ปี2019 ยุคที่คนกอดงานประจำให้แน่น อาจดีที่สุด!

ในยุคนี้ คนรุ่นใหม่ไฟแรงก็ต้องการที่จะมีธุรกิจเป็นของตัวเองไม่ว่าจะธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ การไม่อยากเป็นลูกจ้าง เบื่อนายจ้าง ความไม่มั่นคง

การเติบโตมาในยุคอินเตอร์เน็ตที่เห็นภาพของความสำเร็จในธุรกิจอื่น ๆ เต็มไปหมด บางคนอายุน้อยกว่าเราแต่ดูร่ำรวย ทำธุรกิจแล้วมีชีวิตที่ดี ซึ่งทั้งหมดเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เด็กรุ่นใหม่เกิดกระแสไม่อยากเป็นลูกจ้าง และอยากออกมาลงทุนทำธุรกิจเอง

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ก็ได้ไปเจอกับกระทู้พันทิปกระทู้หนึ่งที่เจ้าของกระทู้ตั้งว่า “รู้สึกพลาดมากที่ลาออกจากงานประจำ” ซึ่งประเด็นนี้ค่อนข้างน่าสนใจ และดูจะสวนกระแสกับเทรนด์ของคนรุ่นใหม่ที่อยากจะลงทุนและมีธุรกิจเป็นของตัวเอง แล้วเราควรจะไปทางไหนดี ?

ความเสี่ยงที่ต้องเผชิญหลังออกจากงานประจำ

26

ภาพจาก bit.ly/2ZioZWO

“รู้สึกพลาดมากที่ลาออกจากงานประจำ” ภายในกระทู้นี้ เจ้าของกระทู้ได้เขียนระบายความรู้สึกหลังออกจากงานประจำ พร้อมกับเขียนเชิงตักเตือนคนที่คิดจะออกจากงานแล้วมีความหวังที่จะพึ่งน้ำบ่อหน้า โดยเนื้อหามีดังนี้

25

จากกระทู้ pantip.com/topic/39166896

“เรารู้สึกพลาดมากที่ออกจากงานประจำ สาเหตุคือที่บ้านเรามีธุรกิจส่วนตัว แล้วอยากให้เราไปช่วย กล่อมเราต่างๆนาๆจนเรายอมและลาออกจากงานประจำ ซึ่งพอไปทำให้เงินน้อยกว่าที่คุยกันและเราไม่สามารถทำงานนั้นได้ และมีอีกหลายๆเหตุผลที่เราตัดสินใจบอกกับเขาว่า เราไม่สามารถทำได้ เราขอกลับไปทำงานประจำของเรา แต่!!! มันไม่จบแค่นั้น งานประจำตอนนี้หายากมากเลยค่ะเราสัมภาษณ์เป็น10ๆที่ ก็รอเรียกอย่างเดียวยังไม่มีที่ไหนเรียกเลย เราไม่ได้เลือกงาน งานไหนติดต่อมาก่อนเราก็จะรับเลยค่ะ  แต่มันยังไม่มีที่ไหนติดต่อมาเลย อยู่ๆเราก็กลายเป็นคนตกงานเพราะตัวเราเอง เศรษฐกิจแบบนี้ ถ้าใครมีงานประจำทำกอดงานประจำไว้ให้แน่นๆนะคะ อย่าพลาดแบบเรา ปาดน้ำตาหางานวนไป”

จะเห็นว่าความเสี่ยงที่เจ้าของกระทู้นี้ต้องเผชิญนั้นคือ “ความไม่แน่นอน” อีกเช่นกัน ความไม่แน่นอนจากรายได้ที่เราไม่สามารถรู้เลยว่าจะได้มากกว่าหรือน้อยกว่างานประจำที่เคยทำ อีกทั้งปัญหาใหม่ ๆ ที่เข้ามา ความสามารถในการปรับตัวของเรา

ซึ่งถ้าหากเรารับมือสภาวะใหม่นี้ไม่ไหว แล้วต้องการที่จะกลับไปหางานประจำแต่ก็อาจจะสายเกินไป ด้วยอายุบ้าง ด้วยวิกฤตเศรษฐกิจที่ผันผวนที่ผู้ประกอบการไม่พร้อมรับพนักงานเพิ่ม

ซึ่งขณะที่เจ้าของกระทู้มาโพสต์ลงในพันทิปนั้นก็ได้กลายเป็นคนตกงาน ตกลงแล้วทำงานเป็นลูกจ้างหรือลาออกมาทำธุรกิจของตัวเอง อะไรจะไม่แน่นอนกว่ากัน?

งานประจำก็ใช่ว่าจะเป็นเซฟโซนของชีวิตได้เสมอไป

24

ภาพจาก bit.ly/2ZluQKV

กรณีของเจ้าของกระทู้ข้างต้นมีส่วนที่ทำให้เรารู้สึกว่าจะต้องเกาะเก้าอี้ไว้ให้แน่นไม่ไปไหน อยู่ในเซฟโซนไม่เสี่ยงกับ “ความไม่แน่นอน” รูปแบบอื่น ๆ งานประจำนั้นมีรายได้ให้เราใช้เรื่อย ๆ เดือนต่อเดือน รู้ว่าเงินจะได้เท่าไหร่ ได้วันไหน เลิกงานกี่โมง มีตารางวันหยุดที่แน่ชัด

ยิ่งไปกว่านั้นเราสามารถกู้ซื้อบ้านรถได้ง่าน เพราะรายได้ที่แน่นอนของเราสามารถขอสินเชื่อจากธนาคารง่ายขึ้น อีกทั้งโบนัสก้อนโตและสวัสดิการ ซึ่งนี่ก็เป็นข้อดีของการทำงานประจำ หากจะลาออกแน่นอนว่าคิดหนัก

23

ภาพจาก bit.ly/2LgroY8

แต่ข้อเสียของการเป็นลูกจ้างย่อมต้องมี เนื่องจากผลตอบแทนต่ำ ทำงานหนักแต่ก็อาจจะไม่รวย และการที่เราทำงานซ้ำ ๆ เดิม ๆ ส่งผลทำให้เราเฉื่อยชา ไม่มีแรงใจในการทำงาน อีกทั้งมีปัญหาจุกจิกกับเจ้านาย เพื่อนร่วมงาน เรื่องอิสระไม่ต้องพูดถึง ไปไหนตามใจไม่ได้อยู่แล้ว

การโดนสั่งให้ทำงานฟรีเกินเวลาก็ต้องมีแน่นอน และยังต้องมีการประเมิน การวัดผลงาน ซึ่งมีผลต่อการอยู่ต่อหรือการปรับขึ้นเงินเดือน ไม่มีความมั่นคงในการทำนาย เพราะเจ้านายจะเชิญคุณออกเมื่อไหร่ก็ได้

ถ้าหากเราเบื่องานประจำแล้ว เราก็ต้องมองหาอย่างอื่นทำ ทำในสิ่งที่เรารักและอยากลงมือทำ ซึ่งจะทำให้เรามีโอกาสเติบโตขึ้น นอกจากการลงทุนทำธุรกิจแล้ว อีกหนึ่งทางเลือกที่หลายคนนิยมทำกันคือ “ฟรีแลนซ์”

หรือจะเลือกอาชีพที่บอกกันว่า เงินดีแถมฟรีดอมแบบ “ฟรีแลนซ์” ?

22ภาพจาก bit.ly/3482nr0

อาชีพฟรีแลนซ์ (Freelance) คือ ผู้ที่มีอาชีพรับจ้างอิสระ ที่ไม่ขึ้นตรงต่อหน่วยงานหรือองค์กรใด ๆ ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องตารางเวลาทำงานนั้น เราเป็นผู้กำหนด มีเวลาที่ยืดหยุ่น อยากลาหยุดก็ไม่ต้องขออนุญาตใคร การรับเงินจากผู้ที่มาจ้าง ก็จะเป็นลักษณะที่เรากับเขาต้องตกลงกันเอง

บรรยากาศกาศการทำงานก็เลือกได้เอง อยากจะนั่งชิลที่ร้านกาแฟ อยากนั่งทำงานกลางป่ากลางเขาหรือกลางบ้านก็ไม่มีใครว่า ไม่ถูกตีกรอบเหมือนการใช้ชีวิตในออฟฟิศ อีกทั้งเรายังสามารถใช้ไอเดียของเราได้อย่างเต็มที่

ผู้ที่จ้างเราแค่คิดคอนเสปต์กว้าง ๆ และกำหนดเงื่อนไขเล็กน้อยเท่านั้น เราไม่ต้องทะเลาะกับเจ้านาย หัวหน้าหรือเพื่อนในทีม ซึ่งเราอาจแสดงความคิดเห็นได้ค่อนข้างน้อย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เราเสียสุขภาพจิต

แน่นอนว่าทุกอาชีพทุกสายงานมีข้อดีและข้อเสีย ข้อเสียข้อสำคัญที่เราต้องเจอไม่ต่างจากงานประจำและการทำธุรกิจก็คือเรื่อง “ความไม่แน่นอน” เพราะงานบางอยางของฟรีแลนซ์ก็ขึ้นอยู่กับฤดูกาล เทศกาล บางช่วงอาจมีงานเข้ามาจนล้นมือ แทบไม่ได้หลับไม่ได้นอน บางช่วงงานน้อยจนใจหาย ซึ่งเราก็ต้องเผชิญกับรายได้ที่ไม่แน่นอนเช่นกัน

เวลาที่ยืดหยุ่นก็ก่อให้เกิดความขี้เกียจ หากใครที่วินัยหย่อนยาน ความขี้เกียจก็จะเป็นอุปสรรคตัวใหญ่ของงานประเภทนี้ หากคุณมีโปรเจกต์ที่ต้องทำหลายชิ้นภายใน 5 วัน แต่ขอนั่งนอนแบบชิล ๆ ก่อน เผลอ ๆ โปรเจกต์นี้อาจจะผิดพลาด

เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินเราอาจจะแก้ไขไม่ทัน เพราะทำงานเฉียดเดทไลน์ ซึ่งหากงานไม่ราบรื่นแน่นอนว่าโปรไฟล์ของเราอาจถูกแชร์ต่อให้คนไม่อยากจ้าง ยุคนี้อะไรก็ไวไปหมด!

บางครั้งฟรีแลนซ์ต้องยอมขาดทุนเพื่อให้ได้ผลงาน เพราะบางทีลูกค้าตั้งมาตรฐานสูง เราก็ต้องลงทุนสูงตามไปด้วย อย่างวัสดุที่ต้องทำออกมาให้ดีก็ต้องมีราคาสักหน่อย ซึ่งถ้าหากผู้จ้างให้ทุนน้อยก็ต้องเข้าเนื้อไปตามระเบียบ ไม่เหมือนกับคนที่ทำงานประจำที่ยังขอเบิกงบได้

ข้อสำคัญอีกประการคือ ชาวฟรีแลนซ์เสี่ยงที่จะสุขภาพเสียมากกว่าผู้ที่ทำงานประจำ เพราะถ้างานเยอะงานเร่งเราก็ต้องปั่นให้ทันเวลา บางวันให้รางวัลตัวเองอยากอยู่ว่าง ๆ ดูหนัง เล่นเกมส์หรือนอนทั้งวัน

ซึ่งตารางชีวิตที่ไม่แน่นอนนี้ส่งผลแน่นอนต่อสุขภาพในระยะยาว ถ้าหากใครไม่สามารถจัดตารางเวลาให้เป๊ะได้ แล้วจะทำอาชีพนี้ตลอดชีวิตก็เตรียมใจไว้ได้เลยว่าเราอาจจะทำงานเพื่อหาเงินไปรักษาตัวเองก็ได้

ออกไปลงทุนเอง สู้กับกรอบงานประจำหรืออิสระแบบฟรีแลนซ์

21

ภาพจาก bit.ly/2U8YcX8

รูปแบบงานทั้งสามแบบนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน แต่จุดร่วมจุดใหญ่ที่เราไม่มีทางหนีพ้นก็คือ “ความไม่แน่นอน” ทุกสายงานทุกอาชีพล้วนประสบพบเจอกับสิ่งนี้ ไม่มีใครสามารถรู้ล่วงหน้า แม้จะวางแผนอย่างแน่นหนา รัดกุมทุกแผนการก็ตาม ทุก ๆ อย่างล้วนมีปัจจัยอื่น ๆ นอกเหนือจากที่เรากำหนด

งานส่วนใหญ่ในโลกนี้ น้อยนักที่จะสบายและได้เงินมาก ในทุก ๆ สายงานให้อะไรเราได้มากกว่าเพียงแค่เรื่องของ “เงิน” แน่นอน ซึ่งก็อยู่ที่เราแล้วว่าเราจะเรียนรู้สิ่งที่เจอได้ดีมากแค่ไหน แล้วสิ่งที่เรียนรู้นั้นเรานำไปแก้ไขและปรับใช้ได้หรือไม่

www.ThaiSMEsCenter.com ก็คิดว่าทุก ๆ สายงานให้อะไรแก่เราแน่นอนไม่มากก็น้อย หากเราอยากปรับเปลี่ยนอาชีพก็ไม่ใช่เรื่องที่เสียหายเช่นกัน แต่ก็ต้องลองชั่งน้ำหนักกับสิ่งที่เราได้รับและต้องเจอว่า ตัวเราจะรับมือไหวหรือไม่ อย่ามัวตามแต่เทรนด์ที่ดูดี จนลืมตรวจเช็คตัวเองและความเป็นจริงที่ต้องเจอ


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

อ้างอิงข้อมูล