รวมเทคนิคธุรกิจปรับกลยุทธ์ สู้ “โอมิครอน”

สถานการณ์แพร่ระบาดโควิด 19 สายพันธุ์ “โอมิครอน” นับถึงตอนนี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อเริ่มขยับสูงขึ้นเรื่อยๆ หากเป็นไปตามคาดการณ์ของหลายฝ่าย หลังปีใหม่นี้จะเป็นการระบาดระลอกที่ 5

ซึ่งแน่นอนว่าภาคธุรกิจที่กำลังฟื้นตัวคงไม่อยากให้เกิดเรื่องแบบนี้ แต่อย่างน้อยก็มีข้อมูลที่ยังพอให้เบาใจว่าสายพันธุ์โอมิครอนแม้จะระบาดเร็วแต่อาการของโรคจะไม่หนักเหมือนที่ผ่านมา

ถึงกระนั้น www.ThaiSMEsCenter.com แนะนำว่าภาคธุรกิจเองควรมองหาวิธีรับมือกับโควิด 19 ในระลอกนี้ให้ดีแม้จะเคยมีประสบการณ์จาก 2 ปีที่ผ่านมาอยู่บ้าง แต่หากผ่านระลอกนี้ไปได้อาจเป็นจุดเริ่มในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง

ผลกระทบด้านธุรกิจที่เกิดจาก “โอมิครอน”

ธุรกิจปรับกลยุทธ์

โควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอนไม่ได้สร้างผลกระทบแค่ในประเทศแต่ตอนนี้หลายประเทศทั่วโลกก็โดนเล่นงานอย่างหนัก ซึ่งข้อมูลจากการวิเคราะห์ระบุว่า ราคาดัชนีหุ้นทั่วโลกมีโอกาสร่วงลงได้อีก 15-20% ขณะที่หลายประเทศได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อิสราเอล ได้ประกาศล็อกดาวน์ไปเรียบร้อยแล้ว สำหรับตลาดแรงงานไทย ตัวเลขว่างงานไตรมาส 3 ปี 2564 ขยายตัวสูงถึง 2.3% สูงสุดในรอบ 5 ปีมีผู้ว่างงานรวมกันถึง 1.77 ล้าน และที่น่าห่วงคือเด็กจบใหม่ที่จะเข้ามาอีกราว 4.9 แสนคนช่วงเดือน กุมภาพันธ์ 65 ที่จะเผชิญความยากลำบากในการหางาน

ซึ่งตัวเลขจากธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานว่า ณ สิ้นเดือน ก.ย. 2564 มีลูกหนี้ที่รับความช่วยเหลือผ่านการปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงิน จำนวนถึง 6.69 ล้านบัญชี เป็นยอดเงิน 3.83 ล้านล้านบาท ขณะที่ภาครัฐได้ใช้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจตลอด 2 ปีที่ผ่านมาไปแล้วกว่า 1 ล้านล้านบาท

และหากมีการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนตามคาดการณ์ก็เชื่อว่าจำเป็นต้องมีการเพิ่มงบในการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ดีการจะฝ่าวิกฤติในครั้งนี้ไป จำเป็นที่ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจต้องร่วมด้วยช่วยกัน โดยมีกลยุทธ์ที่ภาคธุรกิจควรนำมาใช้ดังต่อไปนี้

รวมเทคนิคธุรกิจปรับกลยุทธ์ สู้ “โอมิครอน”

5

1.ธุรกิจต้องสนับสนุนพื้นที่ให้เป็นจุดฉีดวัคซีนมากที่สุด

แม้จะไม่แน่ชัดว่าวัคซีนที่มีอยู่จะต้านโอมิครอนได้มีประสิทธิภาพแค่ไหน แต่อย่างน้อยวัคซีนก็คือทางเลือกในการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ที่ดี ดังนั้นถ้าหวังจะลดความรุนแรงในการแพร่ระบาดภาคธุรกิจอาจต้องให้ความร่วมมือภาครัฐในการเปิดพื้นที่เป็นจุดฉีดวัคซีนเพื่อประโยชน์ร่วมกันทั้งประเทศ

2.วางแผนธุรกิจให้สอดคล้องสถานการณ์ ฟังเสียงลูกค้าให้มากขึ้น

ธุรกิจจำเป็นต้องปรับแผนการดำเนินธุรกิจให้ยืดหยุ่นขึ้น โดยขอฟีดแบคจากลูกค้า เพื่อนำความคิดเห็นเหล่านั้นมาต่อยอดธุรกิจ แล้วถ้าไอเดียถูกนำมาใช้จริงลูกค้าก็จะรู้สึกประทับใจ รวมถึงเจ้าของกิจการควรให้พนักงานระดับปฏับัติการมีส่วนร่วมในการวางแผนกับฝ่ายบริหารเพราะพนักงานเหล่านี้คือคนที่ใกล้ชิดลูกค้ามากที่สุด

3

3.ยอมลดต้นทุนหรือตัดสินค้าในบางรายการออก

ในสถานการณ์ที่รายได้ไม่ชัดเจน ยอดขายไม่แน่นอน การยอมลดต้นทุนหรือตัดสินค้าบางตัวออกไปก่อน เน้นขายสินค้าที่ลูกค้าจ่ายไหว หรือเป็นสินค้าที่สำคัญและจำเป็นเท่านั้นก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดี แต่ถ้าสถานการณ์เริ่มดีขึ้นเราต้องกลับมาขายสินค้าตัวที่ยกเลิกไปเพื่อให้ความรู้สึกของลูกค้ากลับคืนมาเหมือนเดิม

4.เจ้าของธุรกิจต้องทำความเข้าใจกับพนักงานให้มากขึ้น

ในช่วงเวลานี้เจ้าของกิจการต้องพูดคุยกับพนักงานให้มากขึ้น อธิบายถึงแผนงานและเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เพื่อปรับความเข้าใจและไม่ให้พนักงานเข้าใจองค์กรผิดๆ เกี่ยวนโยบายในการดำเนินงาน เพื่อให้พนักงานรู้สึกสบายใจและจะได้มีแรงกายแรงใจในการทำงานให้กับองค์กรต่อไปได้

6

5.ให้ความสำคัญกับฐานลูกค้าเก่า

การหาลูกค้าใหม่ในช่วงนี้อาจจะยากดังนั้นทางที่ดีต้องรักษาฐานลูกค้าเก่าเอาไว้ให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเจอกับวิกฤติแบบไหน แต่ถ้าเรามีฐานลูกค้าในมือโอกาสฟื้นกลับคืนมาก็ไม่ยาก เหมือนอย่างที่โรงแรมในเครือ Marriot ที่ลูกค้าส่วนใหญ่ยกเลิกการจองห้องพัก แต่ทางโรงแรมก็ได้แจ้งผ่านอีเมลล์ไปยังลูกค้าทุกคนว่าจะได้รับเงินคืนเต็มจำนวน ถือเป็นการสร้างความประทับใจและรักษาฐานลูกค้าได้อย่างดี

6.บริหารแผนการเงินอย่างมีคุณภาพ

บทเรียนจาก 2 ปีที่ผ่านมาทำให้หลายธุรกิจให้ความสำคัญกับวิธีบริหารการเงินมากขึ้น แผนการเงินที่ดีจึงควรเตรียมเงินสดที่จำเป็นต้องใช้ในแต่ละเดือนให้ชัดเจน มีแหล่งเงินทุนที่พร้อมจะหาในยามเกิดวิกฤติ และต้องรู้กำไร-ขาดทุนในธุรกิจได้ชัดเจน และที่สำคัญควรมีเงินทุนสำรองในกรณีฉุกเฉินด้วย

4

7.เพิ่มช่องทางขายออนไลน์ให้มากขึ้น

ในช่วงการแพร่ระบาดนั้นผู้บริโภคกว่า 89% ใช้เวลาไปกับการการซื้อของออนไลน์มากขึ้น อีกทั้งเพื่อความอยู่รอด หลายอุตสาหกรรมต่างปรับตัวสร้างช่องทางจำหน่ายบนตลาดออนไลน์ของตัวเอง ส่งผลให้อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล และวิธีนี้ก็เป็นสิ่งที่ธุรกิจควรทำเพราะแม้การแพร่ระบาดจะผ่านไปช่องทางออนไลน์ก็ยังมีประสิทธิภาพในอนาคตด้วย

8.รู้จักใช้ Data Driven ให้เกิดประโยชน์

ธุรกิจยุคใหม่ต้องใช้ Data Driven หรือการขับเคลื่อนหรือการดำเนินงานด้วยข้อมูลให้เกิดประโยชน์พื้นฐานของการตลาดแบบ Data Driven ที่แข่งกันว่าใครใช้ Data เก่งกว่ากัน และไม่ได้จำกัดอยู่ที่การยิงโฆษณา แต่เป็นการทำ Promotion การใช้ Performance Marketing และการทำ Personalisation รวมไปถึงการทำ CRM ที่มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างโอกาสเพิ่มยอดขาย

1

9.การสร้าง Brand Awareness เป็นสิ่งสำคัญ

ธุรกิจจะอยู่รอดเจ้าของกิจการต้องไม่ลดการลงทุนสื่อเพื่อสร้างการจดจำ ซึ่งเป็นโอกาสในการเข้าถึงผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเพิ่มความมั่นใจและเชื่อใจในระยะยาว อีกทั้งเป็นการลดโอกาสในการถูกคู่แข่งแย่งผู้บริโภคไปในการแข่งขันเรื่องราคา และโปรโมชันที่เข้มข้นขึ้น

10.เตรียมแผนสำรองในกรณีฉุกเฉิน

แม้จะมีการวางแผนการเงินที่ดี แต่ก็ควรมีแผนสำรองอื่นๆ ร่วมด้วย เผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉินถ้าแผนหลักไม่สามารถทำตามได้การทำงานจะได้ไม่สะดุดเพราะสามารถเปลี่ยนไปใช้แผนสำรอง อย่างน้อยก็จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้เดินหน้า และหากสถานการณ์แพร่ระบาดไม่รุนแรงตามคาดหรือว่าสถานการณ์เริ่มดีขึ้น การฟื้นตัวก็จะง่ายขึ้นด้วย

นอกจากนี้วิธีอื่นๆที่น่าสนใจในการปรับสู้การแพร่ระบาดของโอมิครอนที่ธุรกิจควรมีเช่นมีซัพพลายเออร์ที่ช่วยให้ต้นทุนลดลงได้, วิเคราะห์สินค้าที่ขายไม่ได้ให้ตัดออกไปก่อนหรือการปรับเวลาเปิดปิดร้านเพื่อประหยัดค่าน้ำค่าไฟ หรือควรลดต้นทุนค่าโฆษณาลงเท่าไหร่ เป็นต้น


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3F0jD2D , https://bit.ly/3sYLy0f , https://bit.ly/3JJPRm8 , https://bit.ly/3HHZik2 , https://bit.ly/3G1Y7vp

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3fl8yyE

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด