3 โอกาส 3 ความท้าทายของแฟรนไชส์ไทย

ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ได้รับการยอมรับและมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่การทำให้แฟรนไชส์ไทยเติบโตอย่างเข้มแข็งได้นั้น ผู้ประกอบการแฟรนไชส์จำเป็นต้องมีความพร้อม

ด้านการบริหารจัดการธุรกิจอย่างเป็นระบบ และมีระบบแฟรนไชส์ที่เป็นมาตรฐานสากล จึงจะสามารถมีส่วนช่วยในการพัฒนาธุรกิจให้ขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว

แต่การจะผลักดันธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ และประสบความสำเร็จได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายมากนัก แม้ว่าจะมีโอกาสเติบโต แต่ก็มีความท้าทายอีกมาก

เพราะแฟรนไชส์ไทยที่จะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งนั้น ต้องผ่านการวางรากฐานที่แข็งแรง ตั้งแต่วิธีคิด กระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนความเชื่อมั่นของนักลงทุน รวมถึงการแข่งขันที่มีมากขึ้น

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอโอกาสการเติบโต และความท้ายของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย เพราะแม้ว่าปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ไทยจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็มีความท้าทายอีกมาก ให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัว

โอกาสธุรกิจแฟรนไชส์ไทย

โอกาส

1.ความเชื่อมั่นของนักลงทุน

ความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ และการจับจ่ายเริ่มฟื้นตัว ถือเป็นปัจจัยบวกต่อการขยายตัวของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย โดยเฉพาะแฟรนไชส์ขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก เพราะหากนักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น จะทำให้การที่จะตัดสินใจลงทุนแฟรนไชส์ขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น

อีกทั้งการเกิดขึ้นของแฟรนไชส์ไทย ก็น่าจะมีจำนวนมากขึ้น และมีธุรกิจแฟรนไชส์หลากหลายประเภทให้เลือกลงทุนมากขึ้นด้วย เนื่องจากเจ้าของธุรกิจสนใจนำธุรกิจเข้ามาในระบบแฟรนไชส์มากขึ้น

8

2.การขยายแฟรนไชส์ไปต่างจังหวัด

แต่ก่อนเราจะเห็นธุรกิจแฟรนไชส์กระจุกตัวอยู่เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ด้วยความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและชุมชนเมืองได้ขยายไปสู่ต่างจังหวัดมากขึ้น จึงทำให้นักลงทุนในต่างจังหวัดสนใจซื้อแฟรนไชส์ไปประกอบธุรกิจมากขึ้น ที่สำคัญธุรกิจในต่างจังหวัดก็มีศักยภาพในการเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์เพิ่มขึ้นเช่นกัน

โดยที่ผ่านมากรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้มีนโนบายนำธุรกิจแฟรนไชส์กว่า 100 แบรนด์ บุกตลาด สร้างอาชีพให้กับนักลงทุนในต่างจังหวัดอย่างต่อเนื่อง อาทิ ชลบุรี ระยอง ภูเก็ต สงขลา เชียงใหม่ พิษณุโลก จึงเป็นโอกาสของธุรกิจแฟรนไชส์จากเดิมที่กระจุกตัวในกรุงเทพฯ ขยายตัวสู่ต่างจังหวัดที่มีจำนวนประชากรมาก ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว

9

3.การขยายแฟรนไชส์ไปต่างประเทศ

ที่ผ่านมาได้มีหน่วยงานภาครัฐได้นำพาธุรกิจแฟรนไชส์ไทยหลายๆ แบรนด์ ขยายตลาดในต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียนที่ศักยภาพด้านกำลังซื้อ กำลังเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มคนชั้นกลาง

โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านทั้งเวียดนาม เมียนมา สปป.ลาว และกัมพูชา เพราะสินค้าและบริการของไทย เป็นที่รู้จักและได้รับความยอมรับค่อนข้างสูง โดยแฟรนไชส์ที่สนใจลงทุน อาทิ อาหาร เครื่องดื่ม เบเกอรี่ การศึกษา กีฬา ความงามและสุขภาพ

แต่ทั้งนี้ การขยายแฟรนไชส์ไทยเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้าน อาจต้องหาพันธมิตรธุรกิจ ซึ่งเป็นนักลงทุนท้องถิ่นในการซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ หรือนักลงทุนไทยที่มีความเชี่ยวชาญตลาดประเทศเพื่อนบ้าน อาจเห็นโอกาสจึงลงทุนซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ เพื่อเข้าไปตั้งสาขาในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งต้องพิจารณากฎหมายของแต่ละประเทศด้วย

ความท้าทายของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย

10

1.การแข่งขันธุรกิจแฟรนไชส์มีมากขึ้น

ปัจจุบันต้องยอมรับว่าผู้ประกอบการธุรกิจของไทย ให้ความสนใจสร้างธุรกิจของตัวเองเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์มากขึ้น เพราะสามารถขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งเสียงบประมาณด้านการลงทุนน้อยกว่าการขยายสาขาด้วยตัวเอง

เห็นได้จากคนรุ่นใหม่ ที่อยากเป็นเจ้าของกิจการ รวมถึงอยากเริ่มต้นธุรกิจได้ทันที ด้วยการซื้อแฟรนไชส์ เพราะมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง ยิ่งความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจดีขึ้น

จึงทำให้คนเห็นโอกาสและตัดสินใจลงทุนเร็วขึ้น เมื่อมีผู้คนหันมาลงทุนแฟรนไชส์กันมากขึ้น ก็มีโอกาสที่ธุรกิจแฟรนไชส์ในเมืองไทยแข่งขันกันเองสูง ยังมีแฟรนไชส์ต่างประเทศอีกด้วย

11

2.การสนับสนุนและดูแลจากเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์

ปัจจุบันความท้าทายของระบบแฟรนไชส์ไทย ก็คือ หลังจากที่มีผู้สนใจลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์จำนวนมาก ในขณะที่เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ ยังไม่สามารถสร้างแบรนด์แฟรนไชส์ให้แข็งแกร่ง มีมาตรฐานได้ เวลามีคนมาซื้อแฟรนไชส์ ก็ขายไป

ทั้งๆ ที่แบรนด์แฟรนไชส์ของตัวเองยังไม่มีระบบการจัดการที่ดี เมื่อมีคนซื้อแฟรนไชส์จำนวนมาก ก็อาจเกิดปัญหาด้านการดูแลและสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่ดีพอ จึงทำให้เปิดปัญหาต่างๆ ตามมา สุดท้ายแฟรนไชส์ก็เจ๊ง

12

3.ความคาดหวังในความสำเร็จทางธุรกิจ

เนื่องจากปัจจุบันคนรุ่นใหม่ สนใจเป็นเจ้าของกิจการในรูปแบบแฟรนไชส์ค่อนข้างมาก อาจเป็นเพราะคนรุ่นใหม่บางส่วนส่วน อาจมีความคาดหวังทางด้านผลตอบแทนและความสำเร็จที่รวดเร็ว แต่ลืมคิดไปว่า บางครั้งมีหลายปัจจัยที่อาจทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ซื้อมาไม่ประสบความสำเร็จ แม้ว่าเจ้าของแฟรนไชส์จะระบุระยะเวลาการคืนทุนที่ชัดเจน

โดยความท้าทายของแฟรนไชส์ ก็คือ อยู่ในทำเลที่ไม่เหมาะสม พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป กำลังซื้อลดลง การแข่งขันของธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทเดียวกันพื้นที่เดียวกัน หรือเลือกธุรกิจที่ไม่เหมาะสมกับตัวเอง เลือกธุรกิจเพียงแค่ใช้เงินลงทุนจำนวนน้อย ปัจจัยเหล่านี้มักจะทำให้รายได้และระยะเวลาคืนทุนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

ทั้งหมดเป็น 3 โอกาส 3 ความท้าทายของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย แม้ว่าตลาดแฟรนไชส์ในเมืองไทยจะมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังมีความท้ายอยู่อีกมาก ทั้งจากตัวผู้ประกอบการแฟรนไชส์ ผู้ลงทุนแฟรนไชส์ที่คาดหวังว่าซื้อแฟรนไชส์จะประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว อีกทั้งสภาพการแข่งขันของธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีจำนวนมากขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทยจำเป็นต้องเร่งสร้างแฟรนไชส์ให้มาตรฐานที่แข็งแกร่ง


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

d7

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เริ่มต้นธุรกิจ goo.gl/wf6KVq

Franchise Tips

  • โอกาสธุรกิจแฟรนไชส์ไทย
    • ความเชื่อมั่นของนักลงทุน
    • การขยายแฟรนไชส์ไปต่างจังหวัด
    • การขยายแฟรนไชส์ไปต่างประเทศ
  • ความท้าทายของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย
    • การแข่งขันธุรกิจแฟรนไชส์มีมากขึ้น
    • การสนับสนุนและดูแลจากเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์
    • ความคาดหวังในความสำเร็จทางธุรกิจ

อ้างอิงข้อมูล
goo.gl/LgARQb

01565898888

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช