10 ข้อผิดพลาดที่เจ้าของแฟรนไชส์ เจ็บสุด!

ช่วงที่ผ่านมา เจ้าของธุรกิจ เจ้าของกิจการหลายคน ได้ให้ความสนใจขยับขยายธุรกิจของตัวเองให้เติบโตมากยิ่งขึ้น ซึ่งหนึ่งในโมเดลการขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างรวดเร็วที่ได้รับความนิยม ก็คือ “แฟรนไชส์” เพราะเป็นโมเดลที่สามารถขยายตัวได้เร็ว แต่ใช้เงินลงทุนต่ำ อีกทั้งมีโอกาสสร้างผลกำไรได้ดีกว่าขยายสาขาด้วยตัวเอง

แต่รู้หรือไม่ว่า การสร้างธุรกิจเข้าสู่แฟรนไชส์ และบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายมากนัก เนื่องจากเจ้าของธุรกิจ เจ้าของกิจการ รวมถึงรูปแบบของธุรกิจ ต้องมีความพร้อมในหลายๆ ด้าน ซึ่งที่ผ่านมาเจ้าของธุรกิจหลายคนต่างต้องเจ็บปวด และ น้ำตาตกมามาก เพราะคิดว่าการทำธุรกิจแฟรนไชส์เป็นเรื่องง่ายๆ ขายแฟรนไชส์ได้มากเท่าไหร่ยิ่งรวย

แต่สุดท้ายเหมือนตกหลุมพราง วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอนำเสนอ 10 ข้อผิดพลาด ที่เจ้าของแฟรนไชส์ เจ็บปวด เพื่อเป็นแนวทางให้เจ้าของธุรกิจ เจ้าของกิจการร้านค้า ที่กำลังคิดจะเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ นำไปพิจารณาครับ

10 ข้อผิดพลาด

1. ไม่ได้ศึกษาระบบแฟรนไชส์ให้เข้าใจ

ถือว่าสำคัญมากในการสร้างธุรกิจสู่แฟรนไชส์ เพราะหากไม่รู้ระบบแฟรนไชส์ก็บริการจัดการไม่เป็น ดังนั้น เจ้าของกิจการก่อนจะเลือกทำธุรกิจแฟรนไชส์ จำเป็นต้องศึกษาหาความเรื่องแฟรนไชส์ ระบบการจัดการ การบริหารเครือข่าย และอื่นๆ ให้ชัดเจนก่อน เพราะระบบแฟรนไชส์เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก ที่สำคัญธุรกิจที่จะทำแฟรนไชส์ต้องไม่เป็นกระแส แฟชั่น ลูกซื้อซ้ำ และ ธุรกิจที่จะทำแฟรนไชส์นั้น ต้องมีโอกาสเติบโตในวันข้างหน้า จึงจะมีคนอยากซื้อแฟรนไชส์ไปเปิดร้าน

2. ขาด Know-How และ ความรู้ที่ดี

แม้ว่ารูปแบบของแฟรนไชส์ จะมีระบบการจัดการที่ดีแล้วนั้น แต่การทำธุรกิจแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ และเติบโตอย่างมั่นคง ต่อยอด และ ขยายสาขาไปได้นั่น ก็คือ ทักษะความรู้ หรือ Know-How ที่ดีของเจ้าของแฟรนไชส์ เพราะความรู้เหล่านี้จะสามารถนำไปถ่ายทอดให้คนที่จะมาซื้อแฟรนไชส์ รุ่นต่อๆ ไป ได้เรียนรู้ และนำไปพัฒนาต่อยอดธุรกิจได้ในวันข้างหน้า

15

3. ความพร้อมในการบริหารที่ไม่เต็มที่

อีกข้อผิดพลาดที่เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ต้องคำนึงถึง ก็คือ เรื่องของความพร้อมในการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ ที่ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะจะทำให้ธุรกิจนั้นเผชิญกับความเสี่ยงสูง ตลอดจนแนวโน้มที่อาจจะถูกคู่แข่งแซงหน้าไปได้ ฉะนั้น ต้องมีการเตรียมความพร้อมทีมงานให้แข็งแกร่ง การอบรม การสนับสนุนแฟนไชส์ซี เพื่อลดความเสี่ยงในการทำแฟรนไชส์

4. ไม่ได้มีการสำรวจความต้องการลูกค้า

การสร้างธุรกิจสู่แฟรนไชส์ หากเจ้าของกิจการไม่ได้สำรวจว่าลูกค้ามีความต้องการอย่างไร ไม่รู้ว่าลูกค้าชอบอะไร ถือเป็นเป็นความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง อย่างกแรกแฟรนไชส์ที่ทำนั้น คุณต้องชอบ และ ลูกค้าต้องชอบสินค้าและบริการนั้นด้วย ดังนั้น ก่อนทำแฟรนไชส์ต้องสำรวจตลาด ว่า ลูกค้าในทำเลนั้นๆ ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ชอบของแพง หรือ ถูก พูดง่ายคือ ต้องขายได้

14

5. ไม่ศึกษาคู่แข่งแฟรนไชส์ในตลาด

เป็นอีกหนึ่งข้อผิดพลาดที่เจ้าของแฟรนไชส์ต้องให้ความสำคัญ เพราะอย่าคิดว่าแฟนไชส์ที่จะทำนั้น ขายได้แน่นอน ลูกค้าให้ความนิยม โดยที่ไม่ได้ศึกษาคู่แข่งแฟรนไชส์ในกลุ่มเดียวกัน สังเกตหรือไม่ว่าทำไมทุกวันวันนี้ ร้านชา 25 บาท ไปไหนกันหมด แต่ก่อนผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด แต่ทุกวันนี้เจ๊งตามกันไปหมด เพราะทุกคนคิดว่าทำแล้วขายได้

ดังนั้น คนที่จะทำแฟรนไชส์ต้องมีการศึกษาข้อมูลแฟรนไชส์ของคู่แข่งว่า ความแตกต่างของแบรนด์, เงินลงทุน, ทำเล, การตลาด, สินค้า, รายได้ เป็นอย่างไรบ้าง เปรียบเทียบแฟรนไชส์ของคุณกับคู่แข่งในตลา ว่ามีความโดดเด่นแตกต่างอย่างไร และจะต้องมีการปรับตัวอย่างไรบ้างในอนาคต เพื่อสร้างความยั่งยืนให้ระบบแฟรนไชส์

6. เลือกทำเลที่ไม่เหมาะสม

ทำเลสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์นั้น เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะถ้าทำเลไม่ดีก็จะส่งผลให้ลูกค้าไม่เข้าหาธุรกิจของคุณ และควรวิเคราะห์เพิ่มเติมด้วยว่า ผู้คนที่เดินผ่านไปมานั้น จะสนใจธุรกิจ และ แฟรนไชส์ที่คุณกำลังจะทำหรือไม่ คุณอาจจำเป็นต้องสร้างร้านต้นแบบ หรือร้านตัวอย่าง ว่าถ้าเปิดจริงๆ แล้วจะขายได้หรือไม่ เป็นร้านแบบทดลองใจลูกค้า และดูว่าทำเลแบบนี้เหมาะกับการขยายสาขาแฟรนไชส์ได้หรือไม่ หากเลือกทำเลเปิดร้านไม่ดี ก็มีแต่เจ๊งอย่างเดียว คนซื้อแฟรนไชส์ไปก็เจ๊ง

16

7. ขาดวิสัยทัศน์นำพาธุรกิจ

เวลาทำธุรกิจ เมื่อคุณไม่มีมุมมอง หรือวิสัยทัศน์ ที่จะมองภาพในอนาคตว่า ธุรกิจนั้นจะเป็นอย่างไรในวันข้างหน้า เมื่อไม่สามารถมองภาพแนวโน้มของธุรกิจได้ ปัญหาที่จะตามมาก็คือ ไม่รู้ว่าจะปรับธุรกิจ หรือแฟรนไชส์นั้นๆ ให้เติบโตไปในทิศทาง ไหนที่เหมาะสม ดังนั้น การมีวิสัยทัศน์ที่ดี จะทำให้การทำธุรกิจเดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง และ ชัดเจน มีเป้าหมายเติบโต

8. คัดเลือกแฟรนไชส์ซีไม่ดีพอ

ความผิดพลาดอีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับเจ้าของแฟรนไชส์ ก็คือ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่ดีพอ เห็นใครที่มีเงินลงทุนก็เอามาเป็นแฟรนไชส์ซีหมด โดยไม่ดูว่าเขาเหล่านั้นมีวิสัยทัศน์ในการทำธุรกิจเหมือนกับคุณหรือไม่ เมื่อเจ้าของแฟรนไชส์เลือกเอาคนเหล่านี้เข้ามา สุดท้ายพวกเขาก็จะทำให้ระบบแฟรนไชส์ล้ม เพราะทำเสียหายสาขาหนึ่ง จะลามไปทั้งระบบ และ ทุกสาขา ดังนั้น เจ้าของแฟรนไชส์ต้องคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่มีความตั้งใจในการทำธุรกิจจริงๆ มีวิสัยทัศน์ก้าวไกลเหมือนกับคุณ

17

9. มุ่งเก็บค่าแฟรนไชส์อย่างเดียว

ถือเป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับเจ้าของแฟรนไชส์อยู่เป็นประจำ โดยจริงๆ แล้ว สิ่งที่แฟรนไชส์ซอร์จะต้องปฏิบัติต่อแฟรนไชส์ซี ก็คือ การดูแลสนับสนุนและให้ถ่ายทอดวิธีการทำงาน ตลอดจนการโปรโมททำตลาดให้แฟรนไชส์ซีขายของได้ แต่มีแฟรนไชส์ซอร์หลายๆ รายที่คิดจะเก็บเงินค่าธรรมเนียมอย่างเดียว ขายแฟรนไชส์ให้ได้มากๆ เพื่อเอาค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ หรือ เรียกเก็บค่ารอยัลตี้ฟี แล้วทอดทิ้งแฟรนไชส์ซี ไม่ให้การสนับสนุนแฟรนไชส์ซีในเรื่องต่างๆ แต่อย่างใด สุดท้ายเจ๊ง โดนฟ้องร้อง

10. ขาดการมีที่ปรึกษาที่ดีพอ

ที่ปรึกษาธุรกิจมีความสำคัญอย่างมากในการทำแฟรนไชส์ ที่ผ่านมาเจ้าของแฟรนไชส์หลายๆ คน ไม่ประสบความสำเร็จ และ ตกม้าตาย ก็เพราะขาดการมีที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญเรื่องแฟรนไชส์และกฎหมายมาช่วย คิดว่าตัวเองเก่งทุกอย่าง ทำคนเดียวได้แต่อย่าลืมว่าการทำแฟรนไชส์ทุกวันนี้ จะคิดแต่ขยายสาขาในประเทศอย่างเดียวไม่พอ เจ้าของแฟรนไชส์ต้องวางเป้าหมายขยายสาขาในต่างประเทศด้วย ซึ่งการขยายสาขาต่างประเทศจำเป็นต้องมีที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญตลาดต่างประเทศ และกฎหมายการลงทุนต่างประเทศ อย่างน้อยต้องมีที่ปรึกษาที่เก่งและพูดภาษาต่างประเทศได้ ก็จะช่วยติดต่อสื่อสารได้เยอะ

ทั้งหมดเป็น 10 ข้อผิดพลาดที่เจ้าของแฟรนไชส์ ต้องเจ็บปวดที่สุด หวังว่าใครที่จะคิดสร้างธุรกิจเข้าสู่แฟรนไชส์ จะเอาไปเป็นแนวทางในการทำแฟรนไชส์ เพื่อหลีกเลี่ยงความล้มเหลวที่จะเกิดกับธุรกิจของคุณเอง


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Franchise Tips

  1. ไม่ได้ศึกษาระบบแฟรนไชส์ให้เข้าใจ
  2. ขาด Know-How และ ความรู้ที่ดี
  3. ความพร้อมในการบริหารที่ไม่เต็มที่
  4. ไม่ได้มีการสำรวจความต้องการลูกค้า
  5. ไม่ศึกษาคู่แข่งแฟรนไชส์ในตลาด
  6. เลือกทำเลที่ไม่เหมาะสม
  7. ขาดวิสัยทัศน์นำพาธุรกิจ
  8. คัดเลือกแฟรนไชส์ซีไม่ดีพอ
  9. มุ่งเก็บค่าแฟรนไชส์อย่างเดียว
  10. ขาดการมีที่ปรึกษาที่ดีพอ

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3f0xpX8

01565898888

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช