รวมวิธีจองล็อคตลาดนัด มือใหม่ต้องรู้ไว้ !

ยุคนี้ใครๆ ก็อยากเป็นพ่อค้าแม่ค้าจะเห็นได้ว่ามีตลาดเปิดใหม่ขึ้นที่ไหนพ่อค้าแม่ค้าก็จะแห่กันไปแทบจะในทันที การจะได้ทำเลดีๆ ตามตลาดนัดบางทีจึงต้องมีคนรู้จักคอยส่งข่าวว่าจะมีตลาดเปิดใหม่ตรงนั้นตรงนี้เพื่อเราจะได้ไปใชสิทธิ์จองล็อคขายของได้ก่อนใคร

ซึ่ง www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าการจองล็อคขายของตามตลาดนัดแม้จะมีอยู่ไม่กี่รูปแบบแต่ก็มีรายละเอียดย่อยๆที่น่าสนใจในตัวเองอยู่พอสมควร สำหรับพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่อาจจะยังไม่มีความรู้ด้านนี้มากนักลองมาศึกษาวิธีการจองล็อคในรูปแบบต่างๆ จะช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่าตลาดในยุคนี้มีวิธีการจับจองพื้นที่อย่างไรบ้าง

1.การจองล็อคแบบขายประจำ

ยุคนี้ใครๆ

วิธีการของแต่ละตลาดจะแตกต่างกันไป เช่นตลาดนัดรถไฟศรีนครินทร์จะเปิดให้พ่อค้าแม่ค้าจองล็อคสินค้าได้ทุกวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนในเวลา 21.00 น. ซึ่งหลังจากเวลากำหนดทางตลาดจะเช็คว่าล็อคไหนที่หลุดล็อคไหนที่ไม่ได้จอง ก็จะจัดสรรให้ผู้เช่ารายใหม่ ซึ่งการจองล็อคขายประจำส่วนใหญ่จะจ่ายเป็นรายเดือน บางตลาดก็มีค่ามัดจำ

บางตลาดก็ไม่มีค่ามัดจำ ซึ่งการที่เก็บค่าเช่าแบบเต็มเดือนก็เพื่อกระตุ้นให้พ่อค้าแม่ค้ามาขายของทุกวันล็อคได้ไม่ว่างตลาดได้ไม่เงียบและเพื่อเป็นการชดเชยหากพ่อค้าแม่ค้าไม่ได้มาขายของเจ้าของตลาดก็จะมีรายได้ทดแทนได้บ้าง

2.การจองล็อคแบบไม่ประจำ

t4

ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าแม่ค้าที่ไม่ได้ประจำตลาดใดตลาดหนึ่งแต่อาศัยขายไปทั่วๆ ซึ่งการจองล็อคแบบไม่ประจำนี้พ่อค้าแม่ค้าก็ต้องติดต่อเจ้าของตลาดหรือผู้ดูแลก่อนว่ามีที่ว่างพอสำหรับขายของหรือไม่

และกฏเกณฑ์การจองของตลาดนั้นมีอะไรบ้าง บางตลาดกำหนดการจองเฉพาะวันเสาร์ หรืออาทิตย์ และตลาดใหญ่ๆ อาจมีการแจกบัตรคิวสำหรับการจองล็อค ซึ่งราคาของล็อคแบบไม่ประจำอาจจะถูกกว่าแบบขายประจำ

3.จับสลากล็อคตลาดนัด

t3

บางตลาดที่ลูกค้านิยมมากย่อมเป็นที่หมายปองของพ่อค้าแม่ค้าขาจรด้วยเช่นกัน ดังนั้นไม่น่าแปลกที่เห็นพ่อค้าแม่ค้าขาจรเหล่านี้อยากจับจองเป็นเจ้าของล็อคขายสินค้า ซึ่งต้องอธิบายก่อนว่าตลาดส่วนใหญ่จะมีพ่อค้าแมค้าประจำอยู่ แต่ก็มีที่เจ้าของล็อคเดิมอยากพักผ่อน อยากหยุดไปทำธุระ และเพื่อให้ล็อคไม่ว่างทางตลาดจะจัดให้มีการจับสลากสำหรับพ่อค้าแม่ค้าขาจรทั้งหลาย

ซึ่งมีข้อดีที่ตลาดเองก็มีรายได้และลูกค้าที่มาเดินตลาดก็ได้เห็นสินค้าใหม่ๆ และล็อคสินค้าที่เต็มทุกล็อค แต่ทั้งนี้พ่อค้าแม่ค้าขาจรเองก็ต้องรู้ข้อมูลในตลาดนั้นๆ และรู้จักกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องนี้ซึ่งส่วนใหญ่จะรวมเอาพ่อค้าแม่ค้าที่ต้องการมาพร้อมกันและจับสลากในทีเดียวเพื่อความเป็นธรรม

4.เปิดท้ายขายของส่วนใหญ่ก็ใช้วิธีจับสลาก

t5

การเปิดท้ายขายของก็เป็นอีกรูปแบบที่พ่อค้าแม่ค้านิยม ในบางตลาดที่คนอาจไม่ฮิตมาก อาจใช้การเดินเข้าไปติดต่อกับผู้ดูแลตลาดและพูดคุยรายละเอียดในการขายของได้ แต่กับบางตลาดที่คนนิยมมาก

ย่อมมีพ่อค้าแม่ค้าแบบเปิดท้ายที่ต้องการพื้นที่มากตามไปด้วยวิธีที่ดีที่สุดก็คือการจับสลากที่เป็นรูปแบบไม่ต่างกันคือให้ทุกคนลงชื่อรับสิทธิ์ไว้และนัดวันเวลาในการจับสลากซึ่งผลดีคือความเป็นธรรมสำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่ต้องการขายของแบบเปิดท้ายทุกคน

5.เปิดให้ขายฟรีเสียแค่ค่าน้ำค่าไฟ

t6

ของฟรียังมีในโลกโดยเฉพาะบางตลาดที่เป็นตลาดเปิดใหม่มักจะเอาใจพ่อค้าแม่ค้าด้วยการเปิดขายฟรีๆ กันไปเลย ก็เป็นโอกาสทองของพ่อค้าแม่ค้าที่จะมีโอกาสค้าขายแบบไม่ต้องมีต้นทุนเรื่องค่าเช่า

แต่ขอบอกก่อนเลยนะครับว่าการเปิดขายฟรีเขาก็มีกำหนดระยะเวลาด้วยไม่ใช่จะเปิดฟรีตลอด อาจจะแค่ 1-2 เดือน แต่ถ้าตลาดเริ่มติดคนเริ่มฮิตทีนี้ก็จะวนกลับมาใช้วิธีการจองล็อคสำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่อยากขายประจำ และจับสลากสำหรับพ่อค้าแม่ค้าขาจร หรือพวกเปิดท้ายขายของ

แต่ส่วนใหญ่พ่อค้าแม่ค้าที่ขายตั้งแต่ตอนฟรีๆ หากขายดีก็จะไม่ย้ายไปไหนก็จะยอมจ่ายค่าเช่าให้เจ้าของตลาดไปเรียกว่าเป็นเทคนิคเรียกทั้งลูกค้าและพ่อค้าแม่ค้าที่ได้ผล อย่างไรก็ตามในช่วงที่เปิดฟรีใช่ว่าจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรเลย สิ่งที่ต้องจ่ายก็มีพวกค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าบริหารจัดการตลาด ซึ่งจะมากจะน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับการกำหนดของเจ้าของตลาดนั้นๆ

6.โอนสิทธิ์ปล่อยล็อคให้พ่อค้าแม่ค้าที่สนิท

t7

เป็นสิ่งที่พึงกระทำได้แต่ทั้งนี้ต้องมีการพูดคุยและแจ้งกับเจ้าของตลาดก่อน โดยส่วนใหญ่เจ้าของตลาดมักจะไม่ให้พ่อค้าแม่ค้ามาเช่าล็อคแล้วไปปล่อยต่อเพื่อหากำไรส่วนต่างๆ

แต่วิธีการได้ล็อคแบบนี้จะทำได้ก็ต่อเมื่อพ่อค้าแม่ค้ารายเก่าต้องการที่จะหยุดขายและอยากให้คนในครอบครัวหรือญาติที่สนิทมาขายต่อ ซึ่งก็จะเป็นการขายต่อในช่วงเวลาเช่าที่ยังเหลืออยู่ของล็อคนั้นๆ ซึ่งต้องมีการพูดคุยกับเจ้าของตลาดให้ชัดเจนไม่ใช่ลักษณะของการค้ากำไรจากการปล่อยเช่าด้วยตัวเอง

โดยภาพรวมเมื่อมีตลาดเปิดใหม่สักแห่งเริ่มแรกมักเปิดให้พ่อค้าแม่ค้าได้เข้ามาขายฟรีในเบื้องต้นซึ่งจะมีการแจ้งชัดเจนว่าเป็นระยะเวลาเท่าไหร่เมื่อครบกำหนดก็จะมีการเก็บค่าเช่าสำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่สนใจอยู่ต่อก็ต้องเริ่มจ่ายค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ ให้เจ้าของตลาด

ส่วนล็อคไหนที่ว่างลงก็จะให้วิธีการจองล็อคแก่พ่อค้าแม่ค้ารายอื่นซึ่งถ้าความต้องการมีมากเกินกว่าจำนวนล็อคก็จะใช้วิธีการจับสลากเพื่อความยุติธรรม วิธีการจับสลากนี้ยังนำไปใช้กับพ่อค้าแม่ค้าขาจรที่ต้องการพื้นที่ค้าขายในตลาดที่คนนิยมได้ด้วย

รวมถึงบางครั้งที่พ่อค้าแม่ค้าที่ขายประจำแจ้งความต้องการจะหยุดขายเพื่อไปทำธุระใดๆก็ตาม เพื่อป้องกันไม่ให้ล็อคว่าง เจ้าของตลาดก็จะเลือกใช้วิธีการจับฉลากให้พ่อค้าแม่ค้าขาจรได้เข้ามาขายในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อให้ตลาดมีรายได้แบบไม่บกพร่องและทำให้ทุกล็อคในตลาดเต็มไปด้วยพ่อค้าแม่ค้าเช่นเดิม


SMEs Tips

  1. การจองล็อคแบบขายประจำ
  2. การจองล็อคแบบไม่ประจำ
  3. จับสลากล็อคตลาดนัด
  4. เปิดท้ายขายของส่วนใหญ่ก็ใช้วิธีจับสลาก
  5. เปิดให้ขายฟรีเสียแค่ค่าน้ำค่าไฟ
  6. โอนสิทธิ์ปล่อยล็อคให้พ่อค้าแม่ค้าที่สนิท

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S 

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด