พ่อค้าของเล่น! สู่ธุรกิจขนมในตำนานยอดขาย 1,000 ล้าน

การสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่แข็งแกร่งทำให้ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคสมัยเราก็ยังมีภาพจำและนึกถึงสินค้าเหล่านั้นได้เสมอ ในหมู่ขนมขบเคี้ยว ถ้าให้พูดถึงยี่ห้อ เราต้องนึกถึงโปเต้ คอนเน่ ปาปริก้า แม้ทุกวันนี้จะไม่เน้นเรื่องการโฆษณาแต่ก็ไม่มีผลกระทบต่อยอดขายเพราะกลายเป็นสินค้าขายดีที่เหมือนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน

อย่างไรก็ดีกว่าที่แบรนด์นี้จะเติบโตมาได้ www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งการปั้นแบรนด์ที่ล้มลุกคลุกคลานได้กลายเป็นประสบการณ์ที่ดีซึ่งกว่าจะมีวันนี้คุณเพรียว ปุษยไพบูลย์ ได้ผ่านมาหลายอาชีพกว่าจะกลายมาเป็นบริษัท อาหารยอดคุณ จำกัดที่มีรายได้มากกว่า 1,000 ล้านบาท

จากเด็กขายกาแฟ เปิดร้านขายของเล่น สู่บริษัท อาหารยอดคุณ จำกัด

พ่อค้าของเล่น

ภาพจาก https://bit.ly/3vxuKP9

ไม่มีความสำเร็จที่เป็นสูตรตายตัว ในวัยเด็กของคุณเพรียว ทำมาหลายอาชีพตั้งแต่เปิดร้านขายกาแฟโบราณ ขายขนมปัง เปิดร้านขายหมูสะเต๊ะ แถวเยาวราช แม้จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจขนมขบเคี้ยวใดๆ เลย แต่อาชีพเหล่านี้ก็ได้ฝึกให้รู้จักการขายที่สะสมเป็นประสบการณ์มาอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่เรียกว่า “หัวการค้า” ทำให้เริ่มมองหาช่องทางหาเงินอื่นๆ นำไปสู่ การเปิดร้านขาย “ของเล่น” ที่เริ่มด้วยการติดต่อสินค้านำเข้ามาขายในร้านปรากฏว่าของเล่นขายดีมาก และได้ ตั้งชื่อว่า “ห้างล้ำฟ้า” โดยเน้นการขายของเล่นเป็นหลัก

6

ภาพจาก www.facebook.com/Yodkhunfood

เมื่อจับจุดธุรกิจถูกทาง ดำเนินหลักการค้าขายบนความไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ทำให้กิจการเติบโตมาเป็นลำดับ หลังจากที่ส่งลูกๆ เรียนจบ เริ่มมีเงินทุนสะสมจำนวนหนึ่ง ก็เริ่มคิดต่อยอดธุรกิจให้เติบโตมากขึ้น และมองเห็นว่าตลาดขนมขบเคี้ยวในสมัยนั้นยังไม่ค่อยมี คู่แข่งก็น้อย แต่ตลาดมีความต้องการสูง นำไปสู่การก่อตั้งบริษัท อาหารยอดคุณ ในปี 2527 ดำเนินธุรกิจขนมขบเคี้ยวเป็นหลัก โดยพื้นที่แรกเริ่มในการก่อตั้งบริษัทใช้พื้นที่ 3.5 ไร่ แต่ทุกวันนี้ได้ขยายกิจการโรงงานอยู่บนพื้นที่กว่า 64 ไร่

เปิดตัวสินค้าแรกคือ “โปเต้” พร้อมสโลแกนที่ฮิต “กรอบเกลียว เคี้ยวโปเต้”

สินค้าแรกที่เปิดตัวคือ “โปเต้” ที่มาพร้อมสโกแกนฮิต “กรอบเกลียว เคี้ยวโปเต้” ที่นับจากวันนั้นถึงวันนี้สโลแกนนี้ยังฮิตติดอยู่ในความทรงจำเป็นภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่แข็งแรงมาก เหตุผลที่ทำให้ “โปเต้” ฮิตติดตลาดในเวลาอันรวดเร็วได้แก่

1.การพัฒนาสินค้าที่แตกต่าง

พ่อค้าของเล่น

ภาพจาก www.facebook.com/Yodkhunfood

โดยในยุคนั้นขนมขบเคี้ยวส่วนใหญ่เป็นแท่งตรง การพัฒนาให้เป็นแท่งเกลียวจึงเป็นอีกมิติสินค้าใหม่ที่น่าสนใจ ทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงความแตกต่าง

2.สโลแกนฮิตติดหู เป็นภาพจำสินค้าที่ดี

พ่อค้าของเล่น

ภาพจาก www.facebook.com/Yodkhunfood

กรอบเกลียว เคี้ยวโปเต้ เป็นสโลแกนที่บ่งบอกรูปลักษณ์ของสินค้าได้เป็นอย่างดี และเป็นคำที่จำง่าย สื่อสารได้ง่าย ทุกวันนี้สโลแกนนี้ก็ยังไม่เคยเปลี่ยนแปลง

3.สินค้าที่รักษาคุณภาพไม่เคยเปลี่ยนแปลง

พ่อค้าของเล่น

ภาพจาก www.facebook.com/Yodkhunfood

โปเต้เป็นขนมขบเคี้ยวที่เชื่อว่าสำหรับคนอายุ 30 ปีขึ้นไปจำได้เป็นอย่างดี แม้ทุกวันนี้เด็กรุ่นใหม่เองก็นิยมขนมนี้ไม่ต่างกัน สิ่งที่จำได้คือรสชาติที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง ตอนเด็กเป็นยังไงตอนนี้รสชาติก็ยังเหมือนเดิม

รายได้มากกว่า 1,000 ล้านพร้อมต่อยอดสินค้าใหม่

2

ภาพจาก www.facebook.com/Yodkhunfood

ในปี 2563 รายได้บริษัทอาหารยอดคุณ จำกัด ประมาณ 2,062 ล้านบาท ซึ่งนอกจากโปเต้ที่เป็นสินค้าตัวแรก ต่อมาได้ขยายกำลังการผลิต เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด คือ มันฝรั่งกรอบรสพริกตรา ปาปริก้า ก่อนจะตามมาด้วยข้าวโพดกรอบตรา คอนเน่ ในปี 2529 นอกจากนี้ยังมีการแตกไลน์สินค้าที่น่าสนใจอีกมากเพื่อให้ครบทุกความต้องการของผู้บริโภค โดยมีบริษัทในเครือได้แก่บริษัท ยูนิแชมป์ จำกัด

ก่อตั้งในปี 2532 มีสินค้าที่น่าสนใจได้แก่

พ่อค้าของเล่น

ภาพจาก www.facebook.com/Yodkhunfood

  • ปี 2533 เปิดตัวคุ้กกี้สอดไส้พีนัทบัตเตอร์และผลไม้ตรา เดนม่า
  • ปี 2534 เปิดตัวสินค้ามันฝรั่งแผ่นตรา ก๊อบกอบ
  • ปี 2535 เปิดตัวคุ้กกี้รวมรสตรา มาติเน่
  • ปี 2536 เปิดตัวผลิตภัณฑ์อาหารเช้าธัญพืชตรา โดเน่
  • ปี 2546 เปิดตัวบิสกิตรสเนย ตรา วินเน่

เคล็ดลับสำคัญในการทำธุรกิจที่ทำให้โปเต้ ปาปริก้า คอนเน่ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ กลายเป็นสินค้าขายดีในทุกยุคสมัย คือการยึดหลักธุร กิจแบบที่ทุกฝ่ายต้องได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน เพราะคุณเพรียวเชื่อว่า ธุรกิจจะอยู่รอดหรือเติบโตไปได้ต้องไม่เอารัดเอาเปรียบลูกค้า ผู้บริหารที่ดีต้องเก่งทั้งเรื่องงานและคน จะพาองค์กรไปข้างหน้าได้ เพราะหัวใจหลักในการขับเครื่อนทั้งองค์กรคือ คน นั่นเอง ถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของการทำธุรกิจที่คนรุ่นใหม่ควรศึกษาซึ่งถือว่ามีประโยชน์และเป็นนำไปปรับใช้ได้กับทุกธุรกิจยุคนี้

 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3rfufXw , https://bit.ly/3JMNPAZ , https://bit.ly/3IcIbaJ , https://bit.ly/3HejxWa

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3pCKdK3


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด