ไลเซนส์ แตกต่างจากแฟรนไชส์และการขยายแบรนด์ อย่างไร

ปัจจุบันการขยายกิจการ หรือการสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ มีวิธีการอยู่มากมายให้เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ระบบไลเซนส์ ระบบแฟรนไชส์

รวมไปถึงใช้กลยุทธ์การขยายแบรนด์หรือขยายผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป้าหมายของทั้ง 3 แนวทางจะเหมือนกัน คือ สร้างเติบโตให้ธุรกิจและขยายกิจการให้ครอบคลุมพื้นที่ให้มากขึ้น ภายใต้ชื่อตราสินค้าเดียวกัน

ไลเซนส์

ภาพจาก facebook.com/chobchaofficial

แล้วรู้หรือไม่ว่า ไลเซนส์ แฟรนไชส์ และการขยายแบรนด์ มีความแตกต่างกันอย่างไร วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีข้อมูลจะนำเสนอให้ทราบกันครับ

Licensing & Franchising แตกต่างกันอย่างไร

6

ภาพจาก bit.ly/2YowYwH

Licensing คือ ลิขสิทธิ์ ประกอบไปด้วย ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ฝ่ายผูกสัญญากันได้รับสิทธิกัน และ เครื่องหมายการค้า (Brand) หรืออาจจะประกอบไปด้วยสินค้า (Product) หรือระบบ

ธุรกิจ Licensing คือ การที่เจ้าของธุรกิจให้ใบอนุญาตให้อีกกิจการหนึ่ง สามารถใช้เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ และสิทธิ์ทางการตลาดอื่นๆ ของตน โดยได้ค่าตอบแทนจากสัญญาสัมปทานตามที่ได้ตกลงกัน

เช่น ธุรกิจ Licensing ในฮ่องกงแทรกอยู่ในทุกธุรกิจ อาทิ ร้านเสื้อผ้า Giordano ที่ซื้อลิขสิทธิ์การ์ตูนของ Walt Disney มาผลิตสินค้าเป็นลายต่างๆ บนเสื้อผ้า, บริษัท ENS เจ้าของ License ตัวการ์ตูนดังในฮ่องกงอย่าง B Duck ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในระดับภูมิภาค และมีการขายสินค้าที่มี License นี้กันอยู่อย่างแพร่หลาย ทั้งธุรกิจเสื้อผ้าและเครื่องเขียน

5

ภาพจาก bit.ly/2JiGNsw

หรืออย่างบริษัทชื่อดังอย่าง Warner Bros และ Mattel and the National Basketball Association (NBA) ก็ได้ให้ความสนใจในการเปิดสำนักงานตัวแทนในฮ่องกง และยังมีอีกหลากหลาย License ดังๆ ที่ได้ลงทุนเปิดสำนักงานใหญ่ในฮ่องกงแล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อขยายธุรกิจของตนเข้าสู่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงประเทศไทยเราด้วย

ส่วน Franchising เป็น Package Right คือเป็นสิทธิที่เป็นประกอบยกชุด ในระบบแฟรนไชส์เราจะกำหนดให้สิ่งประกอบของธุรกิจทั้งหลาย อย่างเช่น การให้ทั้ง Brand, สินค้า, ระบบงาน ความช่วยเหลือทางการตลาด

การสนับสนุนช่วยเหลือด้านบุคลากร เป็นต้น แต่ถ้าให้แค่อย่างใดอย่างหนึ่งก็จะเป็นแค่ License หรือการาขายสิทธิ์ ซึ่งทำได้ง่ายกว่า โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีระบบงาน หรือการสนับสนุนด้วยทีมงานต่างๆ

ธุรกิจแฟรนไชส์ คือ วิธีการหนึ่งในการขยายตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายของธุรกิจ โดยผ่านผู้ประกอบการอิสระที่เรียกว่า แฟรนไชส์ซี ส่วนทางบริษัทให้สิทธิเครื่องหมายการค้า ซึ่งถ้ายังไม่ได้เป็นเจ้าของสิทธิถือว่าไม่ถูกต้อง ต้องไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ากับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ที่มีหน่วยงานด้านสิทธิบัตรโดยเฉพาะ

เพราะถ้าไม่มีเครื่องหมายการค้าจะไม่สามารถขายแฟรนไชส์ได้ หรืออาจมีคนอื่นหวังดีไปจดทะเบียนก่อน ก็จะขาดความเป็นเจ้าตราสินค้าทันที ธุรกิจแฟรนไชส์ถือเป็นการสร้างระบบงาน มีตราสินค้าที่เป็นที่ยอมรับ มีความเชี่ยวชาญหรือ Know How อาจจะเป็นวิธีการในการทำธุรกิจ ที่จะถ่ายทอดให้แฟรนไชส์ซี ในรูปแบบของการทำงานทั้งหมด

4

ภาพจาก bit.ly/2JiHPEG

เช่น ระบบการผลิต ระบบการขาย ระบบการบริหารการตลาด เพื่อที่จะให้รูปแบบวิธีดำเนินธุรกิจในทุกๆ สาขาให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน ยกตัวอย่าง ธุรกิจที่เป็นแฟรนไชส์ทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ ก็คือ 7-Eleven, แมคโดนัลด์, KFC เป็นต้น

ไดเรคทอรี่ธุรกิจแฟรนไชส์ไทย : www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

3

การขยายแบรนด์ (Brand Extension) คล้าย Licensing & Franchising อย่างไร

2

ภาพจาก bit.ly/2YrM3xC

นอกจากการสร้างการเติบโตให้กับแบรนด์ในผลิตภัณฑ์เดียว ยังมีการขยายแบรนด์อีกด้วย เช่น ผู้บริโภค Coca-Cola มากขึ้นยิ่งมีส่วนแบ่งตลาดและเติบโตมากขึ้น ส่วนการขยายแบรนด์เกิดขึ้นเมื่อเจ้าของแบรนด์สร้างผลิตภัณฑ์หลักรุ่นใหม่ เช่น Coca-Cola นำเสนอสินค้ารุ่นใหม่ Coca-Cola lite, Coke Zero, Caffeine Free Coke และ Orange Vanilla Coke

นอกจากนี้ ไนกี้ แบรนด์ที่มีครองตำแหน่งในเรื่องของ Sport Ware ก็ได้มีการขยายตราสินค้าออกไปมากมาย ทั้ง รองเท้า เสื้อผ้ากีฬา เสื้อผ้าแฟชั่น และแว่นตา นั่นจึงเป็นคำตอบที่ว่า หากแบรนด์ต้องการให้สินค้าใหม่เป็นที่รู้จัก และเกิดการยอมรับได้เร็ว วิธีการใช้ชื่อแบรนด์เดียวกันในสินค้าประเภทอื่นๆ น่าจะลงตัวมากที่สุด

ในทางตรงกันข้ามหากการขยายตราสินค้าครั้งนี้ล้มเหลว ก็จะทำให้มุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าอื่นๆ ในเเบรนด์เดียวกันเสียหายไปด้วยเช่นกัน บางครั้งแบรนด์เดิมก็อาจจะไม่เหมาะกับผลิตภัณฑ์ใหม่ แม้ว่าผลิตผลิตภัณฑ์นั้นจะสร้างความพึงพอใจได้มากเพียงใดก็ตาม เพราะคงไม่มีใครอยากซื้อ ขนม ที่มีแบรนด์เดียวกับ ผงซักฟอก อย่างแน่นอน

1

ภาพจาก bit.ly/2Q4RIX7

อย่างไรก็ตาม การขยายแบรนด์ ไลเซนส์ และแฟรนไชส์ ก็มีส่วนคล้ายกันอยู่บ้าง โดยเฉพาะในเรื่องของตราสินค้า หรือแบรนด์ ซึ่งธุรกิจระบบแฟรนไชส์ ถ้าสาขาแฟรนไชส์ใดสาขาหนึ่งสร้างความเสียหายเกิดขึ้น

เช่น สาขาพระราม 2 ลูกค้าถ่ายภาพแมลงสาบ หนูไต่ในร้าน แล้วแชร์ต่อในโลกออนไลน์ เมื่อคนเห็นจำนวนมากก็ไม่อยากเข้าร้านยี่ห้อนี้ไปเลย นั่นคือ ร้านแฟรนไชส์แห่งเดียวสร้างความเสียหายให้กับแบรนด์ทั้งระบบ สาขาอื่นๆ ก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย เพราะใช้ชื่อเดียวกัน

บทความเกี่ยวข้อง : Burger King อเมริกา ระส่ำ! จ่อยกเลิกแฟรนไชส์ซีเจ้าใหญ่ 37 สาขา : bit.ly/2HjQNzD

ได้เห็นกันแล้วว่า ไลเซนส์ แฟรนไชส์ และการขยายแบรนด์ มีความเหมือนกันและแตกต่างกันไปในตัว ส่วนที่ทั้ง 3 เหมือนกันก็จะเป็นในเรื่องของการขยายธุรกิจ

ขยายกิจการให้มากขึ้นภายใต้ชื่อหรือแบรนด์เดียว จากที่มีอยู่เพียงแค่ประเทศเดียวก็ขยายกิจการไปได้หลายประเทศ เช่น B Duck ก็ยังมีอยู่ในไทย หรือโคคา-โคลามีขายอยู่ทั่วโลก แมคโดนัลด์ก็มีอยู่เกือบทุกประเทศ


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

อ้างอิงข้อมูล www.entrepreneur.com/article/333623

อ้างอิงจาก https://bit.ly/35OjDn0

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช