10 วิธีทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างแบบมีกำไร

ปัจจุบันการเติบโตของชุมชนเมืองที่ขยายตัวออกสู่เขตชานเมืองมากขึ้น ทำให้ธุรกิจที่คาดว่าจะเติบโตได้มากขึ้นก็คือ การรับเหมาก่อสร้าง สิ่งที่เรามองเห็นเกี่ยวกับธุรกิจนี้คือทิศทางที่นับจะโตวันโตคืนโดยไม่สนกับกระแสเทคโนโลยี ยิ่งเป็นเรื่องดีที่เทคโนโลยีพัฒนาขึ้นเท่าไหร่ก็ทำให้ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างสามารถทำงานได้ง่ายได้สะดวกยิ่งขึ้น

ในอนาคตคาดว่าอัตราการเติบโตของธุรกิจนี้จะสูงขึ้นมากแต่ก็ใช่ว่าทุกคนที่คิดจะทำธุรกิจนี้แล้วจะประสบความสำเร็จได้ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง เป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยคอนเนคชั่นกับหลายฝ่าย รวมถึงเจ้าของธุรกิจก็ต้องมีประสบการณ์เป็นอย่างดี มีวิธีการบริหารจัดการที่มีคุณภาพจึงจะสามารถทำธุรกิจนี้ได้อย่างอยู่รอดปลอดภัย

ด้วยเหตุนี้ www.ThaiSMEsCenter.com นำ10วิธีสำคัญที่ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างควรจะมีเพื่อให้ทำกำไรในการลงทุนได้อย่างดี งานนี้มีอะไรบ้างลองมาดูกัน

การรับเหมาก่อสร้าง

1. เลือกเจ้าของงานที่เงินชัวร์ จ่ายตรง

ธุรกิจก่อสร้างงานหลักก็คือการก่อสร้าง สิ่งสำคัญอันดับแรกก็คือการเลือกลูกค้าปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ (ถ้าผู้อยู่จ่ายตังค์!) งานหลักของพวกเราคือก่อสร้าง! ไม่ใช่หมุนเงินนะคะ กฎข้อแรก ท่องไว้ให้ดี “งานหลักของพวกเราคือก่อสร้าง” ผู้รับเหมางานเอกชนต้องระมัดระวังให้มากๆกับการเลือกลูกค้า ควรศึกษาที่มาที่ไปลูกค้า ดูประวัติความน่าเชื่อถือ

รวมถึงดูสไตล์การทำงานของเจ้าของงานด้วย อย่าไปรับงานจากเจ้าของงานที่สร้างภาระให้เราต้องเสียเวลาทวงหนี้ หมุนเงินให้ปวดหัว ในเมื่อความเสี่ยงจากเจ้าของงานคือจุดชี้เป็นชี้ตายของ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างจึงต้องมีการทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้างให้รัดกุมด้วย

2. รู้จักการเสนอราคาแบบมีกำไร

ในวงการก่อสร้างกล่าวว่ากำไรสุทธิหลังหักค่าดำเนินการทุกอย่างแล้ว ต้องไม่น้อยกว่า 10% ทักษะในการนำเสนองานกับลูกค้าเป็นหน้าที่ของเจ้าของธุรกิจที่ต้องพูดให้ลูกค้าเข้าใจและมองเห็นภาพการทำงาน ยิ่งถ้าเราเคยมีผลงานมานำเสนอก็จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ลูกค้าบางคนไม่เข้าใจในเรื่องการคิดต้นทุน ต้นทุนผันแปรในระหว่างการทำงาน

นั่นหมายถึงในการทำงานผู้รับเหมาก็มีต้นทุนของตัวเองหลายอย่างไม่ว่าจะค่าแรง ค่าอุปกรณ์ ค่าความเสี่ยงต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้การรับงานจึงไม่ใช่แข่งกันที่ราคาแต่ควรให้ลูกค้ารู้สึกว่าเรามีคุณภาพ การขายงานแบบถูกๆ ก็อาจทำให้เราได้งานแต่ในท้ายที่สุดจะเป็นงานที่ได้ไม่คุ้มเสียและไม่ส่งผลดีต่อการทำธุรกิจระยะยาวแน่

ll13

3.ระดมสมองบุคลากรที่เกี่ยวข้องก่อนเริ่มทำงาน

ยิ่งเป็นงานใหญ่เรื่องนี้ยิ่งสำคัญมาก การเอาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในทุกฝ่ายตั้งแต่คนออกแบบ หัวหน้าช่าง ฝ่ายบัญชี ฝ่ายสั่งซื้อ ฝ่ายประเมินราคา มานั่งประชุมร่วมกันจะได้ภาพของงานที่ชัดเจนในหัวของทุกคนทำให้ทุกคนทำงานไปในทิศทางเดียวกัน

รู้สิ่งที่ลูกค้าต้องการให้ทำ รู้ว่าควรทำอย่างไรให้งานออกมามีคุณภาพเสร็จตามกำหนดเวลาที่สำคัญคือรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรให้สามารถประหยัดต้นทุนของบริษัทได้มากที่สุด ทุกอย่างต้องกำหนดให้เป็นกิจลักษณะเพื่อทำให้ธุรกิจนั้นสามารถเริ่มต้นและเดินหน้าได้ดีที่สุด

4.ตั้งงบประมาณในการก่อสร้างที่ถูกต้อง

ธุรกิจก่อสร้างควรควบคุมต้นทุนให้อยู่ในกรอบที่วางไว้และก็ควรมีแผนสำรองหใตัดสินใจได้ทันที่เมื่อใช้ต้นทุนเกินงบประมาณ ยิ่งถ้าเป็นบริษัทเล็กๆเรื่องพวกนี้ยิ่งต้องแม่นยำ ในยุคที่เทคโนโลยีมีความสำคัญมากนี้

ควรหาแพลตฟอร์มที่มีประโยชน์มาใช้ร่วมในการทำงานจะช่วยให้การคิดวิเคราะห์สามารถมองเห็นภาพการทำงานที่ชัดเจนรู้ถึงปัญหาที่อาจจะเกิดเพื่อเตรียมรับมือแก้ไขไม่ให้ต้นทุนบานปลายไปเกินกว่าความจำเป็น

ll15

5. ต้องมีเงินทุนหมุนเวียน

ธุรกิจรับเหมาที่ดีต้องมีเงินทุนหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 30% ของมูลค่าโครงการที่รับ เนื่องจากการรับเหมาส่วนใหญ่ผู้ว่าจ้างมักจะจ่ายเงินเป็นงวด ซึ่งบางทีก็มีความล่าช้าในการเบิกจ่ายบ้าง

หากเราปราศจากเงินทุนหมุนเวียนก็จะทำให้งานติดขัดอันจะทำให้ต้นทุนของผู้รับเหมาสูงขึ้นนั่นก็หมายถึงกำไรที่ลดน้อยลง แต่ในทางกลับกันการมีเงินทุนหมุนเวียนจะทำให้เกิดสภาพคล่องที่ไม่กระทบกับผลกำไรที่เราได้วางเอาไว้

6.รักษาความสัมพันธ์ซัพพลายเออร์

เราควรมองซัพพลายเออร์ในฐานะหุ้นส่วนที่ช่วย สร้างธุรกิจรับเหมา ของเราให้เติบโต ได้เพราะธุรกิจรับเหมาต้องมีการใช้อุปกรณ์ในการก่อสร้างจำนวนมากเราต้องรู้จักเลือกแหล่งสินค้าที่ให้ราคาถูกและมีคุณภาพดีรวมถึงเครดิตต่างๆ

หากเจอกับซัพพลายเออร์ที่ดีเราต้องรู้จักรักษาความสัมพันธ์นั้นไว้ อย่าพยายามเอาเปรียบเพื่อให้เกิดความรู้สึกในการทำงานที่ดีร่วมกันอันจะเป็นประโยชน์ของเราในการทำธุรกิจด้วย

ll10

7.ดูแลคนงาน และผู้รับเหมา

ธุรกิจก่อสร้างสิ่งสำคัญที่จะทำให้งานมีคุณภาพหรือไม่นั้นอยู่ที่บุคลากรในการทำงานหรือก็คือบรรดาช่างฝีมือต่างๆการเก็บรักษาช่างฝีมือไว้ให้ทำงานกับเราเป็นเรื่องสำคัญมาก

เราจึงควรใช้แรงจูงใจหลายอย่างที่ทำให้ช่างเหล่านี้ไม่จากเราไปไปนไม่ว่าจะเป็นค่าตอบแทนที่สมเหตุสมผล การดูแลสวัสดิการ การให้ความช่วยเหลือที่จำเป็น รวมถึงความรวดเร็วในการจ่ายเงิน ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำให้ช่างฝีมืออยู่กับบริษัทของเราและจะกลายเป็นจุดแข็งที่ดีในอนาคตด้วย

8.ค่อยๆขยับขยายและลงทุนกับอุปกรณ์ที่จำเป็นลงทุนกับสินทรัพย์

ในการก่อสร้างสัมพันธ์กับการใช้เครื่องมือเครื่องจักรหลากหลายประเภท ในฐานของบริษัทรับเหมาไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์เหล่านั้นทั้งหมด สามารถใช้วิธีการเช่าแทนได้

แต่อย่างไรก็ดีเราควรพิจารณาเป็นกรณีไปกับเครื่องมือที่สำคัญและจำเป็นต้องมีในระยะยาวเราควรรู้ว่าเครื่องมือไหนที่เราควรมีเป็นของตัวเองดีกว่าการเช่า จึงต้องมีการเปรียบเทียบต้นทุนให้เห็นภาพว่าระหว่างซื้อกับเช่าอะไรที่จะทำให้เกิดต้นทุนมากกว่ากัน

ll14

9.สามารคุมเวลางานให้ได้ตามแผน เร็วกว่าแผนยิ่งดี

แผนและระยะเวลาในการทำงานจะถูกกำหนดออกมาเป็นรูปร่างตั้งแต่ช่วงระดมความคิดแต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือเมื่อปฏิบัติงานจริงอาจเกิดปัญหาระหว่างการทำงานที่มีผลให้งานล่าช้าก็เป็นการแก้ปัญหาของเจ้าของกิจการว่าควรทำอย่างไรที่จะทำงานให้ได้ตามเป้าหมายหรือทางที่ดีหากเร่งงานให้เสร็จเร็วกว่ากำหนดได้โดยที่งานมีคุณภาพก็จะเป็นการซื้อใจลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

10.รู้จักการบริการลูกค้า

งานรับเหมา 1 งานอาจจะทำให้เราต้องมีเวลาอยู่กับผู้ว่าจ้าง รู้จักผู้ว่าจ้างนานนับเดือน ในระหว่างที่อยู่ในสัญญาจ้าง เราก็อาจใช้การบริการที่ดีทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าเราเป็นบริษัทที่ดีจ้างงานแล้วทำให้เขาสบายใจเราอาจจะคอยอัพเดทงานให้ลูกค้าทราบ

นำเสนอสิ่งใหม่ๆที่น่าสนใจและดีกว่า รวมถึงอาจบริการเลี้ยงอาหารลูกค้าในบางโอกาสก็จะเป็นผลดีในการทำประชาสัมพันธ์ให้กับธุรกิจของเราในลักษณะปากต่อปากได้ดีมากขึ้น

ทั้งนี้ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเป็นงานที่ต้องใช้เงินทุน ใช้ประสบการณ์มากเป็นพิเศษ ที่สำคัญผู้รับเหมาต้องมีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าแม้เราอยากได้ต้นทุนที่ต่ำ เวลาการทำที่เร็วแต่เราก็ไม่ควรลดสเปคของงาน ควรใช้วัสดุที่ดีที่สุดที่ทำให้เราพอมีกำไรได้ งานที่ดีของผู้รับเหมาจะเป็นประโยชน์ของตัวเองที่ทำให้ลูกค้าคนอื่นเชื่อใจในอนาคต

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเราได้รวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด