แฉความลับ! 7 วิธีกระตุ้นแฟรนไชส์แบรนด์เล็ก ให้มีแต่คนรอซื้อแฟรนไชส์

เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์แบรนด์เล็ก ลงทุนต่ำ อยากให้มีคนมาต่อคิวซื้อแฟรนไชส์ ต้องทำอย่างไร? มาดู 7 วิธีกระตุ้นแฟรนไชส์แบรนด์เล็ก ให้มีแต่คนมารอซื้อแฟรนไชส์กันครับ

1.ธุรกิจไม่ซ้ำใคร คู่แข่งน้อย ลูกค้าไม่เบื่อ

วิธีกระตุ้นแฟรนไชส์แบรนด์เล็ก

แฟรนไชส์ที่อยากให้คนซื้อต้องมีคู่แข่งน้อย ไม่ทำซ้ำกับคนอื่น และเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตไปได้ในอนาคต ลูกค้าไม่เบื่อ มีการซื้อซ้ำ เพราะคนซื้อแฟรนไชส์ไปเปิดขาย ก็คงอยากได้แฟรนไชส์ที่มีโอกาสเติบโตและสร้างยอดขายได้เพิ่มขึ้น

2.รสชาติอร่อย ถูกปาก บริการถูกใจ

นอกจากคู่แข่งในตลาดจะน้อยแล้ว ถ้าเป็นแฟรนไชส์อาหารต้องรสชาติอร่อย ถูกปากลูกค้าเป็นอันดับแรก ไม่ว่าจะเป็นกระเพรา ก๋วยเตี๋ยว ไก่ทอด ผัดไทย ควรมีสูตรเด็ดเฉพาะของทางร้าน รวมไปถึงมีสินค้าบริการหลากหลายประทับใจลูกค้าด้วย

3.ขายง่าย ซื้อง่าย ลงทุนต่ำ คืนทุนเร็ว

วิธีกระตุ้นแฟรนไชส์แบรนด์เล็ก

คนอยากซื้อแฟรนไชส์ที่มีกระบวนการการทำไม่ยุ่งยากซับซ้อน ถ้าเป็นอาหารต้องทำง่าย ขายง่าย ไม่ต้องให้ลูกค้ารอนาน กินง่ายด้วย ซึ่งแฟรนไชส์แนวสตรีทฟู้ดยังน่าสนใจอยู่ในยุคนี้ แต่ต้องใช้เงินลงทุนไม่สูงมาก คืนทุนเร็ว 2-3 เดือนยิ่งดี

4.สูตรเรียนรู้ได้ง่าย ใช้เวลาเรียนน้อย

วิธีกระตุ้นแฟรนไชส์แบรนด์เล็ก

คนซื้อแฟรนไชส์ไม่อยากได้แฟรนไชส์ที่มีขั้นตอนทำงานและเปิดร้านที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ใช้เวลายาวนาน ยิ่งกระบวนการทำงานในร้านต้องเรียนรู้ได้ง่าย ไม่ต้องใช้เวลาเป็นเดือนๆ หรือเป็นปี แฟรนไชส์แบรนด์เล็กควรลดขั้นตอนเปิดร้านให้เร็วขึ้น

5.ทำการตลาด สร้างแบรนด์โดดเด่น

คนซื้อแฟรนไชส์ส่วนใหญ่มักจะเลือกแฟรนไชส์ที่มีชื่อเสียง แบรนด์เป็นที่รู้จัก เพราะการซื้อแฟรนไชส์มาเปิดนั้นเป็นการทำธุรกิจภายใต้เครื่องหมายการค้าเดียวกัน หากเราเลือกแฟรนไชส์ที่คนไม่รู้จัก อาจขายสินค้าได้ยากและมีโอกาสขาดทุนสูง

6.สร้างจุดเด่น แตกต่าง เป็นผู้นำตลาด

แม้จะเป็นแฟรนไชส์ที่มีคู่แข่งในตลาดมาก แต่ต้องสร้างจุดเด่น สร้างเอกลักษณ์ให้กับตัวเอง มีเป้าหมายเป็นผู้นำตลาด อย่างกรณีชายสี่บะหมี่เกี๊ยวถือเป็นผู้นำตลาดแฟรนไชส์ร้านก๋วยเตี๋ยวสตรีทฟู้ด ลูกค้าชอบกิน ทำให้มีคนซื้อแฟรนไชส์

7.มีทีมซัพพอร์ต ทำเลเปิดร้านไม่ยุ่งยาก

แม้จะเป็นแฟรนไชส์ขนาดเล็ก ลงทุนต่ำ ถ้าอยากให้คนซื้อแฟรนไชส์ควรจะมีระบบการสนับสนุนและให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี ไม่ว่าจะเป็นการหาทำเลเปิดร้าน ฝึกอบรม การทำตลาด โฆษณาประชาสัมพันธ์ อาจจะไม่ต้องลงโฆษณาใหญ่โตตามสื่อต่างๆ เพราะเสียเงินเยอะ เพียงแค่ทำเว็บไซต์หรือสร้างเพจเฟชบุ๊คให้ลูกค้าติดตาม จัดโปรโมชั่นให้กับบรรดาสมาชิกที่ติดตามเพจ ที่สำคัญแฟรนไชส์ควรจะหาทำเลเปิดร้านได้ง่ายตามสถานที่ทั่วไป ตลาด ชุมชน ค่าเช่าไม่แพง

สรุปก็คือ ถ้าคุณทำแฟรนไชส์แบรนด์เล็กหรือแฟรนไชส์ขนาดเล็ก ใช้เงินลงทุนต่ำ อยากให้คนมาซื้อแฟรนไชส์ องค์ประกอบของแฟรนไชส์ที่ควรมี คือ ขายง่าย ซื้อง่าย ลงทุนต่ำ คืนทุนเร็ว ธุรกิจไม่ซ้ำใคร คู่แข่งน้อย ลูกค้าไม่เบื่อ เป็นผู้นำตลาด ครับ

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช