เสนอธุรกิจ Start up อย่างไรให้เข้าตากรรมการ

บ่อยครั้ง ที่การ เสนอธุรกิจ Start up ของเราให้กับเหล่านักลงทุนต่างๆ มักจะถูกเมินหรือไม่ได้รับการสนับสนุนสักเท่าไหร่นัก ทั้งๆที่เราก็มั่นใจว่าธุรกิจ Start up ของเรานั้น ดีและเพียบพร้อมไปซะทุกอย่าง

ไม่ว่าจะเป็นทั้งแผนธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นทั้งทิศทางการเติบโต ไม่ว่าจะเป็นทั้งบุคลากรภายในทีม แต่เมื่อยื่นให้เหล่านักธุรกิจไม่ว่าจะเป็นทั้ง Angel และ VC ได้พิจารณาแล้ว ทำไมพวกเขาถึงไม่สนใจล่ะ ซึ่งทุกอย่างล้วนมีเคล็ดลับในตัวมันเอง

แต่ก่อนที่เราจะดูว่าต้องยื่นธุรกิจ Start up อย่างไรให้ได้ผล เรามาทำความรู้จักกับเหล่า Angel และ VC ก่อนดีกว่า เพราะว่าทั้ง Angel และ VC จะเป็นบุคคลสำคัญที่จะช่วยออกทุนให้เราทำธุรกิจ

เสนอธุรกิจ

Venture Capital

หรือที่เหล่านักลงทุนเรียกว่า VC จะเป็นกลุ่มองค์กรที่มักจะเลือกลงทุนในธุรกิจที่สามารถเติบโตได้ไกล มีศักยภาพที่สูง โดยสิ่งที่ธุรกิจ Start up จะได้จาก VC ก็คือปริมาณเงินที่มหาศาล คำปรึกษาทางธุรกิจ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยสัดส่วนของหุ้น แลกมาด้วยเงินปันผลที่มาก รวมไปถึงอำนาจการตัดสินใจต่างๆตามข้อตกลงกันไว้

Angel Investor

หรือที่เหล่านักลงทุนเรียกว่า Angel ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็น นางฟ้า โดย Angel ก็จะเป็นนักลงทุนอิสระที่พร้อมที่จะใช้เงินของตัวเองร่วมลงทุนเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ Start up ส่วนมากมักจะเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัวหรือเป็นคนร่ำรวย

ทุกครั้งที่มีการจัดงานสำหรับเหล่านักธุรกิจหน้าใหม่ที่จะต้องการเงินทุนเกิดขึ้น แน่นอนว่าบุคคลเหล่านี้ก็จะเป็นคนที่พิจารณาถึงสิ่งที่เรานำเสนอ พร้อมกับมอบเงินทุนให้ไปต่อยอดโดยมีข้อแลกเปลี่ยนตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ และแน่นอนว่าทุกๆงานนั้น ก็ล้วนมีเงื่อนไขในการส่งแนวคิดธุรกิจเข้ามา โดยเงื่อนไขที่เรามักจะเห็นกันในงานบ่อยๆนั่นก็คือ

  1. พิจารณาถึงปัญหาของลูกค้า
  2. สินค้าจะช่วยแก้ปัญหานั้นได้อย่างไร
  3. สามารถสร้างรายได้อย่างไร สร้างในรูปแบบไหน
  4. มีความสามารถในการตอบโตทางธุรกิจมากน้อยเพียงใด
  5. ทีมมีความแข็งแกร่ง มีความสามารถขนาดไหน

o18

เมื่อพิจารณา 5 เงื่อนไขนี้ แน่นอนว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่เริ่มรู้สึกแล้วว่า ตัวเองก็สามารถส่งแนวคิดธุรกิจ Start up เพื่อขอทุนได้ แต่ว่าทุกๆครั้งที่มีการจัดงานนี้ขึ้นมา น้อยทีมนักที่จะได้รับทุนจากเหล่า VC และ Angel

ซึ่งนั่นเป็นเพราะอะไรล่ะ ซึ่ง Martin Zwilling อดีตพนักงานของ IBM ที่ปัจจุบันได้เป็น Mentor และ Angle พร้อมกับคอยให้คำปรึกษาและลงทุนให้กับธุรกิจ Start up จำนวนมาก ได้ให้คำแนะนำคร่าวๆดังนี้

1. ธุรกิจต้องมาพร้อมกับผลิตภัณฑ์ และต้องมีการพิสูจน์แล้ว

สิ่งแรกที่เหล่า AC และเหล่า Angel ได้พิจารณาเกี่ยวกับธุรกิจของเราก็คือ ธุรกิจ Start up ที่มานำเสนอ ต้องเป็นธุรกิจที่สามารถใช้ได้จริง มีการเติบโต มีการทำเงินเกิดขึ้น ไม่ใช่เป็นเพียงความคิดที่ให้จินตนาการเองว่ามันสามารถใช้ทำอะไรและทำเงินแบบไหน ซึ่งแน่นอนว่านั่นหมายถึงการหาทุนด้วยตัวเองส่วนหนึ่งเพื่อพิสูจน์ว่าของตัวสามารถทำได้จริง แล้วจึงยื่นเสนอเพื่อขอทุนจากเหล่า VC และ Angel

2. ในทีมต้องมีประสบการณ์ ครบทุกองค์ประกอบ

ประสบการณ์ของคนภายในทีมคือสิ่งที่จะช่วยให้เหล่า AC และ Angel มั่นใจว่า ทีมนี้จะทำงานเป็น ซึ่งการทำธุรกิจนี้ คนภายในทีมจะต้องมีเป้าหมายเดียวกันและภายในทีมจะต้องมีครบทุกองค์ประกอบไม่ว่าจะเป็น คนฝ่ายเทคนิค ฝ่ายการตลาด ฝ่ายการเงิน และฝ่ายอื่นๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ร่วมลงทุนด้วย

o19

3. แสดงให้เห็นถึงความยากในการเลียนแบบ

การแสดงความยากในการเลียนแบบนั้น สามารถทำได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นทั้งการทำเครื่องหมายการค้า การจดสิทธิบัตร การปกป้องความลับทางการค้า และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งถ้าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่นี้ เป็นสิ่งที่ยากที่จะเลียนแบบให้เหมือนเราได้ เราก็จะสามารถมั่นใจได้เลยว่าตามท้องตลาด จะมีสินค้าหรือมีผลิตภัณฑ์ของเราวางจำหน่ายอยู่บริษัทเดียว ไม่มีบริษัทอื่นลงขายมาแย่งกำไรแน่นอน

4. เตรียมบทสรุปให้พร้อม

บทสรุปสำหรับนำเสนอ AC และนำเสนอ Angel มักจะมีรูปแบบที่ค่อนข้างแตกต่างกัน เพราะว่า AC และ Angel นั้นมีความคาดหวังจากธุรกิจที่แตกต่างกันออกไป แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม พวกเขาก็คาดหวังไว้ว่าธุรกิจที่จะลงทุนด้วยจะต้องประสบความสำเร็จ

5. ต้องมีแผนธุรกิจที่กระชับและรัดกุม

ในบางครั้ง แผนธุรกิจอาจจะไม่ค่อยมีความโดดเด่นเท่ากับธุรกิจที่จะทำสักเท่าไหร่ เพราะว่าแผนธุรกิจคือสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าเราจะนำเงินที่ได้ไปใช้ทำอะไรบ้าง แต่บางครั้งแผนธุรกิจก็ได้แสดงถึงความสามารถในการทำงานและเข้าใจถึงตัวแปรต่างๆในการลงทุนทำธุรกิจนะ และการทำแผนธุรกิจที่กระชับและรัดกุม ก็จะช่วยให้ VC และ Angel เห็นแววได้

o21

6. จัดเตรียมโครงสร้างธุรกิจและเริ่มดำเนินธุรกิจไปบ้างแล้ว

การพูดคำว่า ธุรกิจกำลังรอทุนหรือกำลังรองบประมาณ มักจะทำให้เหล่า AC และ Angel มองข้ามอยู่เสมอ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วธุรกิจ Start up จะเป็นธุรกิจที่ใช้เงินทุนไม่เยอะในการจัดตั้ง ทางที่ดีแล้วควรจะเริ่มอะไรเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาก่อนนะ

7. ในโลกออนไลน์ เราได้ทำอะไรไปบ้างแล้ว

การแสดงสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของเราออกสู่โลกออนไลน์ นั่นแสดงให้เห็นว่าธุรกิจของเราได้เป็นรูปเป็นร่างแล้ว ซึ่งการนำออกสู่โลกออนไลน์ ย่อมทำให้ได้รับ Feedback จากลูกค้า ทำให้เห็นกระแสตอบรับ และอื่นๆอีกมากมาย ยิ่งเป็นการทำให้เหล่านักลงทุน เริ่มเห็นความเป็นไปได้ในธุรกิจของเรา

8. สร้างความสัมพันธ์กับนักลงทุนก่อนที่จะขอเงินลงทุน

มันคงเป็นอะไรที่แปลกไม่น้อยที่เราจะให้เงินใครสักคนจากคนที่ไม่รู้จัก ซึ่งการที่เราเริ่มสร้างความสัมพันธ์กับนักลงทุนนั้น ไม่ว่าจะเป็นการขอคำปรึกษาธุรกิจหรือขอถามความสนใจของนักลงทุน ย่อมทำให้นักลงทุนคนนั้น เห็นความกระตือรือร้นในการหาข้อมูล และเห็นสิ่งอื่นๆในตัวนักธุรกิจคนนั้นด้วย

o22

ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม คำแนะนำของ Martin Zwilling ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้เรานั้นสามารถของทุนเพื่อทำธุรกิจ Sart up ได้แน่นอน เพียงแต่มันช่วยสร้างโอกาสให้กับเรามากขึ้นเท่านั้น และถึงแม้ว่าการขอทุนเพื่อทำธุรกิจ Start up จะไม่สำเร็จ

แต่ถ้าหากเรามั่นใจว่าแนวคิดของเราจะสามารถประสบความสำเร็จได้จริง เราก็ควรเริ่มลงมือทำโดยไม่ต้องง้อ VC และ Angel นะ รับรองว่าความสำเร็จนั้นอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอน


ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3dDnCHF
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูลจาก : moneyhub.in.th (ลิงก์มาที่ >> https://moneyhub.in.th)

ขอบคุณรูปภาพจาก : freepik.com

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต