ร้านชาราคาเดียว ร้านนมหมีปั่น ร้านโกโก้ ยังปังอยู่มั้ย?

ถ้าถามว่าในปี 2566 จะเลือกค้าขายอะไรดี? หลายคนต้องนึกถึงร้านชานมไข่มุก ร้านเครื่องดื่มที่มีเมนูนมหมีปั่น โกโก้ อะไรประมาณนี้ เหตุผลที่คนสนใจและนึกถึงสินค้าเหล่านี้เพราะเป็นสินค้าขายง่าย ขายดี และบางคนก็เลือกลงทุนเปิดร้านเองแบบไม่ต้องซื้อแฟรนไชส์

ส่วนจะขายได้ดีแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพสินค้า และการตลาดเป็นสำคัญ สำหรับในมุมมองของ www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าธุรกิจนี้ยังเติบโตได้แต่ผู้งทุนเองก็ต้องสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคและรู้จักใน่ไอเดียในการขายจะยิ่งเพิ่มโอกาสสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น

ตลาดเครื่องดื่มปี 2566 จะโตได้มากแค่ไหน?

ร้านชาราคาเดียว

ในภาพรวมตลาดเครื่องดื่มประเภท ร้านชาราคาเดียว ชานมไข่มุก คาดว่าในปี2568 จะมีมูลค่าตลาดทั่วโลกประมาณ 1.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 3.43 แสนล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 9.3% ต่อปี ขณะที่ตลาดในประเทศไทยก็คึกคักไม่แพ้กัน มูลค่าการตลาดในช่วง 1 -2 ปีที่ผ่านมา เติบโตไม่ต่ำกว่า 40% มีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 3,000-4,000 ล้านบาท แถมสถิติยังบ่งชี้ว่าประเทศไทยบริโภคเครื่องดื่มชานมมากเป็นอันดับ 1 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยดื่มชานม 6 แก้วต่อคนต่อเดือน

และคาดการณ์ว่าตลาดมีแนวโน้มเพิ่ม 5,000 ล้านบาท ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า แต่สิ่งที่ต้องยอมรับคือการแข่งขันในตลาดนี้มีสูงมาก ทั้งจากแบรนด์ในประเทศและต่างประเทศที่ต่างมุ่งหวังแย่งส่วนแบ่งการตลาดกันอย่างเข้มข้น ในมุมของผู้ประกอบการรายย่อยที่เปิดร้านเล็กๆ ธรรมดา ก็ยังมีคู่แข่งในระดับเดียวกันอีกมาก และการที่ผู้บริโภคมีตัวเลือกเยอะแยะมากมาย ก็ทำให้ผู้ประกอบการเองต้องหันมาสนใจเรื่องการตลาดและพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพมากขึ้น

ลงทุนเปิดร้านชานม นมหมีปั่น โกโก้ ทำยังไงให้ปัง?

5

คำถามที่ว่าร้านเครื่องดื่มแนวนี้จะยังปังอยู่ไหม คำตอบคือ “ยังขายได้แน่” และมีกำลังซื้อจากลูกค้าต่อเนื่อง แต่ปัญหาคือเรื่อง “คุณภาพ” “ไอเดีย” “กลยุทธ์การขาย” ลองคิดดูว่าจู่ๆ ถ้าเราคิดเปิดร้านขึ้นมา ไม่ต้องลงทุนมาก ใช้อุปกรณ์ที่มี เมนูไม่เยอะ อาจจะมีแค่ชานม กาแฟ โกโก้ นมหมีปั่น ตั้งใจว่าขายเป็นรายได้เพิ่ม แต่คนที่คิดแบบนี้ส่วนใหญ่ก็ขายได้ไม่นานก็ต้องเลิก ไม่ใช่เพราะคนไม่ต้องการสินค้า เพียงแต่ “ร้านค้าไม่มีจุดเด่น” ที่สามารถดึงดูดลูกค้าได้ นั่นทำให้บางคนมองว่า “ขายแล้วไม่ปัง” ทั้งที่จริงคือผู้ลงทุนยังทำการตลาดไม่ถูกต้อง ไม่เจาะใจกลุ่มเป้าหมายได้ดีพอมากกว่า

การที่จะทำให้ขายดีก็มีอยู่หลายปัจจัยที่ควรนำมาปรับใช้ ได้แก่

1.เจาะกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน

3

ข้อมูลที่น่าสนใจระบุว่าเครื่องดื่มกลุ่มชา โกโก้ นมหมีปั่นเหล่านี้ 79% เป็นผู้หญิง และ 21% เป็นผู้ชาย อายุช่วงอายุ 24 – 35 ปี ถึง 50% และช่วงอายุ 35 – 44 ปีมากกว่า 25% เมื่อรู้กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนก็ต้องนำไปพัฒนาเมนูให้ถูกใจลูกค้าเพื่อเพิ่มโอกาสในการขายได้มากขึ้น

2.เมนูเครื่องดื่มสุขภาพจะมาแรง

7

เหตุผลที่ทำให้นมหมีปั่น โกโก้ ยังขายได้ดีมากขึ้นเกิดจากกระแสคนรักสุขภาพ เพราะอย่างที่ทราบว่าโกโก้เองเป็นเครื่องดื่มที่มีคุณประโยชน์หลายด้าน เช่นลดคอเลสเตอรอล , ลดความดันโลหิต , ป้องกันโรคหัวใจ และยังส่งผลต่อสุขภาพจิตใจลดความเครียดให้เราได้ด้วย หรืออย่างนมหมีปั่น ที่ใช้วัตถุดิบคือนมสดก็ถือเป็นเมนูสุขภาพที่คนนิยม ถ้าอยากเปิดร้านแล้วปัง ขายดีก็ควรมีเมนูสุขภาพเข้ามาเสริมให้มากขึ้นเช่นเครื่องดื่มน้ำสมุนไพร น้ำผลไม้ต่างๆ เป็นต้น

3.รู้จักการสร้าง “อารมณ์” ให้คนสนใจสินค้า

8

เครื่องดื่มอย่างชานม โกโก้ นมหมีปั่น หรืออีกหลายเมนูถือเป็นสินค้าที่หากรู้จักการใช้ Emotional เข้ามากระตุ้นอารมณ์อยากลองดื่มสินค้าที่มีจุดเด่น มีความน่าสนใจ และหากทำให้ผู้บริโภคพึงพอใจทั้งเรื่องของรสชาติ ราคา และการบริการ ก็สามารถสร้างผลกำไรได้ในระยะยาว

4.กลยุทธ์การขายเป็น “สิ่งสำคัญ”

4

ร้านจะปัง หรือไม่ปัง บางทีก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ด้านการตลาด หากเราเปิดร้านแล้วไม่โปรโมทในช่องทางใดเลย รอแต่ลูกค้าเดินผ่านหน้าร้าน เชื่อว่าโอกาสในการประสบความสำเร็จก็น้อยมากเช่นกัน แต่หากเราใส่ไอเดียในด้านการตลาดใช้โซเชี่ยลมีเดียช่วยทำตลาด และหากร้านเราฮิตติดกระแส ก็จะยิ่งทำให้ประสบความสำเร็จได้มากขึ้น

5.อย่าลืมเพิ่มช่องทางขาย “เดลิเวอรี่”

2

สมัยนี้ “เทรนด์สะดวก” กำลังมาแรง ผู้บริโภคนิยมสินค้าผ่านช่องทาง “เดลิเวอรี่” ซึ่งในฐานะเจ้าของร้านก็ควรให้ความสำคัญเรื่องนี้ แม้หลายคนอาจจะไม่มีประสบการณ์หรือบอกว่าไม่รู้จะเริ่มขายเดลิเวอรี่อย่างไร ปัจจุบันแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่มีให้เลือกมากและต่างก็อยากได้พาร์ทเนอร์ สิ่งที่ต้องทำคือพูดคุยและปรึกษากับแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่เหล่านี้ที่พร้อมให้คำแนะนำว่าร้านค้าต้องทำอย่างไรเพื่อจะเข้าร่วมแพลตฟอร์มได้

ในความเป็นจริงตลาดเครื่องดื่มยังมีอนาคตที่สดใสมาก สินค้ามีตั้งแต่ตลาดล่าง แก้วละสิบกว่าบาท ไปจนถึงตลาดบนแก้วละร้อยกว่าบาท ถามว่าขายได้ไหม คำตอบคือขายได้แน่ แต่เราก็ต้องระวัง เพราะแข่งขันสูงมาก ถ้ามีทำเลที่ดี สามารถมีฐานลูกค้าดีลิเวอรี่ ก็พอลงทุนได้ หรือถ้าไม่แน่ใจจริงๆ แต่อยากมีร้านเครื่องดื่มจะเลือกลงทุนรูปแบบแฟรนไชส์ที่ปัจจุบันมีหลายแบรนด์ให้เลือกลงทุนได้ ก็ถือเป็นอีกทางลัดสู่ความสำเร็จในยุคนี้

 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3XE52Ef , https://bit.ly/3XFw5iu , https://bit.ly/3V9f52C , https://bit.ly/3EEkp6Y

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3HoD5Li


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช