เปิดสูตรคิดต้นทุน ร้านสารพัดยำ ตั้งราคาแค่ไหน ไม่ให้เจ๊ง

เดินไปตามตลาดตอนเช้าหรือตอนเย็นเราจะเห็น ร้านสารพัดยำ เปิดอยู่ทุกตลาด นี่คือสินค้าที่เรียกว่ากินได้ไม่มีเบื่อ หยิบเอาวัตถุดิบโน่น นี่ นั่น มาผสมก็อาจเป็นเมนูใหม่ให้เลือกกิน และด้วยรสชาติที่เผ็ด เปรี้ยว เป็นสำคัญ ทำให้เมนูยำเป็นอาหารจานหลักที่กินได้ทั้งกับข้าวและเป็นกับแกล้มได้ด้วย

ร้านสารพัดยำบางแห่งคนยืนมุงกันเพียบ ตักขายใส่ถุงกันแทบไม่ทันและส่วนใหญ่เราจะเห็นว่าร้านยำเหล่านี้จะขายดีขายหมดไม่มีเหลือแทบทุกครั้ง คนส่วนใหญ่ก็คิดไปว่าแบบนี้ กำไรดีแน่นอน แต่ในความจริง ร้านยำก็มีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง

ด้วยราคาวัตถุดิบที่แพงขึ้น และวัตถุดิบเหล่านี้ต้องมีการซื้อแบบวันต่อวัน เรียกว่าต้นทุนเฉลี่ยค่อนข้างสูง ไม่รวมกับเรื่องรสชาติ ฝีมือ การเตรียมของ ที่พ่อค้าแม่ค้าจะต้องมีความอดทน และมีประสบการณ์ที่ดีในธุรกิจนี้พอสมควร มือใหม่ที่อยากเอาดีในการเปิดร้านยำ www.ThaiSMEsCenter.com แนะนำว่าให้ศึกษาแนวทางการเปิดร้านให้ดีก่อน

อยากเปิดร้านสารพัดยำต้องมีอะไรบ้าง

ร้านสารพัดยำ

ภาพจาก www.facebook.com/AfterYum/

1.ทุนสำหรับวัสดุ/อุปกรณ์ ประมาณ 6,500-12,000 บาท

  • รถเข็น หรือโต๊ะ ราคาประมาณ 700 -5,000 บาท
  • ถังแก๊ส โครงเตาแก๊ส ราคาประมาณ 2,500 บาท
  • กะละมังสำหรับยำ ทัพพี ราคาประมาณ 300 บาท
  • ถ้วยใส่เครื่องปรุง ราคาประมาณ 500 บาท
  • ถาดใส่ของสด ราคาประมาณ 800-1,000 บาท
  • กระปุกใส่ของ ราคาประมาณ 500 บาท
  • ป้ายไวนิล ราคาประมาณ 300-500 บาท
  • ถุงร้อน ถุงหิ้ว ยางรัดของ ราคาประมาณ 300 บาท
  • หม้อต้มลวกของ กระชอนลวก ราคาประมาณ 500-1,000 บาท

2.ทุนสำหรับวัตถุดิบ ควรเลือกวัตถุดิบที่มีสดใหม่ทุกวัน เพื่อคงรสชาติและคุณภาพของวัตถุดิบเอาไว้ครับ ราคาประมาณ 2,000-3,500 บาท

45

ภาพจาก https://bit.ly/2XpsEwb

3.ทุนสำรอง ในส่วนนี้ควรมีสำรองไว้ครับ อาจจะค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน ค่าซ่อมแซม ค่าน้ำ ค่าไฟ เป็นต้น

เทคนิคการเปิดร้านสารพัดยำให้มีกำไรง่ายขึ้น

44

ภาพจาก https://bit.ly/2XpsEwb

1.สำรวจทำเลที่ตั้ง

ทำเลที่ตั้งเพื่อเปิดร้านขายยำนั้น ควรจะเป็นที่มีผู้คนพลุกพล่าน เขตชุมชน ตลาด ซึ่งหากไม่ได้เปิดร้านที่มีขนาดใหญ่ อาจจะเป็นเพียงตั้งโต๊ะขายที่หน้าบ้าน แต่ไม่ได้อยู่ใกล้เขตชุมชน ก็ควรสร้างจุดดึงดูดลูกค้าให้ได้

2.สำรวจกลุ่มเป้าหมาย

ลูกค้าส่วนใหญ่คือกลุ่มนักเรียน นักศึกษา วัยที่ต้องมาทานอาหารกันระหว่างพักกลางวัน แต่หากเปิดขายในช่วงเย็นๆ ก็อาจจะเจาะกลุ่มเป้าหมายตามทำเลก็ได้เช่นกัน

43

ภาพจาก www.facebook.com/AfterYum/

3.สำรวจตลาด

สำรวจว่าบริเวณใกล้เคียงมีร้านขายยำลักษณะเดียวกับเราหรือไม่ มีกี่ร้าน ห่างหรือใกล้ร้านของเรากี่กิโลเมตร เป็นต้น ข้อดีของการรู้ว่ามีคู่แข่งคือจะได้สำรวจว่าเขามีเมนูอะไรที่ขายดี ราคาเท่าไหร่ เพื่อให้เราหาเมนูที่แตกต่างและตั้งราคาให้ไม่แตกต่างกันเพื่อลูกค้าจะได้ตัดสินใจเลือกได้ง่ายขึ้น

4.สำรวจตัวเอง

ต้องสำรวจว่าเรามีความสามารถในการทำอาหารหรือไม่ หากอยากเปิดร้านขายยำ แต่ไม่มีความรู้ ไม่มีฝีมือ ก็สามารถฝึกฝนและหัดทำได้ สิ่งสำคัญคือใจรักบริการ และมีความอัธยาศัย มีมนุษยสัมพันธ์ดี

42

ภาพจาก www.facebook.com/AfterYum/

5.สำรวจต้นทุน/ราคา

โดยให้สำรวจแหล่งวัตถุดิบดีๆ มีคุณภาพ ซึ่งแหล่งดีๆ ราคาไม่สูก็มีครับ ต้องสำรวจดูหลายๆ ที่เพื่อประกอบการตัดสินใจ บางอย่างซื้อได้ถูกกว่า ดีกว่า เป็นต้น

สูตรการคิดกำไรของร้านสารพัดยำ

เนื่องจากร้านสารพัดยำเป็นร้านที่มีวัตถุดิบหลากหลายและแต่ละวันอาจมีวัตถุดิบที่แตกต่างกันตามแต่เมนู ราคาการขายก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ราคาวัตถุดิบและประเภทของเมนู ภาพรวมของการคิดกำไรสูตรเบื้องต้นคือ

กำไร(ต่อเดือน)=(ต้นทุนวัตถุดิบหลัก+ต้นทุนคงที่+ต้นทุนผันแปร)/30

41

ภาพจาก www.facebook.com/AfterYum/

ยกตัวอย่างเช่นร้านยำขนาดเล็กที่อาจมีเมนู 4-5 อย่าง เช่น ยำหมูยอ ยำขาไก่ ลาบ น้ำตก ยำรวมมิตร วัตถุดิบหลักก็คือ หมูยอ ขาไก่ หมู กุ้ง ขึ้นอยู่กับว่าจะทำปริมาณมากน้อยแค่ไหน เบ็ดเสร็จต้นทุนวัตถุดิบหลักจ่ายตลาด 1 ครั้งไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท

ซึ่งวัตถุดิหลักนี้อาจเอามาแช่แข็งเก็บไว้และทำเมนูยำได้ 2-3 วัน ส่วนต้นทุนผันแปรก็คือ อุปกรณ์ยำที่ต้องมีการซื้อใหม่แทบทุกวันเช่น ผักชี ต้นหอม หรือจะเป็นพวกน้ำยำ หรือมะนาว พริกขี้หนู ต้นทุนผันแปรนี้ยังรวมค่าน้ำค่าไฟ ค่าบริหารจัดการเข้าไปด้วย

ส่วนต้นทุนคงที่หลักๆ ก็คือค่าเช่าพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่จะคิดเป็นรายเดือน ดังนั้นการคิดกำไรจะใช้ต่อเดือนเป็นหลัก โดยรวมเอาต้นทุนทุกอย่างมาผสมรวมกันว่าแต่ละเดือนเราใช้จ่ายอะไรไปเท่าไหร่บ้าง

แล้วเอาเวลา 30 วันมาเป็นตัวหารจะทำให้ทราบได้คร่าวๆ ว่าค่าเฉลี่ยต่อการขายในแต่ละวันควรทำยอดให้ได้เท่าไหร่เพื่อจะได้ไม่ขาดทุน ซึ่งราคาเฉลี่ยต่อวันนี้ก็จะไปกำหนดราคาขายของเมนูยำ

แต่ในความเป็นจริงการตั้งราคาขายก็อาจจะอิงกับสภาพความเป็นจริงของพื้นที่เช่นราคา 30-40 บาทต่อเมนู นั่นหมายถึงเรารู้ต้นทุนของเราในแต่ละวันว่าใช้ไปเท่าไหร่เช่นวันนี้ซื้อวัตถุดิบรวมมาทั้งหมด 1,000 บาท ขาย 30-40 บาทก็ต้องขายให้ได้ 25 –35 ถุงเพื่อจะได้คืนทุน ขายมากกว่านี้คือมีกำไร

40

ภาพจาก https://bit.ly/2XpsEwb

ยังไม่รวมบางแห่งที่อาจมีการจ่ายค่าเช่าพื้นที่แบบรายวัน ต้นทุต่อวันก็จะเพิ่มขึ้นและยอดขายรวมเราก็ต้องทำเพิ่มขึ้น เมื่อเฉลี่ยมาเป็นต่อเดือนก็จะรู้กำหนดคร่าว ๆว่าควรขายสินค้าได้ปริมาณเท่าไหร่ถึงจะมีกำไรในแต่ละเดือน เพราะบางพื้นที่อาจมีค่าเช่าแบบรายเดือนไม่ใช่รายวัน

ทั้งนี้ร้านสารพัดยำบางร้านที่เปิดกิจการขนาดใหญ่มีเมนูให้เลือกมากมายและอาจมีทั้งแบบซื้อกลับบ้านหรือทานที่ร้านได้ ต้นทุนเฉลี่ยต่อวันต่อเดือนก็อาจจะสูงยิ่งขึ้นแต่รายได้ต่อวันก็จะสูงขึ้นด้วยเช่นกันยกตัวอย่าง ร้านแซ่บแสบปาก ที่มีเมนูให้ลูกค้าเลือกหลายหลายเมนู

อาทิ ยำมะม่วงกุ้งสด ยำมะม่วงกั้งสด ยำหอยนางรม ยำหอยแครง ยำปูม้า ยำมะม่วงข้าวโพด-ไข่เค็ม และ ยำรวมมิตรทะเล ราคาเริ่มต้น 40-250 บาท ร้านนี้มีกำไรเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าวันละ 1,500 บาท นั่นหมายถึงต่อเดือนมีกำไรเกินกว่า 40,000 บาท

แต่ก็เพราะเป็นร้านขนาดใหญ่ที่ทำมานาน มีฝีมือในการทำอาหารและมีบริการที่ดี คนที่สนใจเปิดร้านใหม่ๆ จะหวังให้ได้กำไรขนาดนี้คงต้องใช้เวลาในการสะสมประสบการณ์ แนะนำว่าให้เริ่มจากร้านขนาดเล็กและค่อยเติบโตไปอย่างแข็งแรงจะดีกว่า

*** สูตรการคิดคำนวณราคาดังกล่าวนี้ มีตัวแปรที่ต้องเอามาคิดรวมกันอีกหลายอย่างทั้งค่าการตลาด ค่าเช่าพื้นที่ ต้นทุนผันแปรของแต่ละบุคคล ราคาเบื้องต้นจึงเป็นค่าประมาณการณ์ให้พอมองเห็นภาพและแนวทางในการคิดเบื้องต้น***


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

line

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2HiAnd2

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด