แฟรนไชส์ราคาถูก คือ “โอกาส VS กับดัก”

ยุคโควิด-19 บวกกับสถานการณ์เศรษฐกิจแบบนี้ คงเป็นเรื่องยากที่จะมีใครอยากควักกระเป๋า เอาเงินก้อนใหญ่ไปลงทุนทำธุรกิจอย่างแน่นอน แต่รู้หรือไม่ว่ายังมีธุรกิจแฟรนไชส์ที่เปิดโอกาสให้กับผู้ว่างงาน ตกงาน รวมถึงผู้ที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เพราะไม่ต้องมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจมาก่อน ก็สามารถเป็นเจ้าของกิจการสาขาแฟรนไชส์ได้

โดยเฉพาะสาขาแฟรนไชส์ขนาดเล็ก แฟรนไชส์ราคาถูก ใช้เงินลงทุนต่ำ คืนทุนไว เปิดร้านขายได้เร็ว ระบบการคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่ยุ่งยากเหมือนกับแฟรนไชส์ลงทุนสูง จึงทำให้ใครๆ เป็นเจ้าของร้านสาขาแฟรนไชส์ได้ง่ายกว่าแฟรนไชส์ลงทุนสูง

แฟรนไชส์ราคาถูก

สำหรับใครที่อยากซื้อ แฟรนไชส์ราคาถูก หรือที่เรียกกันว่าแฟรนไชส์สร้างอาชีพ ต้องไม่พลาดอ่านบทความด้านล่าง!!! มาดูกันว่าจะเป็น “โอกาส หรือ กับดัก” วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบครับ

แฟรนไชส์ลงทุนต่ำ ราคาหลักพัน หลักหมื่น ส่วนมากมีโอกาสไปไม่รอด หากมีระบบบริหารจัดการไม่ดี โดยปัญหาจากการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่ไม่เข้มงวด ใครมีเงินเดินเข้ามาซื้อก็ขาย เพราะอยากได้ค่าแฟรนไชส์ เจ้าแฟรนไชส์มักติดกับดักตรงที่เห็นรายได้เข้ามาง่าย จึงรีบๆ ขายแฟรนไชส์ออกไป โดยไม่ดูให้ดีว่า ผู้ซื้อแฟรนไชส์มีความเหมาะสมกับแฟรนไชส์หรือเปล่า

14

ปัญหาที่จะตามมาอีกอย่าง ก็คือ พอมีคนซื้อแฟรนไชส์เยอะ กระจัดกระจายทุกพื้นที่ หากเจ้าของแฟรนไชส์ไม่มีระบบบริหารที่เป็นมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุน การตรวจสอบมาตรฐานสาขา การจัดส่งวัตถุดิบ และอื่นๆ ก็จะส่งผลเสียต่อสาขาแฟรนไชส์ซี และกระทบต่อภาพลักษณ์ในภาพรวมของแบรนด์แฟรนไชส์ คนที่คิดจะซื้อแฟรนไชส์ก็จะไม่กล้าซื้อ

ปัญหาที่เกิดขึ้นข้างต้น สาเหตุหลักๆ มาจากการขยายกิจการ หรือสาขาเร็วเกินไป แม้ว่าการเติบโตเป็นเรื่องดี แต่ต้องไม่เร็วและไม่รีบร้อนจนเกินไป เหมือนเราโตเกินความสามารถของธุรกิจ หรือโตเกินขอบข่ายของการบริหารจัดการเครือข่าย

ลองนึกภาพ 7-Eleven, KFC หรือแมคโดนัลด์ ที่มีระบบบริหารจัดการทุกอย่างเป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่ใช่แค่การใช้ชื่อเดียวกัน หรือแค่สูตรเดียวกัน เพราะแฟรนไชส์จริงๆ คือ ระบบการตลาด การดำเนินงาน และการเงิน

16

ภาพจาก https://bit.ly/35ON8Fn

แฟรนไชส์ซอร์ ต้องมีระบบการบริหารจัดการสาขาที่ดี ไม่ใช่เอาแต่เพียงเก็บค่าแฟรนไชส์แรกเข้าอย่างเดียว แล้วไม่ทำอะไรให้เลย คอยแต่จะขายสินค้าวัตถุดิบให้ เพราะจริงๆ แล้วค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า หรือค่าแฟรนไชส์นั้น ไม่ใช่เครื่องมือของแฟรนไชส์ซอร์ในการหารายได้ แต่เป็นค่าใช้จ่ายในการทำงาน เพื่อที่จะให้เกิดร้านสาขาในระบบดีๆ เพิ่มขึ้น

ดังนั้น กำไรของธุรกิจแฟรนไชส์ อยู่ที่การวางระบบให้สาขาแฟรนไชส์ซีสามารถสร้างกำไร มียอดขายสูงขึ้น เพื่อที่จะให้แฟรนไชส์ซีจ่ายเงินส่วนแบ่งในการบริหารกลับเข้ามา หรือเรียกว่า Royalty Fee นั่นคือ กำไรของธุรกิจแฟรนไชส์ของจริง

12

เจ้าของแฟรนไชส์ที่เน้นการขายสินค้า การให้เช่าป้าย หรือการขายสูตรลับ จะต้องคิดใหม่ ทำใหม่ เพราะการสร้างระบบแฟรนไชส์ต้องบริหารให้สาขาอยู่รอด มีกำไร อย่าคิดเพียงเอาตัวรอดไปชั่วคราว จะไม่ยั่งยืน โดยมีข้อมูลที่น่าจะเชื่อถือได้ว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ลงทุนต่ำกว่า 1 แสนบาท จะล้มเหลวไม่เกิน 3 ปีแรกที่ลงทุน

เพราะแฟรนไชส์เหล่านี้ จะเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้าครั้งเดียว เสร็จแล้วขายของ ขายวัตถุดิบ ไม่ส่งเสริมการขาย การตลาดให้ร้านสาขาแฟรนไชส์ซี ยิ่งสาขาแฟรนไชส์อยู่ไกลก็ต้องมีค่าเครื่องบิน ค่าโรงแรม ค่าอาหาร ค่าเช่ารถ ทีมงาน และอื่นๆ

แล้วคุณคิดว่าค่าแฟรนไชส์แรกเข้าที่แฟรนไชส์ซอร์ได้รับหลักพัน หลักหมื่น จะเพียงพอสำหรับการสนับสนุนแฟรนไชส์หรือไม่ ซึ่งจะแตกต่างจากธุรกิจแฟรนไชส์ที่ลงทุนสูงๆ ที่คิดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์หลักแสน หลักล้านบาท และค่า Royalty Fee ประมาณ 3-5% ต่อเดือน ที่จะเอาเงินส่วนนี้ไปสนับสนุนแฟรนไชส์ซีให้อยู่รอดและเติบโต

11

มาถึงตรงนี้ พอจะรู้หรือยังว่า แฟรนไชส์ราคาถูก หรือแฟรนไชส์สร้างอาชีพ จะเป็นโอกาส หรือ กับดัก แต่ถึงอย่างไรก็ไม่ใช่เสมอไปที่แฟรนไชส์ลงทุนต่ำจะไปไม่รอด แต่ถ้าเรารู้จักเลือกลงทุนแฟรนไชส์ที่มีโอกาส สินค้าและบริการเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เจ้าของแฟรนไชส์มีความรู้และประสบการณ์ รวมถึงมีความตั้งใจในการทำธุรกิจ เชื่อว่าจะเป็นโอกาสแน่นอนครับ


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3gZO3Jl

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช