฐานของอุตสาหกรรมเดียวกับธุรกิจของคุณด้วย เพื่อวิเคราะห์ดูว่าตัวเลขของธุรกิจคุณที่ออกมาดูดีนั้น แท้จริงแล้วมีสุขภาพดีตามมาตรฐานคนในอุตสาหกรรมเดียวกันกับคุณหรือไม่

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด