เปิดสูตรคิดต้นทุน “ร้านเบเกอรี่” ตั้งราคาแค่ไหน ไม่ให้เจ๊ง!

เมื่อพูดถึง “ ร้านเบเกอรี่ ” หลายคนก็จะนึกเหมารวมไปกับ “คอฟฟี่ช็อป” ที่จะมีเมนูเบเกอรี่ไว้คอยบริการ แม้แต่ในภาพรวมทางเศรษฐกิจก็ยังจัดเอาร้านเบเกอรี่ไปรวมอยู่กับ “ธุรกิจกาแฟ”

และคาดการณ์ตัวเลขแบบเหมารวมกันไป ทั้งที่ในความจริง “ร้านเบเกอรี่”ที่เป็น “เบเกอรี่” จริงๆก็ยังมี แต่ด้วยความที่ต้องการเพิ่มความหลากหลาย เมื่อมีเบเกอรี่ก็ต้องมีเครื่องดื่มที่เหมือนเป็นสินค้าคู่กัน

ทั้งนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าในส่วนของกาแฟการคิดต้นทุนอาจจะเคยรับทราบกันไปแล้ว แต่ในส่วนของ “เบเกอรี่” น้อยคนนักที่จะพูดถึงว่า “สูตรคิดต้นทุนเบเกอรี่” นั้นเป็นอย่างไร และการตั้งราคาขายต้องแค่ไหน ถึงจะเหมาะสมที่สุด

ร้านเบเกอรี่สำคัญที่ “รสชาติ”

ร้านเบเกอรี่

เคยคิดกันไหมว่าทำไม “เค้ก” เหมือนกันร้านนี้ราคาถูกกว่าร้านนี้แต่คนกลับไปซื้อ เค้กของอีกร้านที่ราคาแพงกว่า และเคยคิดกันไหมว่าทำไมเค้กตามตลาดทั่วไปราคาไม่กี่บาท แต่ทำไมหลายคนถึงยังตัดสินใจซื้อเค้กจากร้านพรีเมี่ยม

คำตอบของเรื่องนี้คือ “รสชาติ” แม้คนทุกคนจะชอบของถูก แต่เบเกอรี่อาจจะแตกต่าง ราคาของเบเกอรี่ที่ถูกอาจหมายถึงวัตถุดิบที่ใช้นั้นมีราคาถูกเมื่อรวมกันเป็นเมนู รสชาติที่ได้จึงอาจจะด้อยกว่า เบเกอรี่ที่ใช้วัตถุดิบราคาแพงมาเป็นส่วนประกอบ

20

เช่น บราวนี่บางร้านราคาแค่ชิ้นละ 15 บาท แต่พอกัดเข้าไปมีแต่ความหวานโด่เด่ แถมเนื้อบราวนี่ยังเหมือนฟู กินแล้วไม่ชวนให้กลับมาซื้อซ้ำอีก

ในขณะที่บราวนี่ของอีกร้าน ราคาชิ้นละ 25 บาท แต่หอม มัน หวาน เนื้อบราวนี่แน่น กัดแล้วแทบจะละลายในปาก แน่นอนว่าราคาอาจทำให้คิดหนักว่าจะมาซื้อซ้ำอีกหรือเปล่า แต่พอบอกว่าไม่ได้กินทุกวัน สัปดาห์ละ 2 -3 ครั้ง ถ้าต้องเลือกซื้อกินหรือเอาเป็นของฝาก คนเราก็ต้องเลือกร้านที่อร่อยกว่าอยู่แล้ว

ใช้สูตรไหนในการคิดต้นทุนเบเกอรี่?

24

โดยทั่วไป คือคำนวณจากอัตราส่วนของต้นทุน วัตถุดิบเบเกอรี่ หากสามารถลดต้นทุนได้ก็จะสามารถเพิ่มกำไรได้ โดยพื้นฐานส่วนมากแล้วมักคิดต้นทุนให้มีอัตราส่วน 30-40%

แน่นอนว่าสินค้าทุกชนิดไม่จำเป็นต้องใช้อัตราส่วนนี้ในการกำหนดราคาไปเสียทั้งหมด ในบรรดาเมนูที่ผลิตออกมา อาจมีสินค้าบางชนิดที่ใช้วัตถุดิบเบเกอรี่ที่จำเป็นเพียงแค่แป้ง ยีสต์ เนย ช็อกโกแลต น้ำและเกลือ เป็นต้น และมีสินค้าเบเกอรี่บางชนิดที่ต้องใช้ผลไม้หรือผักอื่นๆ เพิ่มเติม

หากพิจารณาเฉพาะต้นทุนแล้ว สินค้าที่มีส่วนผสมอื่น เช่น ผลไม้ก็ควรจะมีราคาที่สูงกว่า แต่โดยทั่วไปแล้วคงไม่มีใครอยากซื้อขนมทานเล่นชิ้นละ 500 บาท ดังนั้นในความเป็นจริงจึงต้องจับคู่สินค้าที่มีต้นทุนสูงและสินค้าที่มีต้นทุนต่ำมาเข้าคู่กันให้เหมาะสม

แต่ถ้ายังมองไม่เห็นภาพและไม่ชัดเจนว่าการคิดราคาจะต้องมีสูตรคิดแบบไหนอย่างไร ลองเอาสูตรนี้ไปใช้ดู
ต้นทุนต่อสูตร=(น้ำหนักที่ใช้ × ราคา)/น้ำหนักเต็ม

22

โดยในแต่ละสูตรเบเกอรี่จะมีวัตถุดิบที่แตกต่างก็พยายามคิดแยกแต่ละตัวเอาตัวเลขมารวมกันเพื่อเป็นต้นทุนเช่น

แป้งเค้ก 1 กิโลกรัม หรือ 1000กรัม ราคา 50 บาท ในสูตรใช้แป้ง 150กรัม ต้นทุนแป้งเค้กต่อสูตรนี้กี่บาท ?
ต้นทุนต่อสูตร=(150 × 50)/1000 = 7.5 บาท

น้ำตาล 1 กิโลกรัม ราคา 23 บาท ในสูตรใช้น้ำตาล 175
ต้นทุนต่อสูตร=(175 × 23)/1000 = 4.025 บาท

นม 1 กล่อง ปริมาณ 200ml ราคา 12 บาท ในสูตรใช้นม 150 ml
ต้นทุนต่อสูตร=(150 × 12)/200 = 9 บาท

ก็เอาตัวเลขอย่าง 7.5 + 4.025 + 9 มาเป็นราคาต้นทุน

ทั้งนี้ในแต่ละสูตรเบเกอรี่มีวัตถุดิบและปริมาณการใช้ที่แตกต่าง การคำนวณนี้จึงเป็นการทำแบบคร่าวๆ ให้มองเห็นภาพชัดเจน

25

ทีนี้พอทราบต้นทุนวัตถุดิบแล้ว ก็อย่าลืมเอาต้นทุนด้านอื่นๆเช่นสถานที่ อุปกรณ์ ไฟฟ้า แรงงาน การตลาด มาคำนวณรวมกันให้ดีจะได้เป็นราคาขายต่อเมนูที่เหมาะสมและไม่ขาดทุน

ซึ่งตัวเลขต้นทุนต่อเมนูเหล่านี้ก็จะผันแปรไปตามวัตถุดิบที่ใช้ ทำเลที่ตั้งร้าน งบการตลาด จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเบเกอรี่บางร้านราคาถึงแพงกว่าอีกบางร้าน

26

แต่สิ่งที่เจ้าของร้านไม่ควรลืมคือ “งานบริการ” ที่ควรสร้างความประทับใจให้ลูกค้า เพราะลูกค้าบางส่วนอาจไม่ได้ตัดสินที่รสชาติ หรือราคาเป็นหลัก แต่ตัดสินที่เจ้าของร้านหรือคนขาย หากบริการดี ยิ้มแย้ม พูดจาน่าฟัง ก็เป็นเหตุผลสำคัญที่การซื้อเบเกอรี่ครั้งต่อไปเขาจะกลับมาที่ร้านของเราอีกครั้ง ไม่เกี่ยวกับว่าถูกหรือแพง แต่เกี่ยวกับว่าลูกค้าพอใจหรือไม่พอใจมากกว่า

*** สูตรการคิดคำนวณราคาขายดังกล่าวนี้ มีตัวแปรที่ต้องเอามาคิดรวมกันอีกหลายอย่างทั้งค่าการตลาด ค่าเช่าพื้นที่ ต้นทุนผันแปรของแต่ละบุคคล ราคาเบื้องต้นจึงเป็นค่าประมาณการณ์ให้พอมองเห็นภาพและแนวทางในการคิดเบื้องต้น***

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3chDGwq


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด