สร้างรายได้ 3 ทาง VS สร้างรายได้ทางเดียว แบบไหนดีสุดในยุคนี้

จากกระแสดราม่าในสัปดาห์ที่ผ่านมากรณีที่มีการโพสต์แสดงความเห็นว่า “ถึงยุคที่เราต้องหารายได้ 3 ทาง” และบอกว่า “ชีวิตนี้เกิดมาเพื่อหาเงิน” ซึ่งก็มีการแสดงความคิดเห็นทั้งในเชิงเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยจำนวนมาก หลายคนบอกว่าทุกวันนี้ก็ทำงานมากกว่า 1 อย่างอยู่แล้ว

แต่รายได้ก็ยังไม่พอจะใช้ หรือบางคนก็บอกว่าถ้าให้ทำงานหลายอย่าง ลำพังแค่งานประจำอย่างเดียวก็ไม่มีเวลาไปทำอย่างอื่นแล้ว ไหนจะเรื่อง work-life balance ที่อาจจะได้ไม่คุ้มเสีย หรือบางคนที่มีความเห็นในอีกแง่มุมว่าแทนที่จะให้คนขยันมากขึ้นที่ดูยังไงก็ไม่พอกับค่าครองชีพทำไมไม่พูดถึงเรื่องรัฐสวัสดิการ ที่ควรดูแลประชาชนมากกว่านี้ เป็นต้น

www.ThaiSMEsCenter.com เข้าใจทุกความเห็นและเชื่อว่าปัญหาสำคัญของเรื่องนี้คือ “การสร้างคุณภาพชีวิต” ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนต้องการ และทุกชีวิตต่างก็ต้องการ “ความสุข” แต่ทั้งนี้คำว่าความสุขของแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน วิธีการที่จะเข้าถึงความสุขที่แท้จริงของแต่ละคนก็ย่อมต่างกันด้วย จึงเป็นเรื่องน่าสนใจว่ายุคนี้แท้ที่จริงการสร้างรายได้หลายทางกับ สร้างรายได้ทางเดียว แบบไหนจะดีที่สุด

สร้างรายได้ 3 ทาง มีโอกาสรวยแค่ไหน?

สร้างรายได้ทางเดียว

ถ้าพูดในแง่ของรายได้ การมีช่องทางสร้างรายได้มากขึ้นโอกาสได้เงินเพิ่มขึ้นก็มีมาก แต่การทำงานมากๆ ก็ไม่ได้การันตีว่าจะรวยกว่าคนที่ทำงานน้อย เนื่องด้วยปัจจัยรอบด้านของแต่ละคนไม่เท่ากัน ทั้งค่าใช้จ่ายประจำวัน หรือค่าตอบแทนที่ได้รับในแต่ละงาน

เช่น เราทำงานประจำเงินเดือน 15,000 ทำงานตั้งแต่ 8.30 – 17.30 หลังเลิกงานทำพาร์ทไทน์หรือขายของเป็นอาชีพเสริมอาจมีรายได้เพิ่มประมาณเดือนละ 3,000 – 5,000 นอกจากนี้เราอาจมีการขายของออนไลน์เพิ่มมีรายได้อีกไม่น้อยกว่าเดือนละ 1,000 – 3,000 เป็นต้น ดูเหมือนว่ารายได้รวมในแต่ละเดือนจะเกือบ 30,000 เป็นอย่างน้อย

แต่ทั้งหมดนี้ก็ต้องแลกมาด้วยการพักผ่อนที่น้อยลง การลงทุนในแต่ละธุรกิจที่ทำก็ต้องนำมารวมเป็นในค่าใช้จ่ายด้วย สำคัญคือการบริหารจัดการเงินที่ได้มาว่าจะจัดสรรปันส่วนอย่างไร อันไหนเก็บ อันไหนเอาไว้ใช้ยามเจ็บป่วย อันไหนเอาไว้ลงทุน หรือตัวแปรที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ “การจ่ายหนี้” บางคนมีภาระต้องผ่อนค่าบ้าน ค่ารถ ค่าบัตรเครดิต ค่าเทอม และจิปาถะต่างๆ

รายจ่ายต่อเดือนอาจสูงเกินกว่า 30,000 บาท นั่นหมายความว่าต่อให้ทำงานหลายอย่างก็อาจจะแค่พอให้มีเงินหมุนเวียนใช้ แต่ไม่มีเหลือเก็บ คำถามที่ว่ายิ่งทำงานมากจะมีโอกาสรวยมาก จึงไม่ใช่บัญญัติไตรยางส์ที่จะเป็นคำตอบตายตัว แต่อย่างน้อยการทำงานมากก็มีข้อดีคือมีเงินหมุนเวียนใช้มาก อาจจะดีกว่าการทำงานอย่างเดียวที่คงไม่มีเงินหมุนเวียนพอใช้ แต่หากรายจ่ายน้อย แต่ทำงานมากมีรายได้มาก โอกาสมีเงินเหลือเก็บก็เป็นไปได้มากเช่นกัน

สร้างรายได้ทางเดียว มีโอกาสรวยแค่ไหน?

ในสถานการณ์ปัจจุบันการสร้างรายได้ทางเดียวดูจะไม่เพียงพอกับค่าครองชีพที่เพิ่มมากขึ้น อันที่จริงแนวคิดเรื่องการสร้างรายได้เพิ่มก็มีมานาน ในอินเทอร์เนตเองก็มีคนสนใจค้นหาคำว่า “การสร้างรายได้เสริม” กันจำนวนมากรวมถึงมีแนวคิดและกูรูแนะนำวิธีการหาเงินเพิ่มในรูปแบบต่างๆ กันเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ข้อดีของการหารายได้ทางเดียวคือเรามีเวลาให้ตัวเองมากขึ้น work-life balance ถือว่าสมดุล

แต่คำถามคือเราจะเลือก work-life balance ที่ตัวเองพอใจ หรือเราจะเลือกสุขใจ เพราะ “มีเงินหนุนหลัง” ทางเลือกของคนที่ทำงานประจำและไม่คิดทำงานอื่นเพิ่ม ส่วนใหญ่จะใช้วิธีสร้างรายได้แบบ “เงินต่อเงิน” โดยใช้เงินลงทุนในสินทรัพย์ หรือหุ้น หรือกองทุนรวมต่างๆ แต่ก็ใช่ว่าทุกคนที่ทำงานประจำจะทำแบบนี้ได้ ก็ขึ้นอยู่กับเงินเดือนประจำของแต่ละคน เพราะถ้าฐานเงินเดือนแค่ 15,000 -20,000 โอกาสแบ่งเงินมาลงทุนเป็นไปได้ยาก ยิ่งมีภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ร่วมด้วย แนวคิดการลงทุนก็เป็นได้แค่ทฤษฏีเท่านั้น แต่คนที่ทำได้ก็มีซึ่งอัตราตอแทนจากการลงทุนเหล่านี้สะสมให้มีเงินหมุนเวียนในระยะยาว

บางคนสะสมเป็นเงินไว้สำหรับตอนเกษียณเรียกว่าเป็นการวางแผนการเงินในระยะยาว ดังนั้นคำถามว่าทำงานสร้างรายได้ทางเดียวจะรวยได้ไหม คำตอบก็คือได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับตัวแปรของแต่ละบุคคล เป็นสำคัญด้วย

ต้องสร้างรายได้แบบไหน ถึงจะรวยในยุคนี้?

ในเมื่อสร้างรายได้หลายทางก็ไม่ใช่ทางเลือกที่ดี หรือการมีรายได้ทางเดียวก็ดูจะไม่พอ คำถามคือยุคนี้เราควรสร้างรายได้แบบไหนถึงจะเอาตัวรอดได้ คำตอบก็คือ “สร้างรายได้ให้เหมาะสมกับตัวเอง” ดังนั้นเราต้องพิจารณาตัวเองเป็นหลักว่าเรามีค่าใช้จ่ายต่อเดือนเท่าไหร่ เรามีรายได้เท่าไหร่

หักลบกลบหนี้ในแต่ละเดือนเรามีเหลือหรือขาดเงินที่ควรต้องมีใช้อีกเท่าไหร่ นำตัวเลขเหล่านั้นมาวิเคราะห์ ถ้าไม่พอก็ต้องหาเพิ่ม ถ้าเหลือก็ต้องคิดต่อว่าจะนำไปบริหารจัดการอย่างไร ในกรณีที่เงินไม่พอใช้ ก็ต้องมาคิดว่าควรจะหาเพิ่มด้วยวิธีไหนให้เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด

คำว่าหาเงินเพิ่มของแต่ละคนไม่มีวิธีการที่ชัดเจนและไม่มีกฎตายตัวว่าต้องแบบนั้นแบบนี้ บางคนอาจใช้วิธีขายของออนไลน์ บางคนอาจเป็นพ่อค้าแม่ค้าวันหยุดเสาร์อาทิตย์ บางคนอาจเปลี่ยนหน้าบ้านให้เป็นร้านค้าสร้างรายได้ หรือบางคนอาจลงทุนในกองทุนหุ้น กองทุนรวม หรือการปล่อยเงินกู้ต่างๆ

ดังนั้นรูปแบบการหาเงินต้องดูที่ความพร้อม และเหมาะสมกับตัวเองเป็นสำคัญ ก็จะทำให้เรามีเงินหมุนเวียนใช้ได้ work-life balance ที่ดีร่วมด้วย การมาถกเถียงว่าต้องสร้างรายได้กี่ทางถึงจะเหมาะสมจึงไม่ใช่ประเด็น และการจะรอให้ใครมาช่วย รอให้มีสวัสดิการดีๆ ก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ

มีคำพูดหนึ่งที่น่าสนใจและคิดว่าใช้ได้ทุกยุคสมัยคือ “ลงทุนผิดที่กี่ปีก็ไม่รวย” คนที่จะมีเงินใช้คือคนที่รู้จักวิธีหาเงิน หาวิธีสร้างรายได้ที่เหมาะสม การสร้างรายได้กี่ทางจึงไม่น่าสนใจเท่ากับว่าเรามีวิธีสร้างรายได้แบบไหนให้เหมาะสมกับยุคสมัยนี้

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3iAvVJL

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3XA7uuS


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด