โอกาส ธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ในต่างประเทศ

เป้าหมายอย่างหนึ่งของผู้ประกอบการ ธุรกิจแฟรนไชส์ไทย คือ การก้าวออกไปทำธุรกิจหรือขยายสาขาในต่างประเทศ เพราะเป็นการออกไปเล่นในตลาดที่กว้างมากขึ้น เพิ่มโอกาสให้ธุรกิจเติบโตสูง แต่การก้าวออกไปเปิดตลาดในต่างประเทศไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ไทย เพราะมีคู่แข่งแฟรนไชส์ต่างประเทศรอจ้องเสียบอยู่เช่นกัน 

เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ไทยต้องเร่งปรับปรุงธุรกิจของตัวเองให้มีคุณภาพมาตรฐานในระดับสากล มีระบบการบริหารแฟรนไชส์ที่แข็งแกร่ง และต้องทำการศึกษาศิลปวัฒนธรรม ภาษา รสนิยม รวมไปถึงทัศนคติต่างๆ ของคนในแต่ละประเทศด้วย
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลแนวทางการขยายธุรกิจแฟรนไชส์ไทยไปในต่างประเทศ สภาพตลาด การแข่งขัน และโอกาสของธุรกิจแฟรนไชส์ไทยในต่างประเทศ มาเสนอแก่เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ที่สนใจเปิดตลาดต่างประเทศ

ธุรกิจแฟรนไชส์ไทย

จุดขายธุรกิจแฟรนไชส์ไทย

เมื่อมองแนวโน้มของธุรกิจแฟรนไชส์ในต่างประเทศที่มีการเติบโต คงต้องหันมามองโอกาสของธุรกิจแฟรนไชส์ไทยในต่างประเทศกันบ้าง จะว่าไปแล้ว ไทยมีความได้เปรียบประเทศอื่นๆ ที่เห็นได้ชัด คือ ธุรกิจด้านอาหารไทย รสชาติอร่อย และธุรกิจการบริการ เพราะคนไทยมีความสุภาพอ่อนโยน ยิ้มแย้มแจ่มใส เรียกได้ว่ามีหัวใจของการให้บริการ

ดังนั้นธุรกิจที่ไทยมีความได้เปรียบและมีโอกาสที่ขยายไปยังต่างประเทศ ก็คือ ธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทร้านอาหารไทยและธุรกิจสปา ซึ่งรวมถึงธุรกิจบริการทางด้านสุขภาพด้วย ซึ่งก็สอดคล้องกับสถานการณ์ของธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย ที่ในปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่มของไทยมีมากที่สุด แต่แฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่มของไทยก็จะได้รับผลกระทบจากการเข้ามาของแฟรนไชส์อาหารต่างประเทศด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกา แต่ไทยต้องปรับตัว

จะเห็นได้ว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ของไทยด้านการบริการจึงมีโอกาสค่อนข้างสูง และแฟรนไชส์ร้านอาหารที่มีเอกลักษณ์ของความเป็นไทย และอาหารไทยที่เปี่ยมไปด้วยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจึงมีโอกาสเช่นเดียวกัน

q4

นอกจากความได้เปรียบของเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นไทย อาหารไทย และความยิ้มแย้มแจ่มใสแล้ว ในตัวของธุรกิจแฟรนไชส์เองก็มีจุดเด่นที่สามารถนำมาเป็นจุดขายได้ เช่น

  • รูปแบบและการตกแต่งร้าน การสร้างร้านต้นแบบเป็นเสมือนการสร้างแนวคิดธุรกิจให้ออกมาเป็นรูปร่าง ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้เห็นภาพร้านที่ชัดเจน ว่าเขามีความสนใจซื้อหรือไม่ซื้อ เพราะระบบแฟรนไชส์ต้องสร้างภาพลักษณ์ที่ชัดเจน มีเอกลักษณ์ในธุรกิจ และชูสัญลักษณ์นั้นให้เด่นตามคุณลักษณะของธุรกิจที่กำหนด
  • ตราสินค้า (Brand) การวางความชัดเจนของตราสินค้าจะเป็นการสร้างจุดแข็งให้กับธุรกิจได้ ตราสินค้าจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกความเป็นตัวตนของธุรกิจซึ่งไม่ใช่แค่ Logo เท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงคุณภาพของสินค้าและบริการ รูปแบบการให้บริการของพนักงาน บรรยากาศ การตกแต่งร้าน การแต่งกาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้ อันนำมาซึ่งการสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณด้วย

q5

แฟรนไชส์ไทยต้องปรับตัว แล้วค่อยรุก

ปัจจุบันนี้จะพบว่า มีหลายประเทศที่รัฐบาลได้พยายามผลักดันธุรกิจแฟรนไชส์ ให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย รวมถึงไทยที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าพยายามเร่งผลักดันเพื่อให้ผู้ประกอบการมีความสามารถต่อยอดธุรกิจ และสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้อย่างแข็งแกร่ง แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการเองต้องเร่งปรับปรุงกิจการของตัวเองด้วย รวมถึงมีแผนการดำเนินการที่ดีเพื่อให้ธุรกิจสามารถรุกและรับกับต่างชาติได้

ดังนั้น หากผู้ประกอบการแฟรนไชส์ จะออกไปขยายสาขาในต่างแดน สิ่งสำคัญคือ ต้องพัฒนาธุรกิจในประเทศให้เข้มแข็งก่อน โดยต้องรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเอง และพอมีประสบการณ์มากพอสมควรแล้วค่อยออกไปรุกตลาดเพื่อนบ้าน ขณะเดียวกันต้องตอบคำถามให้ได้ว่าจะไปประเทศใด

q8

จากนั้นจึงเจาะลึกหาความรู้ของประเทศนั้นโดยตรงให้ครบทุกด้าน ทั้งเรื่องของกฎระเบียบควบคุมของธุรกิจแฟรนไชส์ หากเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหารจะต้องขออนุญาตจากองค์การอาหารและยา หรือ อย. หรือไม่ รวมไปถึงการศึกษานิสัยใจคอ วัฒนธรรม รสนิยม ภาษาแต่ละประเทศนั้นให้ถ่องแท้ด้วย และต้องดูว่าประเทศไหนเข้มงวดเรื่องอาหาร โดยเฉพาะประเทศกลุ่มมุสลิม ประการสำคัญผู้ประกอบการต้องมีจุดยืนให้ชัดเจน อย่าลอกเลียนแบบคนอื่น สร้างความแตกต่าง

นอกจากผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัวก่อนออกไปเปิดตลาดในเพื่อนบ้านแล้ว ต้องควบคุมในเรื่องของมาตรฐาน เพราะหากออกไปต่างประเทศแล้ว เรื่องมาตรฐานแฟรนไชส์ ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก

ขณะเดียวกันผู้ที่เป็นเจ้าของแฟรนไชส์ต้องรู้กรรมวิธีในการ “เก็บความลับ” ของสินค้าด้วย หรือเรียกได้ว่าหากบอกไปหมดไม่มีเคล็ดลับเก็บไว้ ก็อาจสูญเสียกิจการให้คนอื่นได้ง่ายๆ คุณต้องเสียเวลาในการฟ้องร้อง ขึ้นโรงขึ้นศาลกันภายหลัง

q7

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ติดปีกแฟรนไชส์ไทยบุกต่างแดน

มีข้อมูลล่าสุดจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า กรมฯ มีแผนจะนำผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ไทยที่มีศักยภาพ ขยายตลาดไปยังต่างประเทศจำนวน 150 ราย โดยตั้งเป้าบุกตลาดอาเซียนเพิ่มอีก 5 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย หลังจากมีแผนพาแฟรนไชส์ไทยเจาะตลาดฟิลิปปินส์ในช่วงเดือนก.ค.59

โดยปัจจุบันธุรกิจแฟรนส์ไทยสามารถเจาะตลาดต่างประเทศได้แล้ว 22 ราย ใน 37 ประเทศ ซึ่งในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นประเทศในอาเซียน เพราะตลาดอาเซียนรู้จักสินค้าและบริการของไทยเป็นอย่างดี แยกเป็นแฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่ม 11 ธุรกิจ, บริการ 1 ธุรกิจ, การศึกษา 3 ธุรกิจ, ความงามและสปา 2 ธุรกิจ และค้าปลีก 5 ธุรกิจ

q1

สำหรับแฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่มบุกต่างแดนที่ขึ้นชื่อ ได้แก่

  • Black Canyon ไปอินโดนีเซีย ลาว ฟิลิปปินส์ พม่า สิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) กัมพูชา
  • Neo Suki ไปลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย จีน
  • The Coffee Maker ไปกัมพูชา
  • ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัยแม่ศรีวรรณ ไปพม่า ออสเตรเลีย
  • โชคดี ติ่มซำ ไปพม่า

ธุรกิจแฟรนไชส์บริการ ได้แก่

  • Moly Care ไปลาว กัมพูชา พม่า เวียดนาม

ธุรกิจแฟรนไชส์การศึกษา ได้แก่

  • Smart Brain ไปปากีสถาน คูเวต ซาอุดีอาระเบีย ตุรกี กัมพูชา อังกฤษ จีน อินเดีย
  • Smart English ไปอินโดนีเซีย เป็นต้น

q2

ปัจจุบันมีธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยจำนวน 1,523 ราย แยกเป็นนิติบุคคล 1,234 ราย บุคคลธรรมดา 289 ราย และในจำนวนนี้แฟรนไชส์ที่เป็นนิติบุคคลได้ส่งงบการเงินจำนวน 961 ราย คิดเป็น 79%

โดยมีทุนจดทะเบียนรวม 59,502 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวม 2,169,077 ล้านบาท และมีรายได้รวม 645,798.43 ล้านบาท ซึ่งรายได้ที่เกิดขึ้น มาจากทั้งธุรกิจแฟรนไชส์และรายได้อื่นของธุรกิจ

หากมองเฉพาะมูลค่าการตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ จะมีประมาณ 2.5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 9% ของธุรกิจค้าปลีกทั้งหมดในไทย ขณะที่ในสหรัฐ มูลค่าของธุรกิจแฟรนไชส์ 55 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 54% ของธุรกิจค้าปลีก จึงนับว่าธุรกิจแฟรนไชส์ไทยยังมีโอกาสในการขยายตัวได้เพิ่มขึ้นอีก

q3

สำหรับสถิติข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ดูได้เร็ว เข้าใจง่าย ท่านสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ : http://goo.gl/EgVA1Q

จะเห็นได้ว่าการขยายธุรกิจแฟรนไชส์ไทยไปในต่างประเทศ ดูแล้วอาจไม่ใช่เรื่องง่ายมากนัก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถและความตั้งใจจริงของผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ไทย

ยิ่งปัจจุบันมีหน่วยงานกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเข้ามาเป็นพี่เลี้ยง และช่วยติวเข้มเพื่อสร้างมาตรฐานและความแข็งแกร่งให้กับแฟรนไชส์ไทยแล้ว การที่จะบุกตลาดอาจไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่ตัวเจ้าของแฟรนไชส์เอง ว่ามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3iWMVEi

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช