เปิดร้านติ่มซำ ต้องทำไงบ้าง

คำว่าติ่มซำนั้นถือว่าเป็นอาหารเรียกน้ำย่อยของจีน เป็นคำที่ใช้เรียกรวมอาหารหลายอย่างที่มักเป็นอาหารจำพวกปรุงด้วยการนึ่ง ขนมจีบ, ซาลาเปา, ฮะเก๋า, เกี๊ยวซ่า เป็นต้น

ซึ่งบางร้านก็อาจมีเมนูทอดรวมอยู่ในเมนูติ่มซำด้วย ในเมืองจีนร้านติ่มซำนั้นมีแพร่หลาย ส่วนในประเทศไทยก็มีที่น่าสนใจหลายร้าน มีทั้งรูปแบบการเปิดร้านตัวเอง รวมถึงการขายในระบบ แฟรนไชส์ให้คนที่สนใจ แหล่งติ่มซำขึ้นชื่อในเมืองไทยเช่นที่จังหวัดตรัง และภูเก็ต

www.ThaiSMEsCenter.com เห็นว่าร้านติ่มซำแม้จะดูเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างใช้งบมากแต่ความต้องการของลูกค้าก็มีมากตามไปด้วย วันนี้เราลองมาดูกันว่าหากคิดจะเปิดร้านติ่มซำแล้วเราต้องทำอะไรกันบ้าง

1.เข้าใจคำว่าติ่มซำดีพอ

เปิดร้านติ่มซำ

เราจะไม่สามารถ เปิดร้านติ่มซำ ได้หากเราไม่รู้จักสินค้าอย่างติ่มซำดีพอ ติ่มซำไม่ใช่อาหารที่ใครจะมาทำก็อร่อย พื้นฐานของติ่มซำเราต้องรู้จักกับเมนูหลักอย่าง ฮะเก๋า ฝั่นโก๋ และขนมจีบ

นอกจากนี้ยังมีเมนูประกอบอีกหลายรายการตามแต่ละร้านจะดัดแปลง บางร้านมีกว่า 30 เมนู ที่สำคัญติ่มซำเป็นอาหารคำเล็กๆ ที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ในเมืองจีนคนทำติ่มซำเก่งๆ อาจต้องใช้เวลาในการฝึกนานกว่า 3 ปี เพราะการนวดแป้งในแต่ละเมนูนั้นแตกต่างกัน ซึ่งก็มีผลต่อรสชาติและความอร่อยของติ่มซำด้วย

2.รู้จักการวางระบบร้านให้บริหารจัดการง่าย

เปิดร้านติ่มซำ

ร้านติ่มซำเป็นร้านอาหารที่ต้องอาศัยความเร็วในการดูแลลูกค้า เป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะเปิดร้านลำพังเพียงคนเดียว หากดูตัวอย่างร้านค้าติ่มซำที่มีในกรุงเทพฯจะพบว่าแต่ละร้านต้องมีลูกจ้างอย่างน้อย 5-6 คน แบ่งเป็นเด็กเสิร์ฟ พ่อครัว และแคชเชียร์ โดยเฉพาะระบบหลังร้านต้องมีประสิทธิภาพมากคนที่ลงทุนในธุรกิจนี้ส่วนใหญ่จึงเลือกทำแบบแฟรนไชส์เพราะมีการเซตระบบมาให้เรียบร้อยไม่ต้องคิดเอง

3.ทำเลต้องดีจริงๆ

ร้านติ่มซำไม่ใช่ร้านอาหารทั่วไปที่จะหิวเมื่อไหร่ก็แวะมา ช่วงเวลาที่ร้านติ่มซำจะขายดีที่สุดคือตั้งแต่เช้าไปจนถึงช่วงเที่ยง ทำเลที่ดีจึงต้องอยู่ในเส้นทางที่คนเร่งรีบเช่น ระหว่างบ้านไปโรงเรียน ไปออฟฟิศ หรืออยู่ในทำเลแหล่งท่องเที่ยว ทำเลที่ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่งคือในตลาดสด หรือริมทางที่ไม่ใช่ถนนสายหลักในการสัญจรของคนทั่วไป

4.ต้องมีเงินทุนพอสมควร

เปิดร้านติ่มซำ

การลงทุนเปิดร้านติ่มซำนั้นใช้ทุนที่ค่อนข้างมากเพราะอุปกรณ์ในการเปิดร้านมีหลายอย่างตั้งแต่โต๊ะ เก้าอี้ ที่เป็นอุปกรณ์หลักก็ยังมีพวกเข่งติ่มซำ หม้อนึ่ง และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้สามารถหาซื้อตามอินเทอร์เนตหรือร้านค้าต่างๆ แต่ก็ต้องมีการซื้อในจำนวนทีละมากๆ โดยเฉพาะพวกเข่งติ่มซำทั้งหลาย

ผู้ประกอบการบางรายเลือกตัดปัญหาความยุ่งยากในการเตรียมอุปกรณ์เหล่านี้ด้วยการซื้อแฟรนไชส์ที่เพียงแค่จ่ายเงินและมีสถานที่ที่ดี ทางแฟรนไชส์ก็จะมาเซตระบบพร้อมอุปกรณ์การขายครบวงจรกพร้อมสอนวิธีบริหารจัดการ ซึ่งค่าแฟรนไชส์ในส่วนนี้ก็ตามแต่แพคเกจลงทุนส่วนใหญ่ก็จะเริ่มต้นไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท

5.มีการพัฒนาเมนูที่หลากหลาย

เปิดร้านติ่มซำ

แม้ว่าเมนูหลักๆของติ่มซำจะคือพวกฮะเก๋า ฝั่นโก๋ ขนมจีบ แต่ร้านติ่มซำที่ดีควรมีเมนูหลากหลายรวมๆแล้วต้องไม่ต่ำกว่า 20 รายการเพื่อให้ลูกค้าเลือกหยิบได้ตามใจชอบ ซึ่งบางร้านก็มีเมนูประกอบอื่นๆ เช่นเมนูข้าวต้ม ข้าวผัด เข้ามาประกอบหรือบางร้านก็เพิ่มเติมด้วยซีฟู้ด เช่นกุ้ง หอย ปลาหมึก ซึ่งการมีเมนูที่หลากหลายก็หมายถึงต้นทุนที่มากขึ้นซึ่งเราควรบริหารจัดการส่วนนี้ให้ดีเพื่อให้ธุรกิจไม่ต้องเสียต้นทุนมากเกินไปนัก

6.คุณภาพเป็นสิ่งสำคัญมาก

ร้านติ่มซำบางแห่งต้องปิดตัวอย่างรวดเร็วเหตุผลสำคัญคือลูกค้าลองแล้วไม่ติดใจ นั้นเพราะการเลือกวัตถุดิบเป็นสิ่งสำคัญต้องสดใหม่และไม่ควรเป็นของแช่แข็งนานหลายวัน ซึ่งบางร้านของขายไม่หมดก็เอาไปแช่แข็งแล้วเอามาอุ่นขายใหม่ซึ่งจะทำให้รสชาติแย่ลงกว่าเดิม บางร้านที่ขายดีจะคำนวณวัตถุดิบแบบวันต่อวันทำสดใหม่ก็ทำให้ติ่มซำรสชาติอร่อยยิ่งขึ้น

7.บรรยากาศร้านและราคาต้องสมเหตุสมผล

65236556

ติ่มซำจัดเป็นอาหารเช้าประเภทหนึ่งที่ลูกค้ามักจะเลือกทานเพราะสะดวกรวดเร็ว อิ่มอร่อย หากเป็นร้านที่เปิดในเมืองก็ควรมีที่จอดรถสำหรับลูกค้าจะช่วยเพิ่มโอกาสสร้างยอดขายมากขึ้น

ทั้งนี้ราคาของติ่มซำส่วนใหญ่จะขายเป็นเข่งเล็กๆ ราคาเฉลี่ยไม่ควรเกิน 25-30 บาทเพราะลูกค้าบางคนอาจลองกินหลายๆอย่าง ทั้งนี้อาจเพิ่มบริการสำหรับจัดส่งซึ่งดูจะเข้ากับยุคสมัยนี้ได้เป็นอย่างดีด้วย

ปัจจุบันมีร้านติ่มซำที่เปิดแล้วประสบความสำเร็จมากมาย ใครที่ต้องการ เปิดร้านติ่มซำ อาจลองไปหาข้อมูลจากร้านค้าเหล่านี้ดูวิธีบริหารจัดการ การต้อนรับลูกค้า ดูเมนูที่ควรจะมี ดูทำเลว่าเป็นอย่างไรจึงขายดี

ธุรกิจติ่มซำเป็นร้านอาหารที่ทำเงินได้ดีแต่ก็มีรายละเอียดปลีกย่อยที่ค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะพ่อครัวต้องมีฝีมือและเจ้าของร้านต้องรู้จักการบริหารจัดการที่เก่งพอตัวจึงจะทำให้ธุรกิจนี้ประสบความสำเร็จได้ตามที่ใจคิด

 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3HcpNzE


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด