รวมข้อดี-ข้อเสีย “ผ่อนสินค้า 0%” ใครได้ประโยชน์?

ในสถานการณ์ที่คนส่วนใหญ่ “ไร้เงินสด” ทำให้กลยุทธ์ “ผ่อนสินค้า 0%” ได้รับความสนใจมาก สังเกตว่าหากร้านไหน สินค้าใดจัดโปรตัวนี้ขึ้นมา คนส่วนใหญ่ตัดสินใจง่าย มองผิวเผินเรื่องนี้ต่างก็พึงพอใจด้วยกันทุกฝ่าย ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าสนใจว่าตกลงแล้ว “เรื่องนี้ใครได้ประโยชน์สูงสุดกันแน่”

ผ่อนสินค้า

ภาพจาก freepik.com

ตามข้อมูลการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเมื่อปี 2563 พบว่าปริมาณการใช้จ่ายรวม 173,255.68 ล้านบาท มีการเบิกเงินสดล่วงหน้าเพิ่มขึ้น 9.18% ขณะที่ยอดค้างชำระเกิน 3 เดือน เพิ่มขึ้น 13.95% และยอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้น 9.06% และเพื่อให้ทุกคนมองเห็นภาพชัดเจน www.ThaiSMEsCenter.com จะลองไล่เรียงให้เข้าใจว่ากลยุทธ์นี้แท้ที่จริงใครได้ประโยชน์มากที่สุด

กลไกของกลยุทธ์ “ผ่อนสินค้า0%”

18

ภาพจาก freepik.com

สมมุติว่าเราอยากซื้อสมาร์ตโฟน ราคา 30,000 บาท โดยสามารถผ่อนจ่ายผ่านบัตรเครดิตด้วยดอกเบี้ย 0% นาน 10 เดือนในกรณีนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องจะมีทั้งหมด 3 ฝ่ายคือ

  1. ลูกค้า
  2. ร้านค้า
  3. สถาบันการเงินเจ้าของบัตรเครดิต

สำหรับลูกค้า แน่นอนว่าจะได้สมาร์ตโฟนกลับไปใช้เลยเมื่อตัดสินใจซื้อ โดยที่มีหน้าที่ผ่อนชำระค่าบัตรเครดิตเดือนละ 3,000 บาทให้ครบตามระยะเวลาที่กำหนดคือ 10 เดือน สำหรับร้านค้า จะได้รับเงินค่าขายสินค้าจากสถาบันการเงินทันทีเช่นกัน ส่วนสถาบันการเงินหรือผู้ออกบัตรเครดิต มีหน้าที่เรียกเก็บเงินจากลูกค้าตามระยะเวลาที่ผ่อนคือ 10 เดือน มองผิวเผินเรื่องนี้สถาบันการเงินน่าจะเสียเปรียบมากที่สุดแต่หากเรามาวิเคราะห์แยกย่อยลงไปจะพบว่า

ประโยชน์ที่เกิดกับ “สถาบันการเงิน”

17

ภาพจาก freepik.com

  1. การที่สถาบันการเงินยอมให้เราซื้อสินค้าด้วยการผ่อน 0% ทำให้ผู้ถือบัตรเครดิตใบนั้นๆ เกิดความผูกพันกับบัตร และเกิดการใช้งานอย่างต่อเนื่อง เพราะในระหว่างนั้น บัตรดังกล่าว มีการผ่อนสินค้าหลายเดือนติดต่อกัน
  2. ผู้ใช้งานบัตรเครดิตจำนวนมาก มีบัตรเครดิตมากกว่า 1 ใบ ฉะนั้น สถาบันการเงินต่างๆ จึงเกิดการแข่งขันแย่งชิงลูกค้า หากสถาบันการเงินใดมีแรงจูงใจที่ทำให้คนใช้บัตรของตัวเอง เช่น ผ่อน 0% ได้, ใช้บัตรเครดิตเป็นส่วนลดได้ ย่อมทำให้ผู้ใช้งานเลือกใช้บัตรเครดิตของสถาบันการเงินที่มีทางเลือกมากกว่า
  3. การที่สถาบันการเงินยอมให้เราซื้อสินค้าด้วยการผ่อน 0% จะทำให้โอกาสที่ผู้ถือบัตรตัดสินใจปิดการใช้งานบัตรเครดิตนั้นๆ น้อยลง เนื่องจากผู้ถือบัตรมีภาระผูกพันกับบัตรเครดิตใบนั้นๆ อยู่
  4. สถาบันการเงินได้รับค่าธรรมเนียมจากร้านค้าที่นำเครื่องรูดบัตรไปให้บริการกับลูกค้า 2% จากราคาสินค้า ซึ่งเราอาจจะสังเกตเห็นได้ว่า ร้านค้าบางร้านไม่อยากแบกรับค่าธรรมเนียมดังกล่าว จึงมีค่าชาร์จบัตรเครดิตจากลูกค้า 2-3%
  5. หากลูกค้าผ่อนชำระค่าสินค้าไม่ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด จะมีค่าธรรมเนียมในการทวงถาม เช่น จดหมายทวงถามหนี้บัตรเครดิต, SMS ทวงถาม, เจ้าหน้าที่โทรมาทวงถาม โดยบางสถาบันการเงินอาจยกหน้าที่ดังกล่าวให้กับเอกชนแห่งอื่นเป็นผู้ทำหน้าที่แทน
  6. หากผู้ถือบัตรเครดิตผ่อนชำระค่าสินค้าเกินระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งสถาบันการเงินจะคิดอัตราดอกเบี้ย 18% ต่อปีทันที เช่น ราคาสินค้า 50,000 บาท สถาบันการเงินคิดดอกเบี้ยจากยอดเต็ม คือ 50,000 บาท ไม่ได้คิดจากยอดคงเหลือที่มีการผ่อนไปแล้ว บวกดอกเบี้ย 18% ต่อปี เท่ากับ 59,000 บาท

ประโยชน์ที่เกิดกับ “ร้านค้า”

16

ภาพจาก freepik.com

  1. การที่สถาบันการเงินยอมให้ผู้ถือบัตรเครดิตซื้อสินค้าด้วยการผ่อน 0% ย่อมทำให้ลูกค้าเกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าภายในร้านมากขึ้น และเร็วขึ้น
  2. ร้านค้ามียอดขายสินค้าเพิ่มมากขึ้น
  3. ร้านค้าไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงที่ลูกค้าจะไม่จ่ายเงินให้กับทางร้าน แต่ให้สถาบันการเงินเข้ามาแบกรับในเรื่องของการผ่อนชำระให้
  4. ร้านค้าไม่ต้องเช็กเครดิตของลูกค้าที่จะมาซื้อสินค้าภายในร้าน เพราะลูกค้าที่ถือบัตรเครดิตย่อมได้รับการ ตรวจสอบเครดิตมาแล้วจากทางสถาบันการเงิน

นอกจากนี้กับดักของคำว่า 0% ยังมีอีกมากมายเช่นดอกเบี้ย 0% เฉพาะ 3 เดือนแรก ซึ่งถ้าเราซื้อสินค้าเงินผ่อน หรือกู้เงินซื้อบ้านที่มีโปรโมชั่นแบบนี้ จะทำให้ผ่อนด้วยจำนวนเงินที่จ่ายเท่ากันต่อเดือนในช่วงแรกและไม่เสียดอกเบี้ย ฉะนั้นกับดักของดอกเบี้ย 0% แบบมีเงื่อนไขนี้ ก็คือ โปรโมชั่นไม่เสียดอกเบี้ยถึง 3 เดือน 6 เดือน

15

ภาพจาก freepik.com

ซึ่งส่วนใหญ่จะร่วมรายการกับสินค้าที่มีมูลค่ามาก เพราะมีดอกเบี้ยเยอะ การล่อซื้อด้วยโปรโมชั่นสุดพิเศษนี้ จึงทำมาสำหรับคนที่ต้องการลดหย่อนดอกเบี้ยจริง ๆ เพียงเพราะไม่ต้องการจ่ายดอกในระยะสั้น และทำให้เราตัดสินใจซื้อสินค้าชิ้นนั้นได้ง่ายขึ้น

เพราะเรายอมที่จะไม่เสียดอกเบี้ยช่วงแรก แต่สุดท้ายเมื่อเราเลือกเงื่อนไขนี้ ก็เท่ากับว่าเราจะต้องเสียดอกเบี้ยช่วงหลังไปตลอด จนกว่าจะผ่อนสินค้าหมดซึ่งถ้าเรามีวินัยในการผ่อนชำระ เรื่องนี้ก็จะเป็นประโยชน์สำหรับเรา แต่ถ้าใช้จ่ายแบบไม่คิดหน้าคิดหลังให้ดี คำว่า 0% จะทำให้ลูกค้าเป็นฝ่ายเสียเปรียบได้มากที่สุดเช่นกัน


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3rb5v0n , https://bit.ly/3kIM8ZV , https://bit.ly/3kCuJ5h , https://bit.ly/3q6yFfv

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3gdCqh2

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด