ระบบงานของ ร้านค้าปลีก ที่ต้องมี

ธุรกิจ ร้านค้าปลีก ถือเป็นธุรกิจที่อยู่ใกล้บ้าน ให้บริการความสะดวกสบายในการซื้อสินค้าที่ต้องการ โดยไม่ต้องเดินทางซื้อไกลๆ แต่คุณจะรู้ไหมว่ากว่าที่ธุรกิจร้านค้าปลีกเหล่านี้ จะได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค ต้องใช้เวลาในการทำตลาด วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค มีการบริหารจัดการ วางระบบงานในร้าน เพื่อดึงดูดและสร้างความประทับใจให้ลูกค้า

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำท่านผู้ประกอบการ หรือผู้ที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจร้านค้าปลีก ไปทำความรู้จักกับระบบงานของร้านค้าปลีก ที่ต้องมี หากต้องการประสบความสำเร็จ ดึงดูดลูกค้า เพิ่มยอดขาย มาดูกันเลยครับ

1.มาตรฐาน (Standard)

lk3

ธุรกิจร้านค้าปลีก จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีระบบงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ลูกค้าที่เข้าใช้บริการจะรู้ทันทีเป็นร้านอะไร ขายอะไร ไม่ว่าจะเป็น ประเภทสินค้า การบริการ การจัดซื้อ การสต็อกสินค้า การแต่งกายของพนักงาน การจัดเรียงสินค้าอุปกรณ์เทคโนโลยี ไอที ระบบการชำระเงิน เคาน์เตอร์ การตกแต่งร้าน

องค์ประกอบเหล่านี้ต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกร้าน ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถใช้บริการได้เหมือนกัน โดยเฉพาะเรื่องของราคา และคุณภาพสินค้า ยกตัวอย่างร้านสะดวกซื้อต่างๆ มีรูปแบบการจัดวางสินค้า การตกแต่ง วางเคาน์เตอร์ชำระเงิน การแต่งกาย ราคาสินค้า เหมือนกันทุกร้าน

2.กระบวนการ (Process)

kl1

เป็นระบบการบริหารจัดการภายในร้านค้าปลีกให้ดึงดูดลูกค้า เพิ่มยอดขาย ตั้งแต่การเปิด-ปิดร้าน การให้บริการลูกค้า การเลือกและสั่งซื้อสินค้า การขายสินค้า การฝึกอบอบรมพนักงาน การบริหารสต็อกสินค้าไม่ให้ขาดหรือเกิน การนำเสนอสินค้าใหม่ๆ การตรวจเช็คสินค้า การจัดวางสินค้าที่ขายดีอยู่ระดับสายตา เก็บสถิติสินค้าขายดี-ขายไม่ดี จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย การติดป้ายราคาเห็นชัดเจน องค์ประกอบเหล่านี้ถือเป็นกระบวนการที่นำไปสู่การเพิ่มรายได้ และผลกำไร

3.ควบคุมได้ (Control)

lk5

ธุรกิจร้านค้าปลีกต้องมีระบบงานที่ควบคุมได้ ไม่ว่าจะเป็น ต้นทุน ค่าใช้จ่าย การสั่งซื้อสินค้า สต็อกสินค้า ระบบบัญชี ราคาสินค้า คุณภาพมาตรฐานของสินค้า ความสะดวกสบาย การตรวจสอบการซื้อ-ขาย เป็นต้น

4.วัดผลได้ (Result)

 

lk6

ร้านค้าปลีกที่จะเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ จำเป็นต้องสามารถวัดผลกำไร ขาดทุนได้ ยิ่งถ้าร้านค้าปลีกมีกำไรต่อเนื่อง มั่นคง มีระบบงานที่เป็นมาตรฐาน มีกระบวนการดึงดูดลูกค้า สร้างยอดขาย มีกระบวนควบคุมระบบการบริหารจัดการ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นองค์ประกอบของร้านค้าปลีก ที่เหมาะสำหรับการเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์

เห็นแล้วว่า ระบบงานของร้านค้าปลีก ที่เหมาะสำหรับเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ ต้องสามารถวัดผลได้ ควบคุมได้ มีมีกระบวนการบริการจัดการ ที่เป็นระบบมาตรฐานเดียวกัน

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช