เลี้ยงผึ้งโพรง รายได้ครึ่งแสน

บางคนสงสัยว่า “เลี้ยงผึ้ง” จะเอาอะไรส่วนไหนไปขาย คำตอบคือ “น้ำผึ้ง” ที่สามารถส่งเข้าโรงงานลูกกวาดหรือใช้เป็นส่วนผสมสำหรับยาแก้ไอ และยาที่มีรสหวานสำหรับเด็กๆ แต่การเลี้ยงผึ้งไม่เหมือนการเลี้ยงหมาหรือแมวเพราะผึ้งจะบินไปหาอาหาร

หรือน้ำหวานจากดอกไม้กินตามธรรมชาติ และบินกลับรังได้เอง และธรรมชาติของผึ้งจะป้องกันตัวเองด้วยการ “ต่อย” คนเลี้ยงผึ้งทั้งหลายก็ไม่สามารถสนิทกับผึ้งถึงขนาดสอนให้ไม่ต่อยดังนั้นสิ่งสำคัญคือต้องระวังในยามที่ต้องเข้ามาเก็บน้ำผึ้งจากการเลี้ยง

www.ThaiSMEsCenter.com มองว่านี่คืออีกหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจและมีการเลี้ยงผึ้งโพรงกระจายตัวอยู่หลายแห่งทั่วประเทศ อย่างที่พัทลุงมีเกษตกรที่เลี้ยงผึ้งอยู่กว่า 30 กลุ่ม รวมแล้วกว่า 3,000 รังใน 11 อำเภอ ให้ผลผลิตน้ำผึ้งเฉลี่ย 18,000 ขวด/ปี หรือคิดเป็นน้ำหนักกว่า 18,000 กิโลกรัม ราคาขายเฉลี่ยขวดละ 500 บาท สร้างกระแสเงินหมุนเวียนในพื้นที่ได้ไม่น้อยกว่าปีละ 9 ล้านบาท

ทั้งนี้ การเลี้ยงผึ้งโพรงมีทั้งรูปแบบทั่วไปและรูปแบบการเลี้ยงนวัตกรรมซึ่งการเลี้ยงผึ้งแบบนวัตกรรมแตกต่างจากการเลี้ยงแบบทั่วไปตรงที่การเก็บผลผลิตจะทำได้ง่ายกว่าการเลี้ยงแบบทั่วไป เพราะใช้การขึงรังผึ้งในลังไม้ที่สามารถดึงออกมาจากอุปกรณ์เก็บได้ง่าย ทำให้สามารถเก็บน้ำผึ้งได้โดยตัวรังไม่เสียหาย

การเลี้ยงแบบนวัตกรรมจะทำให้ได้ผลผลิตรังละประมาณ 20 ขวด หรือเก็บเกี่ยวทุก 15 วัน รายได้รังละประมาณ 10,000/ปี แต่ถ้าเลี้ยงแบบทั่วไปจะเก็บเกี่ยว 1 – 2 ครั้ง/ปี และได้ผลผลิตรวม 6 ขวด หรือรายได้รังละประมาณ 3,000/ปี

โดยข้อดีของการเลี้ยงผึ้งโพรงนั้นไม่ต้องพึ่งพาอาหารลงทุนแค่ผลิตรังกับเสาสำหรับให้ผึ้งอยู่อาศัย สามารถแปรรูปได้หลากหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นสบู่ก้อน สบู่เหลว โลชั่น ฯลฯ สำหรับสบู่ก้อน ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ก้อนละ 100 บาท ไปจนถึง 250 บาท

จุดเริ่มต้นของการเลี้ยงผึ้งโพรงในประเทศไทย

36

ภาพจาก bit.ly/2Lyo65d

การเลี้ยงผึ้งโพรงในประเทศไทย เชื่อว่า มีมานานนับร้อยปีแล้ว ในระยะแรกๆ คนเลี้ยงผึ้งใช้โพรงไม้ หรือวัสดุที่เป็นโพรง ให้ผึ้งเข้าไปทำรังอยู่ ต่อมาจึงมีการพัฒนาใช้หีบไม้ในการเลี้ยงผึ้งโพรง

ปัจจุบันมีการเลี้ยงผึ้งโพรงมากที่สุดที่เกาะสมุย และภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งส่วนมากนิยมเลี้ยงแบบให้ผึ้งเข้าไปทำรังอยู่ในหีบไม้ตามธรรมชาติ ไม่มีคอนให้ผึ้งเกาะ และเคลื่อนย้ายไม่ได้ ชนิดของผึ้งที่เลี้ยงในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ

1.ผึ้งโพรงไทย

35

ภาพจาก bit.ly/2GoXIXn

เป็นผึ้งพื้นเมืองของประเทศไทย พบมากในแถบจังหวัดภาคใต้ เช่น ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ที่เกาะสมุย นิยมเลี้ยงผึ้งโพรงมากที่สุด ส่วนใหญ่ใช้วิธีสร้างหีบเลี้ยงง่าย ๆ คอยดักหรือย้ายรังผึ้งจากโพรงไม้ในธรรมชาติลงในหีบเลี้ยง และคอยเวลาเก็บน้ำผึ้งในฤดูดอกไม้บาน

ดังนั้นการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยจึงเริ่มเลี้ยงได้ง่าย และลงทุนน้อยกว่าผึ้งโพรงฝรั่ง เหมาะสำหรับการเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมในระดับครอบครัว หรือเป็นงานอดิเรกผึ้งโพรงไทยสามารถผลิตน้ำผึ้งได้ประมาณ
5 – 20 กิโลกรัมต่อรังต่อปี

2.ผึ้งโพรงฝรั่ง

34

ภาพจาก bit.ly/2O6pFt8

เป็นผึ้งที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ปัจจุบันนิยมเลี้ยงกันมากในจังหวัดภาคเหนือคือ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ และเชียงราย ผึ้งโพรงฝรั่งมีประชากรผึ้งงานในรังมากกว่าผึ้งโพรงไทยคือ

ผึ้งโพรงฝรั่งมีประมาณ 40,000 – 50,000 ตัวต่อรัง แต่ผึ้งโพรงไทยมีประมาณ 20,000 – 30,000 ตัวเท่านั้น ดังนั้นผึ้งโพรงฝรั่งจึงสามารถหาน้ำผึ้ง และสะสมน้ำผึ้งได้มากกว่าผึ้งโพรงไทย จึงเป็นที่นิยมเลี้ยง เพื่อการค้าในระดับอุตสาหกรรม

อุปกรณ์ในการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย

33

ภาพจาก bit.ly/2M3HkPv

  1. กระป๋องรมควัน
  2. หมวกคลุมศีรษะ
  3. กล่องขังนางพญา
  4. มีด
  5. คอนผึ้ง ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ทั้งหมด 4 อัน ทำเป็นกรอบสี่เหลี่ยม
  6. กล่องเลี้ยงผึ้ง ทำด้วยแผ่นไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีความยาว 50 ซม. ความกว้าง 41 ซม. ความสูง 24 ซม.
  7. แผ่นรังเทียม (Foundation)หรือแผ่นฐานรวงคือ แผ่นไขผึ้ง ที่ถูกพิมพ์ให้เป็นรอยตารางทั้งหกเหลี่ยม ทั้งสองหน้า นำมาตรึงตรงกลางของคอน เพื่อที่จะให้ผึ้งงานสร้างหลอดรวง
  8. อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ค้อน ตะปู เลื่อย ลวด มีด ฯลฯ

วิธีการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยแบบง่ายๆ ลงทุนไม่มาก

32

ภาพจาก smart-beekeeper.com

เริ่มจาก นำรังผึ้งโพรงที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น ตามตู้เสื้อผ้า หัวเตียงนอน ในห้องน้ำ ในหลังคาบ้าน และที่อื่นๆ ที่สามารถหาได้ง่าย จากนั้นตัดรวงผึ้งที่มีตัวอ่อนให้ติดน้ำผึ้งสัก 1 เซนติเมตร

นำมาใส่คอนที่ขึงลวดสแตนท์เลส จากนั้นกรีดรวงที่มีตัวอ่อนลกประมาณ 1 เซนติเมตรให้ลวดสแตนท์เลสเข้าไปอยู่ในรวงตัวอ่อน จากนั้นใช้เชือกกล้วยมัดรวงผึ้งติดกับรวงผึ้ง แล้วนำไปใส่ในรัง เป็นจำนวน 5 แผ่น

เมื่อนำแผ่นคอนไม้ที่มีรวงผึ้งตัวอ่อนใส่ในรังเรียบร้อยแล้วให้ทำการโกย หรือเคาะตัวเต็มวัย ใส่ในรังให้หมด และในกลุ่มนั้นต้องมีนางพญาติดไปด้วยจึงจะประสบความสำเร็จในการย้ายลงรังเลี้ยง

หลังจากย้ายลงรังเลี้ยงแล้วประมาณ 10 – 15 วัน สามารถเก็บน้ำผึ้งเพื่อนำมาบริโภคได้เลย ในการเก็บน้ำผึ้งครั้งต่อไปก็ประมาณ 15 วัน หรือ เดือนละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของแหล่งอาหาร ที่มีอยู่บริเวณนั้น

รายได้จากการเลี้ยงผึ้งโพรง

31

ภาพจาก bit.ly/2LzDNJA

ส่วนประกอบต่างๆของผึ้งโพรงแปรเปลี่ยนเป็นรายได้ทั้งนั้น ไม่นับรวมน้ำผึ้งที่เป็นสินค้าหลัก ยังมีไขผึ้งที่สามารถขายได้ถึงกิโลกรัมละ 500 บาท หรือจะเป็นรังผึ้งในส่วนที่เป็นขี้ผึ้ง ก็สามารถขายได้ไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 200 – 300 บาท และยังมีหัวกะทิน้ำผึ้งที่ 1 รังจะมีแค่ 1 – 2 รวงเท่านั้น

ส่วนวิธีการเก็บน้ำผึ้งจะเริ่มจาการสำรวจในรังว่ามีน้ำผึ้งปิดฝารวงหรือยัง ถ้ามีแสดงว่าน้ำผึ้งบ่มสุกแล้ว จากนั้นเขย่าตัวผึ้งออก ใช้แปรงปัดเบาๆให้ตัวผึ้งออกจากรวงให้หมด

นำรวงที่มีน้ำผึ้งทั้งหมดใส่ในรังเคลื่อนย้ายเพื่อนำไปสลัดน้ำผึ้ง แล้วทำการปาดฝารวงผึ้ง โดยใช้มีดบางและคมเปิดฝาให้น้ำผึ้งสามารถไหลออกมาจากหลอดได้ แล้วนำแผ่นรวงผึ้งใส่ในถังสลัด หมุนเหวี่ยงถังเพื่อเอาน้ำผึ้งออกเพื่อนำน้ำผึ้งที่ได้จะนำไปจำหน่ายต่อไป

30

ภาพจาก bit.ly/2M2UwUQ

อาชีพการเลี้ยงผึ้งต้องอาศัยทักษะและความชำนาญที่มากพอสมควร คนที่จะเลี้ยงผึ้งได้ต้องไปศึกษาดูงาน และฝึกกับเกษตกรที่เคยเลี้ยงมาก่อน

อีกทั้งต้องมีสถานที่ในการเลี้ยงที่ดีพื้นที่ต้องปลอดสารเคมี เช่น ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง รวมไปถึงการเผาขยะ เนื่องจากผึ้งรับความรู้สึกไวต่อสิ่งแวดล้อมมาก


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/2FMrZOq

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2EkvsHr

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด