เทคนิคเปิดร้านซักอบรีด (แบบไม่ต้องซื้อแฟรนไชส์)

ข้อมูลที่น่าสนใจ ของธุรกิจซักอบรีดในช่วง 10 เดือนของปี 2562 (ม.ค.-ต.ค.) มีการจัดตั้งธุรกิจร้านซักรีดรวม 148 ราย เพิ่มขึ้น 39.22% มีทุนจดทะเบียน 254.89 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 98.42% และภาพรวมมีธุรกิจร้านซักอบรีดที่ดำเนินการอยู่ 824 ราย มีรายได้รวมปี 2561 จำนวน 4,599 ล้านบาท ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตและเพิ่มจำนวนของร้านซักอบรีด

www.ThaiSMEsCenter.com เชื่ออย่างยิ่งว่าในยุคที่คนแข่งขันเร่งรีบ แม้แต่เรื่องเสื้อผ้าก็ไม่มีเวลาซักเองเหมือนในอดีตและสิ่งเหล่านี้คือโจทย์ใหญ่ที่ทำให้หลายคนอยากลงทุนในธุรกิจซักอบรีด แต่ปัญหาคือถ้าไม่มีประสบการณ์ จะสามารถเริ่มต้นลงทุนในธุรกิจนี้ได้อย่างไร ยิ่งถ้าไม่เลือกลงทุนกับแฟรนไชส์จะมีวิธีการแบบไหนอย่างไรที่จะเริ่มต้นได้ด้วยตัวเอง

งบประมาณในการลงทุนเบื้องต้น ร้านซักอบรีด

เทคนิคเปิดร้านซักอบรีด

ภาพจาก freepik.com

ต้นทุนในการเปิดร้านซักรีดจะไปอยู่ที่การเช่าร้าน ซื้อเครื่องซักผ้า ซื้อเครื่องอบผ้า และเตารีด แบ่งออกเป็นต้นทุนประจำกับต้นทุนแปรผัน ซึ่งสถานที่ (หน้าร้าน) เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า เตารีด จะจัดเป็นต้นทุนประจำ ส่วนต้นทุนผักแปร ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สำหรับซักผ้า (ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม ฯลฯ) ค่าน้ำ ค่าไฟ โดยต้นทุนเริ่มต้นสำหรับการเปิดร้านอยู่ที่ประมาณ 40,000 บาท (ไม่รวมค่าเช่าที่)

ปัจจุบันการลงทุน เปิดร้านซักอบรีด มีทั้งแบบบุคคลธรรมดา ใช้เครื่องซักผ้าแบบบ้าน และให้บริการครบวงจร หรือลงทุนแบบร้านซักผ้าหยอดเหรียญที่มีรูปแบบธุรกิจที่หลากหลาย ทั้งลงทุนแบบบุคคลธรรมดา นิติบุคคล และแฟรนไชส์ หรือร้านซักอบรีดผ่านตู้ล็อกเกอร์ ที่มีการนำระบบเทคโนโลยีมาใช้ โดยผู้ที่ต้องการซักผ้า สามารถนำผ้าไปใส่ไว้ที่ตู้ล็อกเกอร์ที่ใกล้ที่สุด และผู้ให้บริการจะนำผ้าไปซัก แล้วนำมาใส่คืนไว้ที่ตู้ โดยผู้ใช้บริการสามารถตรวจเช็กได้ว่าตู้อยู่ตรงไหนบ้าง เมื่อซักเสร็จแล้ว ก็มีระบบแจ้งเตือนให้ไปรับผ้า เป็นต้น

ขั้นตอนการเปิดร้าน ซักอบรีด (แบบไม่ซื้อแฟรนไชส์)

17

ภาพจาก freepik.com

1. การติดต่อเช่าพื้นที่

อาจจะเริ่มจากใช้พื้นที่ของตัวเองหรือจะดีกว่าก็คือไปหาพื้นที่เช่าตามประกาศ จากนั้นดัดแปลงให้เป็นห้องกระจก
สำหรับการติดต่อเช่าพื้นที่ หากติดต่อเช่าพื้นที่ของคอนโดมิเนียมจะต้องไปติดต่อที่นิติบุคคลซึ่งเป็นคนดูแลคอนโดมิเนียมอยู่ รวมถึงการเช่าพื้นที่ภายในหมู่บ้านจัดสรรด้วยเช่นกัน กรณีที่หมู่บ้านนั้นมีพื้นที่เช่าของส่วนกลางในหมู่บ้าน ส่วนมากการทำสัญญาจะอยู่ที่ 5 ปีโดยประมาณ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละแห่งด้วย มีการจ่ายล่วงหน้า 4 เดือนเป็นส่วนใหญ่ ราคาเช่ามีความหลากหลายมาก ขึ้นอยู่กับทำเป็นสำคัญ

2. ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

ข้อกังวลของคนอยากเปิดร้านซักอบรีดคือไม่รู้จะไปจดทะเบียนที่ไหน แจ้งให้ทราบพร้อมกันตรงนี้ว่าสำหรับการเปิดร้านซักรีดหากเปิดเป็นร้านค้าหรือบุคคลธรรมดาไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ เนื่องจากลักษณะของธุรกิจเป็นธุรกิจการบริการซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับล่าสุด การจะจดทะเบียนได้นั้นจะต้องเป็นนิติบุคลที่มีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป

16

ภาพจาก freepik.com

3. แต่งร้านให้ลูกค้าทราบว่าคือ “ร้านซักอบรีด”

การจัดวางของ บรรยากาศในร้าน เราต้องสื่อให้ลูกค้ารู้ได้ทันทีแม้ไม่เห็นป้ายร้านว่านี่คือ “ร้านซักอบรีด” สามารถทำได้โดยการตากผ้าหรือแขวนเสื้อผ้ารีดเรียบเรียงรายไว้ในบริเวณที่มองเห็นได้โดยง่าย รวมถึงอาจมีการจัดร้าน แต่งร้านให้ดูน่านั่ง วางของใช้ให้เป็นระเบียบสะอาดจะสื่อความหมายถึงคุณภาพในการซักเสื้อผ้าที่ดีให้ลูกค้าประทับใจด้วย

4. หาบุคลากรมาช่วยทำงาน

ร้านซักอบรีดหลายแห่งทำคนเดียวแต่บางทีถ้างานเยอะมากลูกค้ามาพร้อมๆกัน เราก็ทำไม่ทัน ลูกค้าก็จะไม่พอใจ ดังนั้นร้านซักอบรีดจึงควรมีลูกจ้างอย่างน้อย 1-2 คนไว้คอยช่วยกัน โดยสามารถจ้างได้ทั้งรายวัน หรือรายชิ้น ถ้าจ้างเป็นรายชิ้นราคาประมาณ 2-5 บาทแล้วแต่ชนิดของงาน หรืออัตราค่าจ้างรายวันก็ตามค่าแรงขั้นต่ำหรือตามแต่ตกลงกับลูกจ้างนั้นๆ

5 เทคนิคเปิดร้านซักอบรีด ลูกค้าติดใจ

14

ภาพจาก freepik.com

1. หน้าร้านทำเลที่ดี

ส่วนใหญ่จะเป็นการเช่า ทำเลเช่าที่ดีที่สุดคือใต้อาคารอพาร์ตเม้นต์หรือคอนโดฯจะดีที่สุด ซึ่งขณะนี้ราคาค่าเช่าจะตกอยู่ประมาณ 10,000-15,000 บาท ขึ้นอยู่กับทำเล

2. มีอุปกรณ์พร้อมเปิดร้าน

ร้านซักอบรีดต้องมีอุปกรณ์พร้อมในการทำธุรกิจ ที่สำคัญและจำเป็นต้องมีเช่น เครื่องซักผ้า (อย่างน้อย 2 เครื่อง) ราคาเครื่องซักผ้าโดยเฉลี่ยประมาณเครื่องละ 20,000 บาท, เตารีดไอน้ำ ควรเลือกที่มีคุณภาพเพราะต้องนำมาใช้งานเยอะมากในการทำธุรกิจ, น้ำยาซักผ้า ควรเลือกให้เหมาะสมกับชนิดของผ้า, น้ำยาปรับผ้านุ่ม, ราวแขวน, ตู้เสื้อผ้า เป็นต้น

3. บริหารจัดการรับลูกค้าให้เป็น

ร้านซักอบรีดจะมีทั้งลูกค้าขาจร และประจำ ซึ่งผู้ลงทุนต้องมีระบบการบริหารจัดการที่จะรับลูกค้าให้ประทับใจได้ทั้ง 2 ประเภท ต้องรู้ว่าลูกค้าแต่ละคนมีเสื้อผ้าชนิดไหนมา จำนวนเท่าไหร่ ต้องการให้ทำอะไรบ้าง หรือถ้าเป็นลูกค้าประจำก็ต้องรู้ว่าเขาจะมารับตอนไหน เขาชอบน้ำยาปรับผ้านุ่มกลิ่นอะไร ชอบให้รีดเสื้อผ้าแบบไหน ยิ่งรู้ใจลูกค้ามาก ก็ยิ่งทำให้ภาพลักษณ์ดียิ่งขึ้น

4. ความสะอาดคือหัวใจของธุรกิจ

ไม่ว่าจะอุปกรณ์พร้อม หน้าร้านสวยงาม บริหารจัดการดี แต่สิ่งที่ลูกค้าจะติดใจมาใช้บริการต่อหรือไม่คือ “ความสะอาด” ถ้าเสื้อผ้ายังมีคราบสกปรกติด มีคราบไม่พึงประสงค์ มีเศษทิชชู่ติดเสื้อผ้า หรือเสื้อผ้ามีรอยขาดอันเกิดจากการซัก เชื่อได้ว่าลูกค้าไม่ประทับใจ ตรงกันข้ามถ้าเราบริการดี คุณภาพดี ลูกค้าจะยิ่งบอกต่อๆให้ร้านเราดังยิ่งขึ้น

5. เข้าใจหลักการซักและรีดผ้า

การเปิดร้านซักอบรีดก็ต้องเข้าใจวิธีการซัก ซึ่งผ้าแต่ละชนิดมีการซักไม่เหมือนกัน เสื้อบางชนิดเป็นผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้ายีนส์ การซักก็จะต่างกัน การรีดก็เช่นกันต้องมีวิธีการรีดที่ถูกต้องทั้งคอเสื้อ แขนเสสื้อ จับจีบเสื้อ ระดับความร้อนของผ้าแต่ละชนิดก็ไม่เหมือนกันสิ่งเหล่านี้เจ้าของร้านต้องมีความรู้มากพอ

15

ภาพจาก freepik.com

ร้านซักอบรีดเป็นหนึ่งในธุรกิจบริการที่น่าสนใจ แต่อาชีพนี้ต้องใช้ทักษะและมีความอดทนในการทำงานสูง ลักษณะงานจะวนเวียนซ้ำๆไปมา เบื้องต้นเราต้องใจรักและอยากทำอาชีพนี้จริงๆ รวมถึงมีเทคนิคการรับมือกับลูกค้าที่หลากหลาย

บางคนอาจจะบ่นเรื่องเสื้อผ้าไม่สะอาด ซักผ้าไม่ได้ดั่งใจ บริการไม่ดี หรือปัญหาใดๆ ก็ตาม เจ้าของร้านต้องพยายามทำให้ลูกค้าประทับใจและการเถียงกับลูกค้าก็ไม่ใช่สิ่งที่ดี ในการทำธุรกิจนี้


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/2QtafxJ
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล
https://bit.ly/2HSHeqK , https://bit.ly/2v4DAaF , https://bit.ly/2w76eHZ

อ่านบทความเพิ่มเติม https://bit.ly/3didRwn

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด