ร้านโชห่วย ปรับตัวอย่างไรให้รอด! (กระทู้จากพันทิป)

การเข้ามาของร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven และอื่นๆ ตามหมู่บ้าน และชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ ได้ส่งผลกระทบต่อร้านขายของชำ หรือ “โชห่วย” ผู้ประกอบการที่ไม่สามารถปรับตัวให้ทันยุคทันสมัย มักจะล้มหายตายจากไปเรื่อยๆ เนื่องจากสินค้าและบริการไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภค การบริหารจัดการร้านค้าไม่เป็น จึงทำให้ร้านโชห่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถต่อกรกับร้านสะดวกซื้อได้

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับร้านโชห่วย จึงเป็นที่มาของการตั้งกระทู้ขึ้นในเว็บไซต์พันทิป “ ร้านโชห่วย (ร้านขายของชำ) ในยุคนี้ทำยังไงถึงจะไปรอดคะ? ” วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจ้าของร้านโชห่วยรายหนึ่งมานำเสนอให้ผู้ประกอบการร้านโชห่วยที่กำลังได้รับผลกระทบจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ได้ทราบ ว่าจะต้องปรับตัวอย่างไรให้รอด!

ร้านโชห่วย

ภาพจาก bit.ly/2UFI14L

หลายคนมองว่าเมื่อร้านสะดวกซื้อเข้ามาถึงหมู่บ้าน ร้านโชห่วยจะอยู่ลำบาก หลายร้านสู้ไม่ไหวต้องยอมปิดกิจการ แต่ไม่ใช่ทุกร้านอย่างแน่นอน หากผู้ประกอบการสามารถปรับตัวให้ทันยุคทันสมัย เริ่มตั้งแต่การปรับเปลี่ยนบรรยากาศร้านค้าให้ดึงดูดลูกค้า สะอาด มีไฟส่องสว่าง ไม่มีกลิ่นอับ การจัดวางสินค้าให้ดึงดูด และหาของที่ไม่มีขายใน 7-Eleven มาขาย

ขณะเดียวกัน อาจจะต้องปรับเปลี่ยน Location ปลูกต้นไม้มงคล เพื่อคลายความร้อนเพิ่มความเป็นสิริมงคล ซึ่งการปลูกต้นไม้ต้องปลูกระหว่างทางเดิน (หากร้านใครมีร้านที่ไม่ติดถนน) เพื่อสร้างร่มเงาและดึงดูดให้คนเข้าร้านค้า

17

ภาพจาก bit.ly/36PJ4od

ต่อมาปรับในเรื่องชั้นขายของให้แข็งแรง สามารถวางสินค้าได้จำนวนมาก ชั้นวางของต้องแข็งแรง จากนั้นต้องหาสินค้าเข้ามาเพิ่ม หลากหลาย ตอบโจทย์คนในชุมชน เลือกเฉพาะสินค้าใหม่ๆ มาขาย รวมถึงต้องเช็คสินค้าตลอดเพื่อไม่ให้หมดอายุ

สำหรับผู้ประกอบการที่มองว่าร้านสะดวกซื้อต่างๆ เป็นคู่แข่งนั้น ต้องปรับเปลี่ยนใหม่ด้วยการมองว่าเป็นตัวอย่างในการปรับปรุงร้านค้าให้ถูกใจและดึงดูดลูกค้า ผู้ประกอบการจะต้องเดินเข้าไปสำรวจในร้านเหล่านั้นว่าขายอะไร ไม่ขายอะไร เพื่อจะได้มองเห็นช่องว่าง และโอกาสในการขายของ เช่น ร้านสะดวกซื้อไม่ได้ขายแก๊ส ไม่ขายเตาถ่าน ไม่ขายถ่าน หรือไม้กวาด

16

ภาพจาก bit.ly/38Xhvfm

ร้านสะดวกซื้อจะขายเฉพาะสินค้าที่ขายดีเท่านั้น หรือสินค้าสมัยใหม่ สะดวกกิน สะดวกใช้ แต่ผู้ประกอบการจะต้องทำให้ร้านโชห่วยเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชุมชน หาสินค้าที่เข้ากับชีวิตชุมชนมาขายเสริม เช่น ขนมใบไม้ ขนมผิง ขนมโก๋ และของกินอื่นๆ รวมถึงของสดต่างๆ ทั้งปลา หมู ผัก ก็ติดต่อมาขาย ตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่มรวมถึงเด็กๆ ขายไม่แพง

นอกจากนั้น ผู้ประกอบการอาจจะต้องมีโต๊ะสำหรับขายล็อตเตอรี่ รับจ่ายบิลต่างๆ เติมเงินโทรศัพท์ รับซื้อรางวัลเลขท้าย หรือเพิ่มอีกโซนในร้านให้เป็นร้านขายยา เพราะหากจะแข่งขันกับร้านสะดวกซื้อจริงๆ ต้องมีจุดขายมากกว่านี้

โดยเฉพาะการเข้าร่วมกับโครงการต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นโครงการร้านติดดาว หรือติดต่อหาโค้กเพิ่มตู้แช่ โต๊ะนั่ง รวมถึงการส่งร้านโชห่วยสมัครเข้าโครงการของแม็คโคร เพื่อขอรับเงินทุนมาพัฒนากิจการของร้านให้ดีขึ้นต่อไปอีก เป็นต้น

15

ภาพจาก bit.ly/3kJuIed

ผู้ประกอบการอาจต้องนำร้านเข้าโครงการร้านธงฟ้าประชารัฐ นำเครื่องรับบัตรมาติดตั้งตั้งในร้าน แล้วช่วยเขียนเอกสารสมัครโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้ชาวบ้านที่ทำไม่เป็น ไม่ต้องคิดเรื่องผลประโยชน์ ให้คิดแค่ว่าช่วยชาวบ้าน

โดยเฉพาะคนเฒ่าคนแก่ พอรัฐบาลออกโครงการเครื่องรูดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (EDC) จะได้นำเครื่องมาตั้ง เพื่อให้ชาวบ้านได้ใช้บริการในร้านได้สะดวก รวมถึงการพัฒนาร้านค้าให้ไปสู่ร้านค้าโดยไม่ใช้เงินสด รวมถึงการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาปรับใช้ในร้าน

14

ภาพจาก bit.ly/32VEIuG

ผู้ประกอบการร้านโชห่วยที่กำลังได้รับผลกระทบจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ จะต้องกล้าที่จะปรับเปลี่ยน และเชื่อมั่นว่าตัวเองต้องทำได้ ถ้าเรามองเห็นแต่ปัญหาแล้วไม่พัฒนาก็จะไม่มีทางสำเร็จ

แต่ถ้าเห็นปัญหาและลองทำดูก่อน จะรู้ว่ามีทางเดินสำหรับเรา สำรวจตลาดและขายสินค้าที่ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ไม่ได้ขาย สินค้าและบริการต้องตอบโจทย์ผู้บริโภคในชุมชน ที่สำคัญอย่าปิดกั้นตัวเองในการเข้าร่วมกับโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์กับทางหน่วยงานภาครัฐในการพัฒนาร้านค้า


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/36Tkinb

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช