11 ข้อได้เปรียบ ในการสร้างธุรกิจแฟรนไชส์

การสร้างธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ ถือเป็นเป้าหมายของเจ้าของกิจการหลายๆ คน เพราะเป็นวิธีการขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนของตัวเอง เพียงแต่ต้องสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีความน่าสนใจลงทุน มีจุดเด่นและแตกต่าง สินค้าและบริการตอบโจทย์ผู้บริโภคในวงกว้าง ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปเปิดแล้วสามารถทำกำไรจากธุรกิจได้

จากแนวโน้มการเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์มากขึ้นของเจ้าของกิจการ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะแนะนำโอกาสและ 11 ข้อได้เปรียบ รวมถึงปัจจัยสนับสนุนในการสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ ให้กับเจ้าของกิจการที่กำลังจะทำแฟรนไชส์ในอนาคตครับ

11 ข้อได้เปรียบ

1.มีความรู้และเชี่ยวชาญเรื่องแฟรนไชส์

ข้อได้เปรียบอย่างแรกของเจ้าของธุรกิจในการสร้างแฟรนไชส์ ก็คือ การมีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของระบบแฟรนไชส์ เพราะจะได้รู้ว่าการทำแฟรนไชส์ต้องทำอย่างไรบ้าง ทำตลาดแฟรนไชส์อย่างไร ขายแฟรนไชส์อย่างไร รวมถึงต้องรู้ว่าจะต้องบริหารจัดการสาขาแฟรนไชส์ และสร้างระบบสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างไรบ้าง เพื่อสร้างการเติบโตให้ธุรกิจแฟรนไชส์

2.สินค้าและบริการเป็นที่รู้จักในวงกว้าง

เมื่อมีความรู้ในเรื่องการทำแฟรนไชส์แล้ว ข้อได้เปรียบในการสร้างแฟรนไชส์ให้สำเร็จอีกอย่าง ก็คือ สินค้าและบริการเป็นที่รู้จักและตอบโจทย์ผู้บริโภคได้หลากหลาย หรือเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยยิ่งดี เพราะจะทำให้มีผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ไปเปิดมากขึ้น เพราะนักลงทุนเชื่อว่าซื้อไปเปิดแล้วสามารถขายได้อย่างแน่นอน

3.แบรนด์ธุรกิจเป็นที่ยอมรับและมั่นคง

แบรนด์ธุรกิจที่ได้รับการยอมรับในตลาด ย่อมเป็นที่ต้องการของนักลงทุน แบรนด์ธุรกิจมีความแข็งแกร่งมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จในระบบแฟรนไชส์ นักลงทุนเห็นแล้วอยากซื้อไปเปิด ดูได้จากแฟรนไชส์ 7-11 ก็พอ เป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่ง ผู้บริโภคส่วนใหญ่ใช้บริการแล้วไม่ผิดหวัง หรือ ชาตรามือ หากขายแฟรนไชส์เชื่อว่ามีคนรอซื้ออย่างแน่นอน

40

4.กิจการขยายสาขามากกว่า 3 แห่ง

หากคุณมีกิจการมากกว่า 3 สาขา อยู่ในพื้นที่ต่างกัน แต่ละสาขาสามารถทำกำไรได้เหมือนกัน จะเป็นข้อได้เปรียบในการสร้างแฟรนไชส์ เพราะระบบแฟรนไชส์ทุกสาขาของธุรกิจจะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำเงินได้เหมือนกัน อาจแตกต่างกันบ้างแต่ไม่เป็นไร เมื่อแต่ละสาขาสามารถทำกำไร ขายสินค้าได้ มีผู้บริโภคใช้บริการต่อเนื่อง ก็ขายแฟรนไชส์ได้ง่าย

5.มีความพร้อมใส่เรื่องของเงินลงทุน

การสร้างธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ มีค่าใช้จ่ายจำนวนมากเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำตลาด สร้างแบรนด์ ค่าจ้างพนักงาน ค่าจ้างที่ปรึกษา นักกฎหมาย เพราะจะต้องมีการเขียนสัญญาแฟรนไชส์ขึ้น จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายเหล่านี้ เป็นการลองผิดลองถูกก่อนที่จะขายแฟรนไชส์ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่า หากขายแฟรนไชส์ไปแล้ว นักลงทุนจะต้องใช้เงินลงทุนมากแค่ไหน

6.กำลังซื้อในประเทศมีการขยายตัว

หากเศรษฐกิจในประเทศดี มีการเติบโต ทำให้ประชาชนมีรายได้ มีกำลังซื้อ ถือเป็นข้อได้เปรียบในการสร้างแฟรนไชส์ในช่วงนี้ เพราะประชาชนมีกำลังซื้อแล้ว มีเงินเก็บ ก็อยากซื้อแฟรนไชส์ไปเปิด ไม่อยากเป็นพนักงาน หรือลูกจ้าง เป็นนายตัวเองดีกว่า

42

7.กิจการทุกสาขาพิสูจน์แล้วว่าทำกำไร

อย่างที่กล่าวตามข้อ 4 เมื่อกิจการมีสาขาอย่างน้อย 3 สาขา หรือมากกว่านี้ ทุกสาขาสามารถทำกำไรได้เหมือนๆ กัน ก็จะเป็นได้เปรียบของธุรกิจที่เหมาะสำหรับการขายแฟรนไชส์ นักลงทุนกล้าที่จะซื้อไปเปิดแน่นอน เพราะเขามองเห็นรายได้จากธุรกิจ

8.ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐ

การให้การส่งเสริมและสนับสนุนในเรื่องแฟรนไชส์ของภาครัฐ เป็นหนึ่งในข้อได้เปรียบในการสร้างแฟรนไชส์ของเจ้าของกิจการ เพราะปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐของไทย มีการจัดอบรมหลักสูตรการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีมาตรฐาน รวมถึงการจัดงานแสดงเกี่ยวกับธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สถาบันการเงินเอง ก็มีความร่วมมือกับเจ้าของสิทธิ์แฟรนไชส์ ที่ได้รับความนิยมหรือมีการคัดธุรกิจที่มีมาตรฐาน และประสบความสำเร็จแล้ว เพื่ออำนวยความสะดวกในการสนับสนุนเงินกู้ให้กับผู้สนใจลงทุนธุรกิจ

9.มีทีมงานที่มีความรู้และมีประสิทธิภาพ

การสร้างแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จได้นั้น คุณไม่สามารถดำเนินกิจการได้คนเดียว คุณจำเป็นต้องมีทีมงานคอยช่วยเหลือ หากคุณมีทีมงานที่เข้มแข็ง มีความรู้เรื่องแฟรนไชส์ ก็จะทำให้คุณทำงานง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทีมงานด้านการตลาด การขาย การเงิน ทีมงานอบรม ทีมงานจัดส่งวัตถุดิบ ทีมงานสนับสนุนและดูแลแฟรนไชส์ซีหลังจากขายแฟรนไชส์ไปแล้ว

43

10.ธุรกิจถ่ายทอดให้คนอื่นได้ง่าย

ธุรกิจที่ถ่ายทอดให้คนอื่นได้ยาก ไม่เหมาะกับการทำแฟรนไชส์ เพราะคนซื้อแฟรนไชส์ไปแล้วปฏิบัติตามไม่ได้ เมื่อปฏิบัติตามไม่ได้ก็ไม่สามารถขายได้ ดังนั้น กิจการที่สามารถทำแฟรนไชส์ได้ดี ต้องสามารถถ่ายทอดและฝึกอบรมให้กับคนอื่นนำไปปฏิบัติตามได้ง่าย เพราะแฟรนไชส์เป็นการขายระบบความสำเร็จของธุรกิจที่ผ่านการลองผิกดลองถูกมาแล้ว

11.คู่แข่งขันในกลุ่มธุรกิจเดียวกันน้อย

ธุรกิจที่มีคู่แข่งขันในตลาดจำนวนมาก ไม่เหมาะที่จะทำแฟรนไชส์ ถ้าจะทำแฟรนไชส์จริงๆ ต้องมีจุดเด่นและมีความน่าสนใจมากกว่าคนอื่น หรือเรียกว่าธุรกิจต้องมีจุดขายที่จะดึงดูดผู้บริโภคได้ อย่างกรณี ชา 25 บาท ถือว่ามีคู่แข่งจำนวนมากในตลาด เป็นธุรกิจที่ไม่เหมาะสำหรับทำแฟรนไชส์ เห็นหรือไม่ว่าปัจจุบันหลายๆ แบรนด์ที่เราเห็นตามข้างทางปิดกิจการไปมากแล้ว

ทั้งหมดเป็น 11 ข้อได้เปรียบ ในการทำธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ เจ้าของกิจการที่กำลังคิดจะเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ จำเป็นต้องศึกษา เพื่อจะได้รู้ว่ากิจการที่ทำอยู่นั้น เหมาะสำหรับทำแฟรนไชส์หรือไม่ หากทำแฟรนไชส์แล้วจะขายได้หรือไม่ ท่านสามารถนำเอาข้อได้เปรียบข้างต้นเป็นแนวทางพิจารณาก่อนเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ได้ครับ


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Franchise Tips

  1. มีความรู้และเชี่ยวชาญเรื่องแฟรนไชส์
  2. สินค้าและบริการเป็นที่รู้จักในวงกว้าง
  3. แบรนด์ธุรกิจเป็นที่ยอมรับและมั่นคง
  4. กิจการขยายสาขามากกว่า 3 แห่ง 
  5. มีความพร้อมใส่เรื่องของเงินลงทุน
  6. กำลังซื้อในประเทศมีการขยายตัว
  7. กิจการทุกสาขาพิสูจน์แล้วว่าทำกำไร
  8. ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐ
  9. มีทีมงานที่มีความรู้และมีประสิทธิภาพ
  10. ธุรกิจถ่ายทอดให้คนอื่นได้ง่าย
  11. คู่แข่งขันในกลุ่มธุรกิจเดียวกันน้อย

อ้างอิงจาก https://bit.ly/31pAVWd

01565898888

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช