แฟรนไชส์ Vs ไมโครแฟรนไชส์ แตกต่างกันอย่างไร

เชื่อว่าในวันนี้หลายคนคงรู้แล้วว่า “แฟรนไชส์” คืออะไร แต่ถ้าพูดถึง “ ไมโครแฟรนไชส์” เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้จักกับธุรกิจในรูปแบบนี้ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจ และไขความกระจ่าง ให้กับคนที่สนใจอยากลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะมาไขความกระจ่างให้เห็นชัดว่า ธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ กับ ธุรกิจในรูปแบบไมโครแฟรนไชส์ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เพื่อให้คนสนใจอยากซื้อแฟรนไชส์ไม่รู้สึกสับสนครับ

ธุรกิจแฟรนไชส์คืออะไร

ไมโครแฟรนไชส์

ธุรกิจแฟรนไชส์ คือ วิธีการหนึ่งในการขยายตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายของธุรกิจ โดยผ่านผู้ประกอบการอิสระที่เรียกว่า แฟรนไชส์ซี ส่วนทางบริษัทให้สิทธิเครื่องหมายการค้า ถ้ายังไม่ได้เป็นเจ้าของสิทธิถือว่าไม่ถูกต้อง ต้องไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพราะถ้าไม่มีเครื่องหมายการค้าจะไม่สามารถขายแฟรนไชส์ได้

รวมทั้งต้องมีความเชี่ยวชาญ หรือ Know How อาจจะเป็นวิธีการทำธุรกิจที่จะถ่ายทอดให้แฟรนไชส์ซี เช่น ระบบการผลิต ระบบการขาย ระบบการบริหารการตลาด เพื่อที่จะให้รูปแบบวิธีดำเนินธุรกิจในทุกๆสาขาให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน

การทำธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ กับผู้ที่ต้องการลงทุน เช่น ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ Initial Franchise Fee บางที่เรียกว่า ค่าสิทธิ์แรกเข้า หรือ Entrance Fee

เป็นค่าใช้จ่ายเริ่มต้นของระบบแฟรนไชส์ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี) จะต้องจ่ายให้แก่แฟรนไชส์ซอร์ เป็นค่าสิทธิในการประกอบธุรกิจหรือใช้ตราสินค้าหรือบริการ หรือเครื่องหมายการค้าหนึ่ง ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด

j3

โดยแฟรนไชส์ซอร์ส่วนใหญ่จะเสนอบริการต่างๆ เพื่อเป็นการตอบแทนกับรายจ่ายนี้ เป็นการอำนวยความสะดวกต่อการทำธุรกิจรวมถึงการอบรมบริการต่างๆ ที่ทางแฟรนไชส์ซอร์จัดให้แก่แฟรนไชส์ซี

ขณะเดียวกัน สิ่งที่เป็นค่าใช้จ่ายในระบบแฟรนไชส์อีกอย่าง ก็คือ เงินรายงวด ค่าธรรมเนียมการจัดการ หรือ ค่ารอยัลตี้(Royalty Fee) เป็นค่าสิทธิต่อเนื่องบนรายได้ที่แฟรนไชส์ซีได้ จากการดำเนินธุรกิจที่ได้รับสิทธิ เสมือนเป็นภาษีทางธุรกิจ หรือค่าสมาชิกสโมสรที่คนเป็นสมาชิกต้องช่วยเหลือ สนับสนุนเพื่อนำไปพัฒนานั่นเอง

เงินรายงวดหรือค่าธรรมเนียมการจัดการ เป็นค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินกิจการ โดยปกติแฟรนไชส์ซีจะจ่ายให้แก่แฟรนไชส์ซอร์เป็นรายเดือน โดยคิดคำนวณจากสัดส่วนของยอดขายสุทธิในแต่ละเดือน ในธุรกิจอาหารและร้านค้าปลีกต่างๆ อัตราเปอร์เซ็นต์ของค่า Royalty บนยอดขายมักจะมีค่าประมาณ 4-6% ขณะที่ธุรกิจประเภทการบริการมักอยู่ที่ 8-10%

j4

ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้อาจจะถูกกำหนดให้คงที่ หรือผันแปรก็ได้ หรืออาจจะเป็นทั้ง 2 แบบรวมกัน โดยแฟรนไชส์ซอร์อาจแลกเปลี่ยนด้วยการให้บริการต่างๆ เช่น จัดรายการโฆษณา สนับสนุนการขาย ให้ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

ค่าใช้จ่ายข้างต้นเป็นสิ่งที่แตกต่างกับการทำธุรกิจทั่วไป เป็นค่าใช้จ่ายที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการล้มเหลวในธุรกิจ และช่วยให้เถ้าแก่ใหม่เรียนลัดได้เร็วขึ้นกว่าปกติ เหมือนกับการจ่ายค่าติวเข้มทางธุรกิจ และจ้างพี่เลี้ยงช่วยเหลือ

นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในระบบธุรกิจแฟรนไชส์อีก เช่น การลงทุนตกแต่งร้าน เพื่อให้มีรูปลักษณ์เหมือนกับของแฟรนไชส์ซอร์ ซึ่งต้นทุนนี้จะเกิดขึ้นในระยะแรกของการตกลงใจที่จะทำแฟรนไชส์

ดังนั้น แฟรนไชส์ซี จำเป็นจะต้องมีเงินทุนที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายล่วงหน้าส่วนนี้ พร้อมทั้งต้องแบ่งสรรเงินทุนส่วนหนึ่งให้เพียงพอกับการดำเนินงานธุรกิจตามปกติ เช่น ค่าใช้จ่ายทั่วไป เงินเดือนพนักงาน การสั่งซื้อสินค้าและบริการ เป็นต้น

คามหมายของไมโครแฟรนไชส์

j5

ภาพจาก facebook.com/Nescafe.TH

อาจารย์พีระพงษ์ กิตติเวชโภคาวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบค้าปลีกและแฟรนไชส์ ได้ชี้ให้เห็นว่า ระยะที่ผ่านจะเห็นการเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่มีทุนทรัพย์ ประสบการณ์ ทีมงานและพันธมิตร ออกมาจัดกิจกรรมผ่านโครงการต่างๆ หากโฟกัสในกลุ่มผู้ประกอบการอาหาร เครื่องดื่ม

เช่น เนสท์ล่ กับโครงการเนสกาแฟ นักชงมืออาชีพ หรือ นมตรามะลิ กับโครงการรถเข็นกาแฟโบราณ เป็นกิจกรรมโครงการสร้างอาชีพ แม้ที่ผ่านมาได้มีการริเริ่มโครงการเหล่านี้ แต่ในปัจจุบันเป็นรูปธรรมและขยายวงกว้างมากขึ้น

คอนเซ็ปต์ไมโครแฟรนไชส์ เห็นได้จากบริษัทขนาดใหญ่ นำคอนเซ็ปต์แฟรนไชส์มาขยายงานของตนเอง ด้วยการสร้าง Know How ความเข้าใจ การทำงานร่วมกัน โดยตนเองมีกำลังสนับสนุนเกือบทุกอย่าง

เช่น นมตรามะลิ เคยมีโครงการรถเข็นกาแฟโบราณ เพื่อช่วยคนให้เกิดอาชีพ หรือส่งเสริมคนที่มีรายได้น้อยให้ทำมาค้าขายเล็กๆ น้อยๆ ถ้ามีเงินเก็บหลักหมื่น เขาอาจมาร่วมขายกาแฟด้วย บริษัทหาสินเชื่อหรือไมโครเครดิตมาช่วย

jj

กลุ่มคนเหล่านี้ค่อยๆ ผ่อนจ่าย ในที่สุดจะเป็นเจ้าของพื้นที่ เจ้าของร้านตัวเองได้ ซึ่งไมโครแฟรนไชส์จะลงที่ระดับรากหญ้า คล้ายๆ ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว แต่ยังไม่สมบูรณ์แบบ ธุรกิจไครแฟรนไชส์ ชายสี่เล็กๆ ทำไม่ได้ แต่วันนี้กลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ที่จะทำไมโคร แฟรนไชส์ได้ เพราะมีกำลังเงิน เงิน สร้างระบบ พัฒนากลุ่มคนที่เป็นชาวบ้านให้มีอาชีพดีขึ้น

ลักษณะการทำธุรกิจของบริษัทขนาดกลาง ขนาดใหญ่ จะมีกำลังคน ฝึกให้กลุ่มคนหรือผู้เข้ามาทำธุรกิจ ได้มีความรู้ในการทำอาชีพ สอนการเก็บเงินอย่างไร บริหารการเงินอย่างไร สั่งซื้อสินค้าอย่างไร แล้วจะมีทีมงานคอยตระเวนช่วยเหลือ และคอยดูเรื่องเงินหมุนเวียนให้ จะเห็นว่าธุรกิจเหล่านี้ เป็นธุรกิจที่เป็นที่คนทั่วไปรู้จักอยู่แล้ว

สรุปก็คือ รูปแบบของแฟรนไชส์จะแตกต่างจากไมโครแฟรนไชส์ ตรงที่แฟรนไชส์จะมีระบบให้ผู้ร่วมลงทุนจ่ายค่างวดหรือค่าธรรมเนียมการจัดการให้กับยเจ้าของแฟรนไชส์

ส่วนไมโครแฟรนไชส์เป็นลักษณะการพึ่งพากันของบริษัทขนาดใหญ่ และผู้อยากมีอาชีพ โดยบริษัทขนาดใหญ่จะให้การสนับสนุนจนผู้ร่วมทำธุรกิจด้วยเป็นเจ้าของร้านในที่สุด


อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com
เลือกซื้อแฟรนไชส์ขายดี เริ่มต้นธุรกิจ goo.gl/DvorXV

Franchise Tips

ไมโครแฟรนไชส์เป็นลักษณะของการพึ่งพากัน บริษัทต้องมีกำลัง เงินสร้างระบบ ทีมงาน สนับสนุนคนที่ขาดโอกาสในสังคมให้มีอาชีพ ไมโครแฟรนไชส์คือ สัมมาชีพ มี Relation ship คนที่ทำธุรกิจขนาดใหญ่ลงไปสร้างอาชีพให้กับคนระดับเล็ก เมื่อก่อนคนทำธุรกิจขนาดใหญ่ไม่คิดอย่างนั้น แต่ปัจจุบันแนวคิดดังกล่าวได้ขยายวงกว้างแม้ยังไม่เต็มรูปแบบก็ตาม

ส่วนแฟรนไชส์ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ ต้องจ่ายเงินรายงวดหรือค่าธรรมเนียมการจัดการ เป็นค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินกิจการ โดยปกติแฟรนไชส์ซี จะจ่ายให้แก่แฟรนไชส์ซอร์เป็นรายเดือน คิดคำนวณจากสัดส่วนของยอดขายสุทธิในแต่ละเดือน โดยส่วนใหญ่เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์จะเก็บค่า Royalty Fee จากแฟรนไชส์ซีที่ประมาณ 5-10 % ยอดขาย

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3pu4RJZ

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช