10 วิธีแก้ปัญหา Burn out มนุษย์เงินเดือน แบบเด็ดขาด

กระดี๊กระด้าเมื่อเย็นวันศุกร์ แต่รู้สึกหดหู่ ตื่นมาถอนหายใจ เมื่อรู้ว่านี่คือเช้าวันจันทร์ หลายคนบ่นเบื่อๆ ทำไมฉันต้องทำงาน 5 วันได้หยุดแค่ 2 วัน บางทีคิดอยากจะลาพักร้อน ลาออก ให้รู้แล้วรู้รอดกันไป

แต่สิ่งที่คิดมันก็ทำไม่ได้เพราะภาระที่รับผิดชอบ ทั้งภาระครอบครัว หรือหนี้สินที่แบกรับอยู่ อาการแบบนี้ทางการแพทย์เตือนว่าต้องเฝ้าระวัง เพราะถ้าเป็นนานเข้า อาจพัฒนาไปสู่ภาวะทางการแพทย์ที่เรียกว่า “หมดไฟ” หรือ Burnout

www.ThaiSMEsCenter.com เห็นว่า “Burnout”คือภัยเงียบที่ไม่ใช่ปัญหาเล็กๆ แต่ผลกระทบส่งผลโดยรวมต่อคนส่วนใหญ่ กระทั่ง องค์การอนามัยโลกได้ออกมาให้คำจำกัดความ Burnout ว่าเป็น “กลุ่มอาการที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังจากการทำงาน ที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม”

สภาวะหมดไฟ ดูเผินๆ อาจไม่ใช่เรื่องร้ายแรง แต่ถ้าจมอยู่กับอาการนี้เป็นเวลานาน มีงานวิจัยบ่งชี้ว่า สภาวะหมดไฟสามารถนำไปสู่โรคทางกายอื่นๆ ตั้งแต่นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ เกิดความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน ไปจนอาการทางจิต เช่น วิตกกังวล อาการซึมเศร้า

อาการหมดไฟไม่เพียงกระทบกับพนักงานเท่านั้นแต่ยังส่งผลกระทบต่อองค์กรด้วยจากประสิทธิภาพในการทำงานที่ลดลง พนักงานขาดความกระตือรือร้น ขาดความคิดริเริ่มที่จะพัฒนาสิ่งใหม่ ไม่สุงสิงกับเพื่อนร่วมงาน ลาป่วยบ่อย เกิดปัญหาการขาดงาน ลามไปจนถึงลาออก สภาวะหมดไฟจึงเป็นปัญหาสำคัญที่ทั้งพนักงานและองค์กรไม่ควรมองข้าม

ลองมาเช็คสัญญาณหมดไฟในการทำงานของเรา

วิธีแก้ปัญหา

ภาพจาก https://pixabay.com

ลองเช็คตัวเองในเบื้องต้นว่าเรามีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นหรือไม่? ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ถ้ามีมากกว่า 5 ข้อขึ้นไป แสดงว่าเรามีแนวโน้มที่จะเป็น “ภาวะหมดไฟ”

  1. หมดแรง หมดพลังงานในการทำทุกอย่าง
  2. ทุกอย่างที่เกี่ยวกับงานเริ่มทำให้รู้สึกหงุดหงิดรำคาญใจ
  3. เริ่มบ่นหรือวิจารณ์งานที่ทำ
  4. รู้สึกท้อแท้กับงานที่ทำอยู่
  5. ไม่รู้สึกพึงพอใจในความสำเร็จของงานที่ตัวเองทำได้
  6. นึกถึงปัญหาเรื่องงานตลอดเวลา แม้แต่ตอนกินข้าวหรือเข้านอน
  7. มีปัญหาในการนอนและการกิน เช่น นอนไม่หลับ ไม่หิวเมื่อถึงเวลาอาหาร
  8. หงุดหงิดใจร้อนกับเพื่อนร่วมงานหรือลูกค้าบ่อยขึ้น
  9. ชีวิตยุ่งเหยิง ขาดความสมดุลระหว่างการใช้ชีวิตกับการทำงาน
  10. ต้องหาอะไรมากระตุ้นตัวเอง พึ่งยาหรือแอลกอฮอล์เพื่อทำให้รู้สึกดีขึ้น

เมื่อหมดไฟเรามักได้รับคำแนะนำยอดฮิตอย่างเช่น ให้ลาพักร้อนไปหาแรงบันดาลใจ หรือพยายามปรับตัวให้เข้ากับงาน ปรับทัศนคติให้คิดบวก เพื่อจุดไฟให้กลับมาลุกโชนอีกครั้ง

แต่วิธีแก้ปัญหาเหล่านี้มักไม่ได้ผล หรือได้ผลแค่ชั่วคราวเท่านั้น เพราะสุดท้ายเราก็ต้องกลับมาเจอสภาพแวดล้อมเดิมๆ ที่คอยบั่นทอนให้หมดไฟอยู่ดี การเติมไฟแบบชั่วครั้งชั่วคราวจึงไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ตอบโจทย์ เพราะต้นตอของปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข

คำถามก็คือแล้วจะมีวิธีแบบไหนอย่างไรจะจัดการกับ Burn out ได้อย่างเด็ดขาด ลองมาดู 10 วิธีดังนี้

35

ภาพจาก https://pixabay.com

1.จัดการงานให้เป็นระบบ

เมื่องานมันมากไปหรือรับมาแล้วปนกันจนมั่วไปหมด เราเพียงแค่จัดการงานให้เป็นระบบ เช่น การใช้วิธีจัดลำดับความสำคัญของงานด้วยการวาดตาราง, ใช้ปฏิทิน To Do List ฯลฯ เพื่อกระตุ้นให้ทำงานอย่างเป็นระบบ งานเสร็จทันเวลาจะได้ไม่รู้สึกเครียด

2.รับงานแต่พอดี

อย่ารับงานมากเกินไปบางคนนอกจากงานประจำยังดันไปรับฟรีแลนซ์มาเพิ่มอีก ถ้ารับงานโดยไม่ประเมินศักยภาพตัวเองจากความสุขจะกลายเป็นความทุกข์ วิธีแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด คือ การรับงานแต่พอดีเพื่อให้ร่างกายและสมองได้หยุดพักบ้าง และช่วยทำให้เราโฟกัสงานได้ดีขึ้นกว่าเดิมด้วย

34

ภาพจาก https://pixabay.com

3.ออกกำลังกายเป็นประจำ

แม้เราจะยุ่งแสนยุ่งหรือไม่มีเวลาแต่ความจริงแล้วคือเราไม่รู้จักจัดสรรเวลาต่างหาก ใน 1 สัปดาห์หาเวลาว่างสักอาทิตย์ละ 1-2 ครั้งเพื่อออกกำลังกายบ้าง ให้ร่างกายได้ยืดเส้นยืดสาย และสร้างฮอร์โมนใหม่ๆ ให้ร่างกายสดชื่น

4.จัดการความเครียด

วิธีการคลายเครียดมีหลายวิธีเช่น การนอนฟังเพลงเบาๆ, การดูภาพยนตร์ที่ชื่นชอบ, ออกไปเที่ยวและนั่งรถเล่น เป็นต้น เมื่อได้วิธีจัดการความเครียดที่เหมาะสมกับจะทำให้ชีวิตของเรามีความสมดุลมากยิ่งขึ้น

33

ภาพจาก https://pixabay.com

5.สร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเอง

แรงบันดาลใจที่ดีจะเป็นตัวช่วยเตือนสติให้เราคิดถึงสิ่งที่มุ่งหวังได้อย่างดีเยี่ยม เมื่อเราเกิดภาวะหมดไฟจนอยากจะลาออกและหาสมัครงานที่ใหม่ เพียงแค่ได้เห็นหรือได้ยินแรงบันดาลใจเหล่านี้ ก็สามารถทำให้เปลี่ยนใจและฮึดสู้ขึ้นมาทันทีหรือทำให้รู้สึกตัวว่าเราทำงานเพื่ออะไร?

6.ประเมินตัวเองอยู่เสมอ

เมื่อเกิดปัญหาหมดไฟในการทำงานให้ลองประเมินสุขภาพ, ร่างกาย, จิตใจ และอารมณ์ว่าตอนนี้เป็นอย่างไร เมื่อพบสิ่งที่แปลกไปจากเดิมได้ก็ควรรีบหาทางแก้ไข เช่น ช่วงนี้ได้ยินเสียงรบกวนตอนนอนบ่อยครั้งทำให้นอนไม่หลับก็ลองใช้ที่ปิดหูตอนนอน หรือถ้ารู้สึกเครียดที่ทำงานให้ลองสูดหายใจลึกๆ หรือถ้าเป็นมากๆแนะนำว่าให้พูดคุยกับจิตแพทย์เพื่อหาทางออกในเรื่องนี้

32

ภาพจาก https://pixabay.com

7.ให้กำลังใจตัวเองทุกเรื่อง

คนที่ให้กำลังใจเราได้ดีที่สุด คือ “ตัวเราเอง” ยิ่งตกอยู่ในภาวะหมดไฟในการทำงาน ก็ยิ่งต้องให้กำลังใจตัวเองมากๆ อย่าโทษตัวเองจนรู้สึกด้อยค่า ไม่ทำร้ายตัวเองด้วยการเก็บคำพูดของคนอื่นมาคิด และเมื่อความรู้สึกเริ่มดิ่งลงให้คิดถึงช่วงเวลาที่เราผ่านเรื่องราวต่างๆ มาได้ แล้วบอกตัวเองว่า “หนักกว่านี้ฉันก็ผ่านมาแล้ว” เพื่อให้ได้รู้สึกว่าเรื่องนี้เราก็ต้องผ่านไปได้

8.สร้างความสุขในงาน

เมื่อถึงเวลาทำงานเราไม่จำเป็นต้องสนใจคนรอบข้าง แต่ให้อยู่กับงานที่ทำตรงหน้า พร้อมสร้างความสุขในการทำงานด้วยการบอกตัวเองว่างานนี้ง่ายๆ ฉันทำได้! เดี๋ยวงานนี้ก็เสร็จ หรือมองหาวิธีที่ช่วยให้งานสนุกมากขึ้น เพื่อทำให้เราได้รู้สึกว่างานที่ทำอยู่มันไม่น่าเบื่อและเราเองก็ทำมันได้ดีมากอีกด้วย

31

ภาพจาก https://pixabay.com

9.เปลี่ยนแปลงโต๊ะทำงานใหม่

ลองเปลี่ยนบรรยากาศใหม่ที่ดีกว่าเดิม ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือแปลงโฉมโต๊ะทำงานใหม่ เพื่อให้รู้สึก สดชื่น และตื่นตาตื่นใจมากกว่าเดิม ลองเพิ่มสีสันสดใสและลูกเล่นใหม่ๆ เข้าไป เพื่อปรับให้อารมณ์ที่ขุ่นมัวกลับมาสดใสอีกครั้ง

10.เปลี่ยนแปลงตัวเอง

เปลี่ยนบรรยากาศโต๊ะทำงานแล้ว ก็ต้องหันมาเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วย จะมีอะไรดีไปกว่าการได้ทำให้ตัวเองสวยขึ้น, แข็งแรงขึ้น หรือมีการเปลี่ยนแปลงจนทำให้เพื่อนร่วมงานรู้สึกแปลกใจ จนทำให้เราเป็นที่สนใจของคนรอบข้างช่วยสร้างสีสันให้ชีวิตเราได้เป็นอย่างดี

30

ภาพจาก https://pixabay.com

การเกิดภาวะหมดไฟในการทำงานหรือ Burnout ไม่ใช่เรื่องเล็ก ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานเราอาจจะเสียงานที่ทำอยู่ไปได้ง่ายๆ หรือถ้าคิดว่ามันถึงที่สุดและคงไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีหากต้องอยู่กับที่ทำงานเดิมให้ลองทบทวนเรื่องราวทั้งหมด

ว่าหากลาออกจริงๆ เราจะไม่เครียดไปยิ่งกว่าเดิม บางครั้งอารมณ์เบื่องานไม่อยากทำงาน แต่พอนึกถึงสิ่งที่แย่กว่าเช่นไม่ได้ทำงานจะไมมีเงินไม่มีรายได้ อาจทำให้เรากลับมาตั้งหน้าตั้งตาฮึดสู้กับงานอีกครั้งได้


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/2E885O9

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด