หอมกรุ่น! 13 แบรนด์กาแฟไทยแห่รุมทึ้งตลาดกัมพูชา

“ กัมพูชา ” เป็นอีกหนึ่งประเทศในอาเซียน ที่กำลังพัฒนาประเทศอย่างจริงจัง และวางแผนสร้างความเจริญในอนาคต จนเศรษฐกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

หากดูตัวเลขจีดีพีของกัมพูชาปี 2560 ที่ขยายตัวถึง 6.9% ขณะที่ปี 2561 คาดการณ์ว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะขยับเพิ่มขึ้นถึง 7.1% จึงเป็นแรงดึงดูดให้นักลงทุนจากต่างประเทศ พาเหรดเข้าไปทำการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดกาแฟ ต้องยอมรับว่าเป็นตลาดที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกๆ ปี โดยเฉพาะคนชนชั้นระดับกลางและมีอายุน้อยกวา 35 ปี หันมานิยมบริโภคกาแฟมากขึ้น

จึงไม่แปลกที่ทำให้แบรนด์กาแฟจากต่างประเทศ พาเหรดขยายตลาดเข้าไปเปิดกิจการในกัมพูชาเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญรัฐบาลกัมพูชายังให้การสนับสนุนการลงทุนในธุรกิจกาแฟ มีการจัดงาน Cafe Cambodia and Franchise & Licensing Cambodia 2017 เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้า ที่ต้องการจะเป็นเจ้าของธุรกิจร้านกาแฟในกัมพูชา

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะเล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันร้านกาแฟดังๆ ในกัมพูชา แบรนด์ไทยยังครองอันดับที่ 1 ในตลาด ที่สำคัญมีกาแฟแบรนด์ไทยหลายๆ ยี่ห้อ ได้พาเหรดเข้าไปชิงส่วนแบ่งในตลาดกัมพูชาอย่างบ้าคลั่ง

เปิดร้านกาแฟ เทรนด์คนรุ่นใหม่ในกัมพูชา

กัมพูชา

ภาพจาก goo.gl/62f3ND

ธุรกิจร้านกาแฟกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในกัมพูชา ถือเป็นอีกเทรนด์ใหม่ของนักธุรกิจรุ่นใหม่ในกัมพูชา คือ ต้องการมีกิจการร้านกาแฟเป็นของตนเอง โดยเฉพาะการเป็นเจ้าของเฟรนไชน์กาแฟแบรนด์ดังๆ จากต่างชาติ จึงทำให้มีนักธุรกิจหลายราย ลงทุนซื้อเฟรนไชน์ร้านกาแฟแบรนด์ดัง ที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศเข้ามาเปิดสาขาในกัมพูชา

หรือบางรายไม่ซื้อเฟรนไชน์ แต่สร้างแบรนด์ใหม่ของตัวเองขึ้นมา ทำให้ปัจจุบันธุรกิจร้านกาแฟในกัมพูชาเติบโต และขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนอาจกล่าวได้ว่ามีปริมาณร้านกาแฟเปิดใหม่ เกินกว่าจำนวนผู้ต้องการบริโภคก็ว่าได้ ปัจจุบันมีร้านกาแฟเปิดให้บริการกว่า 300 ร้านในกรุงพนมเปญ และประมาณ 500 ร้านทั่วประเทศ

jj3

ภาพจาก goo.gl/62f3ND

สำหรับแบรนด์กาแฟของไทย ยังคงเป็นที่นิยมในตลาดกัมพูชา ไม่แพ้แบรนด์อื่นๆ จากฝั่งยุโรปและอเมริกา ปัจจุบันมีแบรนด์ของไทยขยายตลาดเข้ามาในกัมพูชาแล้วกว่า 11 แบรนด์ อาทิเช่น Amazon, แบล็คแคนยอน, Coffee Today, True Coffee, Inthanin, Arabitia, ชาพะยอม, ชาตรามือ, ชอบชา, ดอยช้าง, ดอยหล่อ, ดอยตุง และ ชาวดอย เป็นต้น

jj4

โดยร้านกาแฟแบรนด์ไทย มีสัดส่วนการครองส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุดเป็นอันดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 45 จากจำนวนร้านกาแฟทั้งหมดในกัมพูชา ประกอบไปด้วย

  1. Amazon ยังคงเป็นที่นิยมและสามารถขยายสาขาได้มากที่สุดถึง 104 สาขา ภายในเวลา 5 ปี และมีแผนจะขยายเพิ่มอีก 20 สาขาภายในปี พ.ศ. 2562
  2. Coffee Today ขยายสาขาได้ 45 สาขา ภายในเวลา 4 ปี และมีแผนจะขยายเพิ่มอีก 15 สาขา
  3. ชาพะยอม ขยายสาขาได้ 20 สาขา เข้าตลาดกัมพูชาเมื่อปี พ.ศ.2560
  4. Arabitia ขยายสาขาได้ 15 สาขา เข้าตลาดกัมพูชาในปี พ.ศ.2560
  5. ดอยหล่อ ขยายสาขาได้ 5 สาขา เข้าตลาดกัมพูชาในปี พ.ศ.2559
  6. ชาวดอย ขายสาขาได้ 5 สาขา เข้าตลาดกัมพูชาในปี พ.ศ.2560
  7. ดอยช้าง ขยายสาขาได้ 3 สาขา เข้าตลาดกัมพูชาในปี พ.ศ.2560
  8. อินทนิล ขยายสาขาได้ 2 สาขา เข้าตลาดกัมพูชาในปี พ.ศ.2561 และเตรียมขยายสาขาเพิ่มอีก 3 สาขาในสิ้นปี
  9. True Coffee จากขยายสาขาได้ 4 สาขา ปัจจุบันเหลือแค่ 1 สาขาเท่านั้น

ขณะแบรนด์กาแฟไทยอื่นๆ ยังไม่ทราบจำนวนสาขาที่แน่ชัด โดยในแต่ละแบรนด์กาแฟไทย มีกลยุทธ์การทำตลาดแตกต่างกันออกไป ทั้งในรูปของการขายเฟรนไชน์เต็มรูปแบบ เจ้าของแบรนด์เข้ามาบริหารจัดการเอง หรือขายวัตถุดิบ เป็นต้น

สำหรับร้านกาแฟแบรนด์กัมพูชา Park Café หนึ่งในแบรนด์อาหารและเครื่องดื่มที่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในกัมพูชา เปิดสาขาให้บริการมากถึง 15 สาขา ขณะที่ Brown Coffee ได้ขยายสาขาเพิ่มอีก 4 สาขา รวมเป็น 19 สาขาในปีนี้

แบรนด์ต่างชาติ ใครไม่เจ๋ง ก็เจ๊ง

jj5

ภาพจาก www.facebook.com/CostaCoffeeCambodia

สำหรับแบรนด์กาแฟนำเข้ามาจากอังกฤษ Costa Coffee เริ่มเข้ามาเมื่อปี 2012 และขยายเป็น 7 สาขาในปีที่ผ่านมา แต่สุดท้ายเนื่องจากทำการตลาดไม่ดี จึงตัดสินใจลดจำนวนสาขาลงเหลือ 3 สาขาในปีนี้

เช่นเดียวกับ True Coffee แบรนด์กาแฟจากไทย ซึ่งเหลือเพียง 1 สาขาที่ยังเปิดให้บริการ จาก 4 สาขาในปีที่ผ่านมา สำหรับแบรนด์สัญชาติอเมริกัน Starbucks เข้ามาสู่ตลาดกัมพูชาได้ 2 ปีกว่า ขยายสาขาไปแล้ว 12 สาขาทั่วกรุงพนมเปญ

Amazon และ Starbucks พาเหรดเข้าวิน

jj6

ภาพจาก goo.gl/TE5Kwi

สำหรับแบรนด์กาแฟต่างชาติ อย่าง Amazon ของไทย และ Starbucks อเมริกา ถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เนื่องจากมีการช่วยเหลือสนับสนุนทางด้านการตลาด รวมทั้งการทำโปรโมชั่นในด้านต่างๆ จากบริษัทแม่ผู้เป็นเจ้าของแฟรนไชส์อยู่ตลอดเวลา

jj7

ภาพจาก goo.gl/TE5Kwi

ในทางตรงข้ามมีหลายๆ แบรนด์ที่มีชื่อเสียง ขายแฟรนไชส์แล้ว บริษัทแม่เจ้าของแบรนด์ไม่เข้ามาช่วยเหลือดูแล และให้การสนับสนุนในด้านการตลาด และการทำโปรโมชั่นต่างๆ โดยปล่อยให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ท้องถิ่นดำเนินการเอง จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แฟรนไชส์กาแฟดังๆ หลายๆ แบรนด์ ไม่ประสบความสำเร็จและต้องปิดกิจการลงในที่สุด

jj8

jj9

jj10

 

ภาพจาก www.facebook.com/starbuckskh

เราจะเห็นได้ว่า ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจร้านกาแฟได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในตลาดกัมพูชา ทำให้มีผู้ต้องการเข้ามามีส่วนแบ่งในตลาดนี้มากขึ้น โดยเฉพาะบริษัทเจ้าของแบรนด์กาแฟจากเมืองไทย ส่งผลให้การแข่งขันในตลาดรุนแรงมากขึ้นด้วย แบรนด์ที่มีการปรับตัวและมีกลยุทธ์ทางการตลาดที่ดี จะสามารถรักษาฐานลูกค้าและอยู่ครองตลาดต่อไปได้

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เริ่มต้นธุรกิจ goo.gl/eqiGGR

อ้างอิงข้อมูลจาก goo.gl/oJrQMS 

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช