ปี 2017 ธุรกิจแอพพลิเคชั่น ไม่ใหญ่จริง อยู่ยาก!

หลายคนตั้งคำถามว่าธุรกิจในปี 2017 ยังมีพื้นที่ว่างให้กับ นักธุรกิจ หน้าใหม่ได้เข้ามาสอดแทรกกันบ้างหรือไม่ คำตอบของข้อนี้ต้องแยกเป็นทีละเคส ก่อนหน้านั้นก็ต้องถามกลับไปว่าธุรกิจที่คิดจะทำนั้นเกี่ยวกับอะไร ถ้าเป็นธุรกิจอาหาร งานบริการ หรือว่าสินค้าทั่วไป พื้นที่ว่างขึ้นอยู่กับไอเดียการค้าแต่ก็น่าจะสอดแทรกขึ้นมาได้บ้าง

ในทางกลับกันถ้าคิดจะทำธุรกิจด้านแอพพลิเคชั่นที่กำลังได้รับความนิยมกันบนจอมือถือสมาร์ทโฟนต่างๆ ไม่ได้อยากตัดกำลังใจแต่ www.ThaiSMEsCenter.com ขอบอกว่า งานนี้ไม่ใหญ่จริง ถือว่าอยู่ยากมาก

ทำไมธุรกิจแอพพลิเคชั่น 2017 จึงไม่ใช่เวทีของผู้ประกอบการรายเล็ก?

นักธุรกิจ

ภาพจาก goo.gl/1hEieC

จากข้อมูลในปี 2016 ของผลการสำรวจเรื่องนี้จาก Nielsen และ ComScore มีผลลัพธ์ที่เหมือนกันมากนั่นคือการเข้ายึดครองตลาดของปลาใหญ่อย่าง Facebook และ Google ที่เหนียวแน่นยิ่งขึ้น โดยผู้นำในวงการนี้คือ “Facebook” ตามมาด้วย Facebook Messenger, YouTube, Google Maps, Google Search, Google Play, Gmail และ Instagram ตามลำดับ

และคาดหมายกันว่าเปอร์เซ็นการเติบโตที่น่าสนใจนั้นอยู่ที่ Facebook Messenger และ Instagram เนื่องจากมีการเติบโตด้านจำนวนผู้ใช้มากงานขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาถึง 28 เปอร์เซ็นต์ และ 36 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ

จากตัวเลขภาพรวมดังกล่าว ตลอดจนปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดปี 2016 นั้น เชื่อว่าได้สะท้อนให้เห็นถึงหลายๆ อย่างที่จะเกิดขึ้นในปี 2017 ออกมาแล้วไม่มากก็น้อย นั่นคือตลาดแอปพลิเคชันได้กลายเป็นสมรภูมิระหว่างสองปลายักษ์อย่าง Google และ Facebook ให้ฟาดฟันกันเรียบร้อย แถมยังเป็น Facebook ที่มีแต้มต่อเหนือกว่า Google ด้วย

ความหวังของธุรกิจแอพพลิเคชั่นรายเล็ก ที่พอเหลืออยู่?

bv5

ภาพจาก goo.gl/iLBb1r

นอกจากตัวเก็งในธุรกิจอย่าง Google และ Facebook อีก 2 ค่ายที่ถือได้ว่าเป็นรายใหญ่และมีบทบาทในวงการนี้คือ Apple และ Amazon โดย 2 รายหลังนั้นมีตัวเลขการเติบโตต่อเนื่องทั้งนี้ก็อยู่ที่กลยุทธ์การตลาดว่าจะงัดไม้ตายอย่างไรออกมาสู้กับตัวเต็งได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ แต่แน่นอนว่าเรื่องส่วนแบ่งการตลาดจะต้องมีทาร์เก็ตแชร์ของ 4 ค่ายนี้มากที่สุด

ส่วนธุรกิจแอพพลิเคชั่นรายเล็กที่เปิดตัวกันมาแล้วก็ใช่ว่าจะตีบตันหนทางซะทีเดียว ทางที่ดีในการไปสู่ความสำเร็จได้คือการหาตลาดที่พอเหมาะกับธุรกิจของตัวเอง

อย่างเช่น Snapchat ที่อาจใช้ไม้เด็ดจากประสบการณ์ที่เคยทำ Meerkat ที่ปิดตัวไปก่อนหน้านี้ และมีจุดเด่นอยู่ที่บริการ Live Streaming ซึ่งก็น่าจะพอเป็นเข็มเล่มเล็กๆเอาไว้ขู่คู่แข่งที่ยังพอแชร์ส่วนแบ่งการตลาดในพื้นที่มาได้บ้าง

bv7

ภาพจาก goo.gl/MEcqoG

อย่างไรก็ดีแสงสว่างที่แท้จริงของเรื่องนี้คือตลาดแอพพลิเคชั่นในประเทศจีนและรัสเซียที่แม้แต่ Google , Facebook , Apple และ Amazon ก็ยังไม่สามารถเข้าไปแจ้งเกิดได้ เพราะตลาดจีน มี YouKu แทน YouTube ส่วนตลาดรัสเซียทก็มี Yandex แทน Google เช่นกัน ดังนั้นถ้าดำเนินกลยุทธ์ให้ถูกที่ถูกทางธุรกิจแอพพลิเคชั่นรายเล็กอาจไปแจ้งเกิดในกลุ่มประเทศเหล่านี้ได้เช่นกัน

ตลาดแอพพลิเคชั่นในประเทศไทย?

bv8

ภาพจาก goo.gl/2pDecB

ประเทศไทยนั้นในฐานะที่เราเป็นประเทศที่บริโภคเทคโนโลยีจากต่างชาติ ไม่มีแพลตฟอร์มของตัวเอง ข้อมูลต่างๆ ของเราจึงอยู่กับแพลตฟอร์มต่างชาติค่อนข้างมาก

สิ่งที่นักธุรกิจไทยควรจะเตรียมการไว้ก็คือ การไม่ยึดติดกับแพลตฟอร์ม และเก็บ database ของลูกค้าตัวเองออกมาไว้ในที่ที่ปลอดภัยและใช้สร้างประโยชน์นอกแพลตฟอร์มได้ เช่น นำมาใช้ทำกิจกรรมทางการตลาด และการประชาสัมพันธ์ในอนาคต

bv10

ภาพจาก goo.gl/kixue9


SMEs Tipc ( ความหวังของธุรกิจแอพพลิเคชั่นรายเล็ก)

  • หาตลาดที่เหมาะสมกับธุรกิจตัวเอง อย่าคิดแข่งกับรายใหญ่
  • พัฒนาแพลตฟอร์มตัวเองให้มีคุณภาพมากขึ้น
  • พยายามหาเทคนิคใหม่ๆเข้ามาเพิ่มเติม
  • หาวิธีการรุกตลาดที่ผู้นำในวงการนี้ยังไม่สามารถเข้าถึงได้

ข้อมูลจาก goo.gl/gvbs5D

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด