สินค้าที่คน “เลิกฮิต” ทำยังไงให้ขายดี?

โจทย์หลักของการค้าขายคือต้องหาสินค้าที่ลูกค้าต้องการ ดังนั้นพวกสินค้าตามกระแสหรือสินค้าที่คนฮิต จึงเป็นสิ่งที่นิยม แต่ปัญหาก็คือกระแสความนิยมเหล่านั้นมันมี “ช่วงเวลา” สินค้าบางอย่างจากที่เคยฮิตก็กลายเป็นไม่ฮิต พ่อค้าแม่ค้าที่ลงทุนซื้อมาขายบางทีถึงกับต้องยอมขายแบบขาดทุนเพื่อให้มีเงินทุนกลับคืนมาได้บ้าง วิธีแก้ปัญหาที่คนส่วนใหญ่คิดคืออย่าไปลงทุนกับสินค้าตามกระแสมาก

แต่ www.ThaiSMEsCenter.com มองในอีกมุมหนึ่งว่าคำว่า “เลิกฮิต” ไม่ได้หมายถึง “เลิกซื้อ” เพียงแต่ความต้องการมันน้อยลงมาก ข้อดีของสินค้าตามกระแสเหล่านี้คือส่วนใหญ่มักมีจุดเด่นและเสน่ห์ในตัวเอง และมีกลุ่มลูกค้าตัวเองอยู่บ้างถึงแม้จะไม่มากก็ตาม ซึ่งหากมีวิธีบริหารจัดการที่ดีจริง สินค้าเหล่านี้ยังสามารถขายดีได้และในช่วงใดที่กระแสกลับมาแรงก็จะยิ่งขายดีมากขึ้นด้วย

กลยุทธ์เปลี่ยนสินค้า “เลิกฮิต” ให้ขายดี

1.แตกไลน์สินค้าให้หลากหลายขึ้น

เลิกฮิต

ในบางครั้งเมนูที่เลิกฮิตอาจเป็นพวกเมนูอาหาร ที่ครั้งหนึ่งเคยฮิตขนาดที่คนต่อแถวยาวเหยียดเพื่อให้ได้ซื้อได้กิน แต่พอเวลาผ่านคนเลิกฮิตและไปสนใจอาหารแบบอื่น วิธีที่ดีที่สุดคือแตกไลน์สินค้าให้มีมากขึ้น เช่น เพิ่มรสชาติใหม่ๆ , พัฒนาหน้าตาเมนูให้ดูน่ากินมากขึ้น แน่นอนว่าการเพิ่มสินค้าหรืออัพเกรดสินค้าให้ดีกว่าเดิมอาจทำให้เรามีต้นทุนเพิ่มขึ้น แต่ก็เป็นการสร้างสีสันให้ไม่จำเจและจะดึงดูดลูกค้าได้มากขึ้นด้วย

2.ถอดแบบความสำเร็จของแบรนด์ที่ขายดีตลอดกาล

เลิกฮิต

ถ้าเราไม่รู้ว่าจะทำให้สินค้าขายดีได้ต่อเนื่องแบบความต้องการไม่มีสะดุดลองไปศึกษาจากแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในเรื่องนี้อย่าง แมคโดนัล , KFC หรือแม้แต่ 7-Eleven ก็เป็นกรณีศึกษาได้เช่นกัน สิ่งที่เหมือนกันของแบรนด์เหล่านี้คือการพัฒนาสินค้าให้ตรงตามความต้องการแต่ละยุคสมัย ถ้าเรามีสินค้าใดสินค้าหนึ่งและอยากให้ขายดีแบบไม่ต้องพึ่งกระแสก็ต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้าในช่วงเวลานั้นและพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ได้มากที่สุด

3.สร้าง Brand Loyalty

เลิกฮิต

ทำไมคนถึงเลิกฮิต? ทำไมคนถึงเลิกซื้อ? ทำไมคนถึงไปซื้อสินค้าแบรนด์อื่น? เพราะสิ่งที่เรายังไม่มีก็คือ “ความภักดีในตราสินค้า หรือเรียกว่า Brand Loyalty สิ่งนี้มีอิทธิพลต่อการขายมาก ความภักดีต่อแบรนด์ คือการที่ลูกค้ายังคงซื้อจากแบรนด์เดียวกันซ้ำแล้วซ้ำอีก แม้ว่าคู่แข่งจะนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คล้ายคลึงกันก็ตาม ลูกค้าไม่เพียงแต่มีส่วนร่วมและซื้อจากแบรนด์เดียวกันเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงความรู้สึกเชิงบวกกับแบรนด์นั้นด้วย

4.เพิ่มช่องทางการขายให้แพร่หลายมากขึ้น

เมื่อคนซื้อเริ่มน้อยสิ่งที่เราต้องทำคือเพิ่มช่องทางการขายเพื่อให้เข้าถึงลูกค้า และเป็นโชคดีของยุคนี้ที่สื่อโซเชี่ยลเป็นช่องทางในการเข้าถึงที่ง่ายและได้ผลมากที่สุดและไม่ต้องลงทุนมาก ไม่ว่าจะเป็น Facebook , Instagram , Youtube , Twitter , Line เป็นต้น การรู้จักใช้สื่อเหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มโอกาสในการขายได้มาก ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การขายของเราเป็นสำคัญด้วย

5.เพิ่ม Story ของสินค้าให้ดูน่าสนใจ

เลิกฮิต

สินค้าที่ฮิตและคนเคยสนใจมาก ข้อดีของสินค้าเหล่านี้คือมีจุดเด่นในตัวเอง แต่พอเวลาผ่านไปอาจมีสินค้าใหม่ที่น่าสนใจกว่าเข้ามาแทนหรือคนเริ่มเบื่อหน่าย สิ่งที่เราต้องทำคือการสร้างเสน่ห์ให้คนจดจำหรือทำให้สินค้าดูมี Story อันจะเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าได้มาก

เช่น การทำข้าวกล่องเบนโตะ ก็อาจจะใส่ความเป็นมาถ่ายทอดให้คนได้รู้ว่าข้าวกล่องนี้ประกอบด้วยอะไร ใช้วัตถุดิบดีแค่ไหน และแตกต่างจากข้าวกล่องทั่วไปอย่างไร เมื่อความรับรู้ของคนเราได้มองเห็นในสิ่งที่แตกต่าง รู้ว่ามีบางอย่างที่น่าสนใจไม่เหมือนสินค้าอื่นก็จะทำให้ตัดสินใจเลือกซื้อได้มากขึ้น เป็นต้น

แต่อย่างไรก็ดีกลยุทธ์การขายก็ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ยิ่งในยุคนี้ปัญหาสำคัญที่ทุกคนเจอคือค่าครองชีพที่แพงแสนสาหัสการจะจับจ่ายสินค้าใดๆ ต้องคิดหน้าคิดหลังให้ดี ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าเองก็ต้องเข้าใจความรู้สึกตรงนี้และต้องพัฒนาสินค้าตัวเองให้ราคาไม่แพงเกินไปและมีคุณภาพที่ดีสมกับราคา

และต้องไม่ลืมเรื่องการบริการที่ดี การสร้างความประทับใจให้ลูกค้า อย่าลืมว่าเราอยู่ในยุคโซเชี่ยลที่บางครั้งการสร้างจุดเด่นในการขายอาจทำให้ร้านค้าเรากลายเป็นไวรัลดังในชั่วข้ามคืนซึ่งจะมีผลต่อการเพิ่มยอดขายได้มาก 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3I31VQM


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด