ภาพรวมและสถิติธุรกิจแฟรนไชส์ไทยตลอดปี 2559

จากรายงานของ สมาคมแฟรนไชส์ไทย ระบุว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยมีประวัติความเป็นมานานกว่า 20 ปี ปัจจุบันมีแฟรนไชส์กว่า 90,000 ราย เกิดใหม่วันละ 20 แห่ง และจากการศึกษาของ สสว.และฐานข้อมูลเอสเอ็มอี คาดว่าจะมีจำนวนผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์เพิ่มเป็น 850 บริษัท และตลาดแฟรนไชส์จะมีมูลค่าประมาณ 200,000 ล้านบาท ในปี 2560

ดังนั้น ธุรกิจแฟรนไชส์ จึงเป็นธุรกิจที่น่าจับตามอง ว่าสามารถทำให้คนธรรมดาเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัวได้ เพียงแค่เรียนรู้งาน เรียนรู้ระบบแฟรนไชส์ อีกทั้งช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ ขยายตัวและส่งเสริม GDP ให้กับประเทศได้อีกทางหนึ่ง

สมาคมแฟรนไชส์ไทย

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ได้เห็นว่าธุรกิจแฟรนไชส์กำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง และโอกาสของธุรกิจแฟรนไชส์ในปี 2560 คาดว่าจะเติบโตมากกว่าปีที่ผ่านมา จึงได้รวบรวมข้อมูลแฟรนไชส์แต่ละกลุ่ม

ณ วันที่ 20 ธันวาคม 2559 จัดทำเป็นภาพรวมและสถิติธุรกิจแฟรนไชส์ไทยในปี 2559 เพื่อให้นักลงทุนมองเห็นภาพรวมการเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ในบ้านเรา เพื่อนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาและดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ

q11

จำนวนธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย (รวม 498 กิจการ)

สถิติจำนวนธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ณ วันที่ 20 ธันวาคม 2559 พบว่ามีจำนวน 498 กิจการ เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่มีธุรกิจแฟรนไชส์อยู่จำนวน 439 กิจการ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 11 กลุ่มแฟรนไชส์ ได้ดังนี้

1.กลุ่มธุรกิจอาหาร (รวม 118 กิจการ)

qq6

ถือเป็นกลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมลงทุนอย่างมาก เห็นได้จากมีผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่มีจำนวน 100 กิจการเท่านั้น ที่สำคัญเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการเติบโตมากกว่าธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มอื่นๆในปี 2559

โดยธุรกิจแฟรนไชส์ที่คนนิยมทำกัน คือ ร้านก๋วยเตี๋ยวมีจำนวน 25 กิจการ คิดเป็นสัดส่วนในระบบแฟรนไชส์ 21.19% รองลงมาคือ ร้านขายสเต็ก และไก่ทอด มีจำนวน 12 กิจการเท่ากัน สัดส่วน 10.17%, ร้านขายลูกชิ้นทอด 9 กิจการ สัดส่วน 7.63%, ร้านอาหาร 6 กิจการ สัดส่วน 5.08%, ร้านลูกชิ้นปิ้ง 5 กิจการ สัดส่วน 4.24% เป็นต้น

qq9

แต่ทั้งนี้ ธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารไทย มีจำนวน 1 กิจการเท่านั้น ถือว่าน้อยมาก ที่สำคัญเป็นกลุ่มธุรกิจที่จะได้รับความนิยมลงทุนในปี 2560 จึงเป็นโอกาสทองของผู้ประกอบการในธุรกิจร้านอาหารไทย ที่จะพัฒนาธุรกิจสู่ระบบแฟรนไชส์

2.กลุ่มเครื่องดื่มและไอศกรีม (รวม 106 กิจการ)

qq11

เป็นกลุ่มแฟรนไชส์อันดับ 2 ที่คนนิยมทำในปี 2559 มีการดำเนินธุรกิจถึง 106 กิจการ คิดเป็นสัดส่วน 21.29% ถือว่าเติบโตขึ้นจากปี 2558 ที่มีจำนวน 97 กิจการเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นแฟรนไชส์กลุ่มร้านกาแฟสด กาแฟโบราณ จำนวน 27 กิจการ คิดเป็นสัดส่วน 25.47% ของแฟรนไชส์เครื่องดื่มและไอศกรีมทั้งหมด

qq10

รองลงมา คือ ร้านขายชานมไข่มุก, ร้านชา จำนวน 21 กิจการ, ร้านไอศกรีม 13 กิจการ, ร้านขายนมสด ขนมปังสังขยา ขนมปังแซนด์วิช 9 กิจการ, ร้านขายน้ำปั่น ผลไม้ปั่น 8 กิจการ, ร้านน้ำแข็งไสปุยนุ่น ไอศกรีมเกล็ดหิมะ น้ำแข็งนมหิมะ 6 กิจการ, ร้านขายไอศกรีมทอด 4 กิจการ, ร้านเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ 4 กิจการ และอื่นๆ

3.กลุ่มการศึกษา (รวม 87 กิจการ)

q20

เป็นอีกกลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่มีจำนวน 78 กิจการ โดยผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มการศึกษา ส่วนใหญ่จะดำเนินธุรกิจสถาบันสอนคณิตศาสตร์ มีมากถึง 18 กิจการ

q21

รองลงมา คือ โรงเรียนกวดวิชา 12 กิจการ, สถาบันสอนอังกฤษสำหรับเด็ก 11 กิจการ, สถาบันสอนภาอังกฤษ 9 กิจการ, สอนศิลปะ พัฒนาความคิด สร้างสรรค์ 8 กิจการ, สถาบันพัฒนาศักยภาพเด็ก 6 กิจการ, โรงเรียนจินตคณิต คณิตคิดเร็ว 5 กิจการ และอื่นๆ

4.กลุ่มบริการ (รวม 39 กิจการ)

q14

ถือเป็นกลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์ที่กำลังมาแรงในปี 2559 มีการเติบโตก้าวกระโดดแซงหน้ากลุ่มแฟรนไชส์โอกาสทางธุรกิจ ขึ้นมาอยู่อันดับที่ 4 โดยมีผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่มีจำนวน 34 กิจการ

ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจ ไปรษณีย์, บริการเติมเงินมือถือออนไลน์, รับชำระค่าสินค้าและบริการ จำนวน 12 กิจการ รองลงมาคือ ศูนย์บริการดูแล, รักษารถยนต์ครบวงจร, คาร์แคร์ จำนวน 4 กิจการ, จำหน่ายตั๋วเครื่องบิน, ท่องเที่ยวครบวงจร จำนวน 4 กิจการ, บริการซัก อบ รีด จำนวน 3 กิจการ และอื่นๆ

5.กลุ่มโอกาสทางธุรกิจ (รวม 38 กิจการ)

qq2

แม้ว่าจะเป็นรองกลุ่มแฟรนไชส์บริการแค่ 1 กิจการเท่านั้น แต่ในแง่การเติบโตดีขึ้นมากกว่าปี 2558 ที่มีจำนวน 34 กิจการ จึงน่าจะเป็นอีกกลุ่มแฟรนไชส์ที่น่าสนใจในปี 2560 โดยในปี 2559 คนนิยมทำธุรกิจแฟรนไชส์เกี่ยวกับ ตู้เติมเงินออนไลน์, ธุรกิจหยอดเหรียญ มากถึง 10 กิจการ และตัวแทนจำหน่าย 10 กิจการ

qq3

รองลงมา คือ ธุรกิจเครือข่าย, MLM จำนวน 9 กิจการ, ธุรกิจขายตรง 2 กิจการ, ธุรกิจรีไซเคิล 2 กิจการ, ค้าปลีกทองคำ 2 กิจการ, บริการด้านห้องพักโรงแรมรีสอร์ทระดับ 3 – 5 ดาวกับสมาชิก 2 กิจการ และอื่นๆ

6.กลุ่มค้าปลีก (รวม 30 กิจการ)

qq5

ภาพจาก facebook.com/iroiromadeinjapan

เป็นอีกกลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์ที่เติบโตขึ้นจากปี 2558 ที่มีจำนวน 23 กิจการ โดยในปี 2559 มีผู้ประกอบการให้ความสนใจทำธุรกิจแฟรนไชส์จำนวนเท่ากันกับกลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์เบเกอรี่

qq4

ธุรกิจที่คนนิยมทำแฟรนไชส์มากที่สุด คือ ร้านสะดวกซื้อ, มินิมาร์ท, ห้างสรรพสินค้า จำนวน 7 กิจการ รองลงมา คือ ตัวแทนจำหน่าย 6 กิจการ, ร้านขายยา 3 กิจการ, ร้านจำหน่ายสินค้านำเข้า สินค้าแบรนด์เนม 2 กิจการ, ร้านสินค้าราคาเดียว 2 กิจการ, ร้านขายเฟอร์นิเจอร์ 1 กิจการ และอื่นๆ

7.กลุ่มเบเกอรี่ (รวม 30 กิจการ)

q13

มีการเติบโตขึ้นจากปี 2558 ที่มีจำนวนธุรกิจ 27 กิจการ ถือว่าเป็นกลุ่มแฟรนไชส์ที่ยังได้รับความนิยมลงทุนอยู่เรื่อยๆ แม้ว่าจะไม่หวือหวามากนัก แต่ก็ยังเติบโตต่อเนื่อง อย่างช้าๆ โดยธุรกิจแฟรนไชส์ที่คนนิยมทำกันในปี 2559 คือ ร้านขายขนม, ขนมอบกรอบ, เครปญี่ปุ่น จำนวน 9 กิจการ รองลงมา คือ ร้านเบเกอรี่, ขายขนมปัง จำนวน 5 กิจการ

q15

ร้านขายวอฟเฟิล, แพนเค้ก จำนวน 5 กิจการ, ร้านขายขนมไข่ ขนมไข่มด จำนวน 3 กิจการ, ร้านทาโกยากิ, ขนมครก, ขนมครกญี่ปุ่น จำนวน 3 กิจการ, ร้านขายไหมสวรรค์, ขนมปุยฝ้าย จำนวน 2 กิจการ และอื่นๆ

8.กลุ่มความงาม (รวม 24 กิจการ)

q17

มีการเติบโตขึ้นเล็กน้อย ในปี 2558 มีจำนวน 22 กิจการ ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจแฟรนไชส์ร้านขายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ, สมุนไพร และร้านขายเครื่องสำอาง จำนวน 6 กิจการเท่ากัน รองลงมา คือ ศูนย์ความงามครบวงจร, สถานความงาม, สปา และร้านขายบิ๊กอาย, คอนแทคเลนส์ มีจำนวน 4 กิจการเท่ากัน, ร้านขายน้ำหอม 2 กิจการ และอื่นๆ

9.กลุ่มงานพิมพ์ (รวม 17 กิจการ)

q18

ถือเป็นกลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีการเติบโตขึ้นเช่นกัน แต่ไม่มากนัก โดยในปี 2558 มีจำนวน 16 กิจการ ถือว่ายังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นเพราะลงทุนสูง และมีการแข่งขันกันสูง สิ่งพิมพ์ต่างๆ ก็ปิดตัวลงด้วย

q16

โดยธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มงานพิมพ์ ที่คนนิยมทำกัน คือ ศูนย์บริการงานพิมพ์, ถ่ายเอกสาร จำนวน 8 กิจการ, ร้านพิมพ์ภาพลงบนวัสดุ, สกรีนเสื้อ, เครื่องพิมพ์เคส จำนวน 5 กิจการ, ร้านบริการถ่ายรูป, โฟโต้แลป จำนวน 2 กิจการ และอื่นๆ

10.กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (รวม 7 กิจการ)

q19

facebook.com/FranchiseCentury21Thailand

มีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่มีจำนวน 6 กิจการ โดยธุรกิจแฟรนไชส์ที่คนทำมากที่สุด คือ ตัวแทน, นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 5 กิจการ, ธุรกิจสร้างบ้าน 1 กิจการ และ ธุรกิจผลิตมุ้งลวด 1 กิจการ

11.กลุ่มหนังสือ วิดีโอ (รวม 2 กิจการ)

เป็นกลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีการเติบโตน้อยที่สุด มีจำนวน 2 กิจการ เท่ากับช่วงปี 2558 โดยเป็น ศูนย์เช่าวีดีโอ, วีซีดี, ดีวีดี จำนวน 1 กิจการ และ ร้านหนังสือ, บริการให้เช่ายืมหนังสือ จำนวน 1 กิจการ

จะเห็นได้ว่า ในรอบปี 2559 กลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมลงทุน และมีผู้ประกอบการธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์มากที่สุด คือ กลุ่มธุรกิจอาหาร ที่มีมากถึง 118 กิจการ รองลงมา คือ กลุ่มเครื่องดื่มและไอศกรีม จำนวน 106 กิจการ, กลุ่มการศึกษา จำนวน 87 กิจการ, กลุ่มบริการ 39 กิจการ

ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์บริการในรอบปี 2559 จำนวน 39 กิจการ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในการทำธุรกิจ แซงหน้ากลุ่มแฟรนไชส์โอกาสทางธุรกิจขึ้นมาอีกหนึ่งอันดับ ที่มีจำนวน 38 กิจการในปี 2559

ขณะที่กลุ่มแฟรนไชส์ค้าปลีกและเบเกอรี่ ก็ยังเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีการเติบโตต่อเนื่องเช่นเดียวกัน และมีโอกาสเติบโตในปี 2560 เพราะเห็นจากสถิติในปี 2559 ทั้ง 2 กลุ่มแฟรนไชส์มีผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นจากปี 2558 โดยกลุ่มค้าปลีกและเบเกอี่ มีจำนวนธุรกิจ 30 กิจการเท่ากัน แต่กลุ่มค้าปลีกมีการเติบโตก้าวกระโดดจากปี 2558 มากกว่ากลุ่มเบเกอรี่

นั่นแสดงให้เห็นว่า ธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มอาหาร เครื่องดื่มและไอศกรีม กลุ่มการศึกษา กลุ่มบริการ และค้าปลีก เป็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่งในปี 2560 และมาดูอีกครั้งว่าแฟรนไชส์กลุ่มไหนรุ่ง กลุ่มไหนร่วง ในช่วงท้ายปี 2560

สามารถดูการสรุปสถิติ และแนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย ปี 2559 เพิ่มเติมได้ที่ goo.gl/2LHdV9

อ้างอิงข้อมูลจาก https://bit.ly/2HzVQi3

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช