อยากนำสินค้าวางขายใน Lazada ต้องทำอะไรบ้าง

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาตลาดอีคอมเมิร์ชเติบโตมาก มีปัจจัยบวกจากกระแสการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ทำให้การขายสินค้าออนไลน์เติบโตแบบฉุดไม่อยู่ มูลค่าการตลาดสูงกว่า294,000 ล้านบาท

เติบโตขึ้น 81% เมื่อเทียบกับสถานการณ์ปกติในปี 2562 โดยแพลตฟอร์มอย่าง Lazada ได้รับความนิยมสูงมาก มีจุดเด่นคือการให้บริการแบบครบวงจรตั้งแต่การรับออเดอร์ การขนส่ง และบริการชำระเงินปลายทางที่เดียวจบ

www.ThaiSMEsCenter.com มั่นใจว่าหลายคนที่อยากขายสินค้าออนไลน์ต้องการนำสินค้าเข้าร่วมแพลตฟอร์มของ Lazada เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายแต่หลายคนยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นแบบไหน ต้องทำอะไรบ้าง อย่างไรดี

นำสินค้าวางขายใน Lazada ดีอย่างไร?

ต้องทำอะไรบ้าง

ภาพจาก www.lazada.co.th

จุดเด่นที่ดึงดูดให้คนเลือก Lazada เพราะมีสินค้าให้เลือกเยอะมาก อยากซื้ออะไรถูกหรือแพงแค่ไหนก็หาได้ใน Lazada

แถมสินค้าส่วนใหญ่ใน Lazada มักราคาถูกกว่าที่อื่นบางอย่างลดกันที 80% – 90% เลยก็มี ที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือการมีระบบเก็บเงินปลายทางซึ่งแปลว่าของต้องส่งถึงมือก่อนแล้วเราค่อยจ่ายเงินให้พนักงานจัดส่งสินค้า รวมถึงการมีระบบ

Buyer Protection ซึ่งหมายถึงการคุ้มครองลูกค้า โดยเราสามารถคืนสินค้าและขอเงินคืนได้หากพบปัญหา และด้วยข้อดีหลากหลายประการนี้ทำให้ร้านค้ามีโอกาสเพิ่มรายได้มากขึ้น ยังไม่รวมเรื่องการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในรูปแบบต่างๆ ของ Lazada อีกด้วย

วิธีนำสินค้าวางขายใน Lazada

20

ภาพจาก www.lazada.co.th

  1. เข้ามาที่เว็บไซต์ www.lazada.co.th และกดคลิกตรง “ขายสินค้ากับลาซาด้า”
  2. หลังจากนั้นจะพบหน้าโปรโมทของ Lazada ไม่ว่าจะเป็น ค่าคอมมิชชั่น, สิ่งที่ผู้ขายจะได้รับ รวมถึงเหตุผลที่เราต้องมาขายสินค้าบน Lazada เมื่ออ่านเสร็จเรียบร้อยให้กดคลิก มาร่วมเป็นร้านค้าตอนนี้ หลังจากนั้นให้กรอกรายละเอียดในช่องต่างให้ครบถ้วน
  3. หลังจากนั้นจะเข้าสู่ระบบ Seller Center (ระบบหลังบ้าน) โดยผู้ขายจะล็อกอินแบบอัตโนมัติ เมื่อลงทะเบียนเป็นที่เรียบร้อย และให้คลิกที่หัวข้อ “เพิ่มสินค้า”
  4. ทำตามขั้นตอนที่แนะนำในหัวข้อให้เรียบร้อย
  5. เมื่อเรียบร้อยแล้วให้คลิกหัวข้อ “ทำการอบรม” เพื่อเรียนรู้วิธีการใช้ระบบ Seller Center จากอีเมลที่ได้รับหลังการสมัคร
  6. เมื่อทำการอบรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้คลิกเข้าที่หัวข้อ “บัญชีธนาคาร” เพื่อกรอกรายละเอียดข้อมูลธนาคาร
  7. หากผู้ขายดำเนินการตามที่ให้มาแล้ว จะมีเครื่องหมาย “ถูกต้อง” แสดงขึ้นมาเป็นที่เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อย

ขายของกับลาซาด้าเสียค่าอะไรบ้าง

19

ภาพจาก www.lazada.co.th

สำหรับค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียเมื่อขายของกับ Lazada จะเป็นการเสียหลังจากขายสินค้าได้แล้ว โดยจะคิดธรรมเนียมเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดราคาสินค้า ซึ่งจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 อย่าง ดังต่อไปนี้

18

ภาพจาก https://bit.ly/3GSC8am

1.ค่าคอมมิชชั่น

จะเหมือนเป็นค่าบริการใช้แพลตฟอร์มของ Lazada ในการขายสินค้า โดยจะเสียค่าคอมมิชชั่นเมื่อขายสินค้าได้ ซึ่งค่าคอมมิชชั่นจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสินค้าแต่ละหมวดหมู่ เช่น สินค้าที่อยู่ในหมวดหมู่เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ แล็ปท็อป หรือสินค้าเกี่ยวกับทารก จะถูกคิดค่าคอมมิชชั่น 3% ของราคาสินค้าที่ขายได้ และหากสินค้าอยู่ในหมวดหมู่แฟชั่น ความงาม สินค้าทั่วไป ฯลฯ ก็จะถูกคิดค่าคอมมิชชั่นอยู่ที่ 5% ของราคาสินค้า

2.ค่าธรรมเนียมการชำระเงิน

จะเป็นค่าธรรมเนียมที่ผู้ขายต้องเสีย เมื่อได้รับการชำระเงินค่าสินค้าจากลูกค้าผ่านช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการโอนผ่านธนาคาร การชำระเงินโดยใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต รวมถึงการชำระแบบเก็บเงินปลายทาง โดยราคาที่จะเอามาหักเปอร์เซ็นต์ค่าธรรมเนียมนั้น เป็นราคาสินค้าทั้งหมดรวมค่าจัดส่ง หลังหักโปรโมชั่นหรือคูปองส่วนลดต่างๆ ที่ลูกค้าได้รับจากกิจกรรมส่งเสริมการขายแล้ว ซึ่งจะถูกคิดค่าธรรมเนียม 2% ของราคาสินค้า โดยเก็บเปอร์เซ็นต์เท่ากันหมดไม่ว่าลูกค้าจะชำระเงินผ่านช่องทางไหนก็ตาม

17

ภาพจาก https://bit.ly/3GSC8am

3.ค่าธรรมเนียมการจัดส่งสินค้า

เป็นค่าธรรมเนียมที่ผู้ขายจะต้องเสีย เมื่อมีการจัดส่งสินค้าไปยังลูกค้าตามออเดอร์ต่างๆ โดยจะถูกคิดอัตราค่าจัดส่งตามเกณฑ์ที่ทาง Lazada กำหนด ซึ่งอัตราค่าจัดส่งจะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของสินค้าที่จัดส่ง ระยะทางหรือที่อยู่ปลายทาง หากเป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างไกล อัตราค่าจัดส่งก็จะสูงขึ้นกว่าการจัดส่งในพื้นที่ปกติเล็กน้อย นอกจากนี้ค่าจัดส่งยังขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการจัดส่งที่ผู้ขายเลือกใช้งานด้วย

คำนวณตัวเลขแบบคร่าวๆคือถ้าสินค้าของเรา (ชิ้นเล็ก) ราคา 100 บาท Lazada หักไปละประมาณ 19 บาท (ค่าคอมมิชชั่น 7% + ค่าธุรกรรม 2% + ค่าขนส่งชิ้นเล็ก 3% + ค่าภาษี 7% ) หรือ 19% เมื่อขายสินค้าได้ เหลือเงินให้ 81 บาท

สมมติต้นทุนสินค้าที่ซื้อมาขายอยู่ที่ 70 บาทผู้ขายจะได้กำไรประมาณ 81- 70 = 11 บาท หรือ 11% เป็นต้น

ซึ่งตัวเลขนี้เป็นการยกตัวอย่างคร่าวๆ เพราะตัวแปรสำคัญที่หาค่าใช้จ่ายได้ลงตัวคือ น้ำหนักสินค้า บางทีค่าส่งอาจจะแพงหรือถูกกว่าที่คำนวนก็ได้

แต่ไม่ว่าอย่างไรเราก็เชื่อว่าถ้ามีโอกาสในการขายสินค้าออนไลน์เราคงอยากเข้าร่วมกับ Lazada เพราะมีทีมงานมืออาชีพที่วางระบบการขายอย่างดี แม้จะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มเข้ามาบ้าง แต่หากรู้จักวิธีใช้เทคโนโลยีหรือหาวิธีลดต้นทุนในแบบต่างๆ การขายสินค้าใน Lazada อาจเป็นอีกช่องทางที่สร้างรายได้ให้กับเราได้มากกว่าที่คิด


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3oN5H6Y , https://bit.ly/3EKs42B , https://bit.ly/3lV3DrO

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3ecDalk

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด