แฟรนไชส์จ่ายเงินครั้งเดียว VS แฟรนไชส์จ่ายค่าสิทธิ์ต่อเนื่อง แบบไหนเหมาะกับคุณ

ธุรกิจในรูปแบบ แฟรนไชส์จะต้องมีการเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ กับผู้ที่ต้องการมาลงทุน (แฟรนไชส์ซี) เริ่มต้นจากค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า Franchise Fee บางที่เรียกว่า ค่าสิทธิ์แรกเข้า หรือ Entrance Fee เป็นค่าใช้จ่ายเริ่มต้นของระบบแฟรนไชส์ ที่แฟรนไชส์ซีจะต้องจ่ายให้แก่แฟรนไชส์ซอร์ เป็นค่าสิทธิ์ในการประกอบธุรกิจหรือใช้ตราสินค้าหรือบริการ 

ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องจ่ายค่าธรรมเรียมแฟรนไชส์แรกเข้า ให้กับเจ้าของแฟรนไชส์ก่อนเปิดร้าน หรือเริ่มต้นธุรกิจ ซึ่งในยุคปัจจุบันมีทั้งแฟรนไชส์จ่ายเงินครั้งเดียวทำธุรกิจได้เลย

รวมถึงแฟรนไชส์ที่ต้องจ่ายเงินให้เจ้าของแฟรนไชส์ต่อเนื่องทุกเดือน แล้วคุณคิดว่าธุรกิจแฟรนไชส์แบบไหนที่เหมาะสมกับคุณ?? วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะวิเคราะห์ให้ทราบครับ

แฟรนไชส์จ่ายค่าสิทธิ์ต่อเนื่อง

17

ภาพจาก www.facebook.com/mytaroto

ธุรกิจแฟรนไชส์ที่เป็นมาตรฐานสากลจริงๆ นอกจากต้องเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้าแล้ว แฟรนไชส์ซียังต้องจ่ายเงินรายงวด/ค่าธรรมเนียมการจัดการ หรือเรียกว่า ค่ารอยัลตี้ (Royalty Fee) ซึ่งเป็นค่าสิทธิต่อเนื่อง

บนรายได้ของแฟรนไชส์ซีในแต่ละเดือน เปรียบเสมือนเป็นภาษีทางธุรกิจ หรือ ค่าสมาชิกสโมสร ที่ทุกคนที่เป็นสมาชิกต้องช่วยเหลือ ให้การสนับสนุนทุนกองกลาง เพื่อให้แฟรนไชส์ซอร์นำเงินส่วนนี้ไปพัฒนานั่นเอง

ธุรกิจแฟรนไชส์หลายๆ นอกจากจะเก็บค่า Royalty Fee จากแฟรนไชส์ซีแล้ว ยังเรียกเก็บ “ค่าการตลาด” (Marketing Fee/ Advertising Fee) หรือค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ธุรกิจ จากแฟรนไชส์ซีเป็นรายเดือนอีกด้วย ซึ่งค่าใช้จ่าย 2 อย่างนี้ ส่วนใหญ่จะเก็บกันเป็นรายเดือน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดขายประมาณ 3-10% แต่ก็มีรูปแบบที่แตกต่างกันบ้างเหมือนกัน

16

ภาพจาก https://bit.ly/2tWW6QW

ธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีการเก็บค่า Franchise Fee, Royalty Fee และ Marketing Fee/ Advertising Fee จากแฟรนไชส์ซี ส่วนใหญ่จะเป็นแฟรนไชส์ที่มีระบบการบริหารจัดการที่มีคุณภาพมาตรฐาน ไม่ว่าจะไปใช้บริการสาขาไหนก็จะได้รับบริการในรูปแบบมาตรฐานเช่นเดียวกันหมด เช่น คุณเคยกิน KFC ในต่างจังหวัด แต่พอมากินในกรุงเทพฯ ก็จะได้รสชาติไก่ทอดเหมือนกัน

หรือแม้แต่ 7-Eleven ก็จะมีรูปแบบการบริการจัดการแฟรนไชส์เป็นมาตรฐานเหมือนกันทุกสาขา สินค้าและบริการต่างๆ ในร้านจะเหมือนกันทุกสาขา ตลอดจนการจัดวางสินค้า ชุดฟอร์มพนักงาน รวมถึงวิธีการนำเสนอขายสินค้าในร้าน เป็นต้น

15

ภาพจาก www.facebook.com/Nbpancake

ธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มนี้ เมื่อแฟรนไชส์ซีซื้อไปเปิดแล้ว มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จสูงมาก เพราะเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียง สินค้าและบริการเป็นที่รู้ของตลาดและผู้บริโภคในวงกว้าง ส่วนใหญ่จะเป็นแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ด ค้าปลีก กาแฟ ฯลฯ

ค่าแฟรนไชส์แรกเข้าจะสูงขึ้น ตั้งแต่หลักแสนขึ้นไปจนถึงหลักล้านบาท ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและตกแต่งร้านอีกด้วย รวมๆ แล้วผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องมีเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท แต่ลงทุนแล้วมีโอกาสที่จะเจ๊งน้อยมาก ถือว่าคุ้มค่า

ตัวอย่างแฟรนไชส์ที่เก็บค่าสิทธิ์ (Royalty Fee) และ ค่าการตลาด (Marketing and Advertisement Fee)

แฟรนไชส์จ่ายเงินครั้งเดียว

14

ภาพจาก www.facebook.com/lookchingiantfc/

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ในปัจจุบัน ยังมีธุรกิจแฟรนไชส์หลายๆ กลุ่ม ที่ไม่เรียกเก็บค่าสิทธิ์ต่อเนื่อง Royalty Fee และ Marketing Fee/ Advertising Fee แต่เก็บค่าแฟรนไชส์แรกเข้า Franchise Fee อย่างเดียวก็สามารถเปิดร้านหรือดำเนินธุรกิจได้เลย ตรงนี้ถือเป็นจุดขายสำคัญของธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มนี้

โดยค่าแฟรนไชส์แรกข้าวของธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มนี้ ส่วนใหญ่จะเก็บกันที่ประมาณหลักพันถึงหลักแสนบาท เรียกได้ว่าจ่ายเงินครั้งเดียวเปิดร้านได้เลย

ซึ่งเงินส่วนนี้ที่จ่ายให้กับเจ้าของแฟรนไชส์จะเป็นค่าวัตถุดิบ อุปกรณ์ คีออส ป้าย อบรม และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องพร้อมขายได้ทันที หรือบางแบรนด์แฟรนไชส์ก็จะมีค่าตกแต่งร้านเพิ่มเข้ามาอีกด้วย แต่เก็บแค่ครั้งเดียว

13

ภาพจาก www.facebook.com/padthaitawanda/

หลายคนอาจตั้งคำถามว่า ถ้าเจ้าของแฟรนไชส์ไม่เก็บค่าสิทธิ์ต่อเนื่อง เก็บแค่ครั้งเดียว แล้วจะไปเอารายได้จากส่วนไหน มาใช้ในการบริหารระบบสนับสนุนแฟรนไชส์ซี ไม่เช่นนั้นจุดขายของแฟรนไชส์ซอร์ จะกลายเป็นจุดตายของระบบแฟรนไชส์ทันที

แต่ก็อย่าลืมว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ที่เก็บเงินค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้าอย่างเดียว ไม่มีค่าสิทธิ์ จะหารายได้จากการขายวัตถุดิบในการผลิตสินค้าให้กับแฟรนไชส์ซีแต่ละสาขา ถ้ามีสาขามาก ก็จะมีรายได้มาก ธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มนี้ที่เห็นกันส่วนใหญ่จะเป็นแฟรนไชส์อาหารที่เป็นร้านเล็กๆ หรือแบบคีออส รวมถึงแฟรนไชส์เครื่องดื่ม ชา 25 บาท และแฟรนไชส์บริการ

ธุรกิจแฟรไชส์ที่ไม่เรียกเก็บค่า Royalty Fee จากแฟรนไชส์ซี จะสามารถดึงดูดผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่มีเงินทุนน้อย ให้มาซื้อแฟรนไชส์ได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น เพราะลงทุนต่ำ แต่ก็ทำรายได้ ถ้าสินค้าและบริการตอบโจทย์ลูกค้า และตั้งอยู่ทำเลที่มีศักยภาพ

12

ภาพจาก www.facebook.com/ChaTanyong

นักลงทุนที่ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มเหล่านี้ มีทั้งโอกาสสำเร็จและโอกาสเจ๊งสูงเช่นเดียวกัน เพราะเจ้าของแฟรนไชส์จะไม่ค่อยมีระบบให้การสนับสนุนแฟรนไชส์ที่เป็นมาตรฐานมากนัก

อาจจะเดินทางผ่านไปก็จะมีแวะทักทายบ้าง ให้คำปรึกษาบ้าง ยิ่งถ้าเจอเจ้าของแฟรนไชส์ที่หวังเงินจากแฟรนไชส์แรกเข้าอย่างเดียว ขายแล้วขายเลย จะทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์มีโอกาสเจ๊งสูง

ตัวอย่างแฟรนไชส์ที่ไม่เก็บค่าสิทธิ์ (Royalty Fee) และ ค่าการตลาด (Marketing and Advertisement Fee)

จะเห็นได้ว่าธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ มีทั้งแบบจ่ายเงินครั้งเดียวเปิดร้านได้ คือ เก็บค่าแฟรนไชส์แรกเข้าอย่างเดียว และธุรกิจแฟรนไชส์ที่เก็บเงินค่าแฟรนไชส์แรกเข้าด้วย และเก็บค่าสิทธิ์ ค่าการตลาดรายเดือนจากแฟรนไชส์ซีด้วย ซึ่งแต่ลนะรูปแบบมีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกันไป ธุรกิจที่เก็บค่าสิทธิ์ต่อเนื่องจะมีค่าใช้จ่ายลงทุนสูง มีโอกาสสำเร็จสูงมาก

ส่วนแฟรนไชส์ที่เก็บเงินค่าแฟรนไชส์แรกเข้าจากแฟรนไชส์ซีครั้งเดียว จะมีค่าลงทุนเปิดร้านต่ำ เปิดได้ง่าย เหมาะสำหรับคนที่มีเงินทุนน้อย คนที่อยากมีรายได้ อยากมีอาชีพ

แต่ก็อาจจะไม่ได้รับการดูแลที่ดีจากแฟรนไชส์ซอร์ แต่ถ้าอยู่ในทำเลดีก็มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงเช่นเดียวกัน…แล้วคุณล่ะ! เหมาะสำหรับการลงทุนธุรกิจแฟรไชส์แบบไหน


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3wNtEwF

01565898888

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช