“บางจาก” ซื้อกิจการ “เอสโซ่” ส่งผลอย่างไรกับธุรกิจแฟรนไชส์กาแฟ “อินทนิล”

จากกรณีเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2566 บมจ. บางจาก คอร์ปอเรชั่น ส่งหนังสือแจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่า ที่ประชุมบริษัทเห็นชอบการเข้าซื้อหุ้น และทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของ บมจ. เอสโซ่ (ประเทศไทย) ผ่านการซื้อหุ้นสามัญโดยจำนวน 2,283,750,000 หุ้น หรือ 65.99% ของกิจการดังกล่าวจาก ExxonMobil Asia Holdings โดยมีมูลค่ากิจการ 55,500 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้ทำสัญญาซื้อขายหุ้นเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2566 ที่ผ่านมา

บมจ. บางจาก คาดว่าจะดำเนินการซื้อขายแล้วเสร็จภายในครึ่งหลังของปี 2566 หรืออาจใกล้ๆ สิ้นปี 2566 หลังจากวันทำสัญญา นอกจากนี้บริษัทยังเตรียมทำคำเสนอซื้อหุ้นที่เหลือทั้งหมดของเอสโซ่ จำนวนไม่เกิน 1,177,108,000 หุ้น หรือ 34.01% ของหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมดของ เอสโซ่ ณ วันที่ 30 ก.ย. 2565

หากผู้ถือหุ้นทุกรายของเอสโซ่ตอบรับข้อเสนอซื้อหลักทรัพย์ บางจากจะต้องลงทุน 33,312 ล้านบาท ในกรณีที่คำนวณราคาซื้อขายอ้างอิงจากงบการเงินวันที่ 30 มิ.ย. 2565 หรือ 30,608 ล้านบาท

บางจาก

สำหรับเหตุผลการซื้อกิจการเอสโซ่ครั้งนี้ เป็นไปตามกลยุทธ์ของบางจาก เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของบริษัทในฐานะผู้ประกอบธุรกิจโรงกลั่น และสถานีบริการน้ำมัน เช่น การเพิ่มคลังน้ำมัน และสินค้าผลิตภัณฑ์ที่สามารถจัดเก็บน้ำมันได้รวมกว่า 15 ล้านบาร์เรล และจะเข้าถึงพลังงานได้ในราคาที่เหมาะสมที่สำคัญยังเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจมากกว่า 2 เท่า

ส่วนแหล่งเงินทุนของบางจากจะใช้วงเงินสินเชื่อที่ได้จากสถาบันการเงินซึ่งเพียงพอต่อการเข้าทำธุรกรรมการซื้อขายหุ้น รวมถึงใช้เงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสดของบริษัทในการทำธุรกรรมครั้งนี้เช่นกัน

ทั้งนี้ การซื้อกิจการเอสโซ่ของบาจากในครั้งนี้จะทำให้บางจากมีสถานีบริการน้ำมันกว่า 2,100 แห่ง จากปัจจุบันมีสถานีบริการน้ำมัน 1,400 แห่ง เกือบเทียบเท่า ปตท. ที่มีปั้มอยู่ 2,473 แห่ง และบางจากยังได้ฐานลูกค้าเพิ่มจากเอสโซ่ราวๆ 3.5 ล้านราย เสริมความแข็งแกร่งให้บางจาก โดยหลังจากนี้เอสโซ่สามารถมีสิทธิ์ใช้ตราสินค้าเดิมในการทำตลาดไปอีก 2 ปี

สถานีบริการน้ำมันเอสโซ่ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตโซนตัวเมืองชั้นใน ขณะที่สถานีบริการน้ำมันบางจากอยู่โซนด้านนอก เท่ากับสถานีบริการน้ำมันที่บางจากได้เพิ่มเข้ามาใหม่ก็จะไม่ทับซ้อนกัน ส่วนการแปลงโฉมสถานีบริการน้ำมันเอสโซ่เดิมให้กลายเป็นสถานีบริการน้ำมันบางจากจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี “ในแง่ส่วนแบ่งการตลาดการขายน้ำมัน 2 ค่ายจะรวมกันเป็น 21% (บางจาก 10%+เอสโซ่ 11%) เทียบกับ OR ที่มีส่วนแบ่งตลาด 42%

หลังจากบางจากซื้อเอสโซ่สำเร็จ จะทำให้บางจากมีกำลังการกลั่นน้ำมันเพิ่มเป็นรวม 294,000 บาร์เรลต่อวัน จากปริมาณกำลังการกลั่นน้ำมันของเอสโซ่เดิมอยู่ที่ 174,000 บาร์เรลต่อวัน จะส่งผลให้บางจากกลายเป็นโรงกลั่นที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย แซงหน้าโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ (TOP) ซึ่งมีกำลังการกลั่นอยู่ที่ 275,000 บาร์เรล/วัน

นับจากนี้บางจากจะสามารถดำเนินธุรกิจโรงกลั่นได้ครบวงจรมากขึ้น จัดหาน้ำมันดิบได้หลากหลายขึ้น และได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีการกลั่นที่เสริมกันของโรงกลั่นทั้งสอง และการให้บริการด้านการตลาดที่ครอบคลุมและนำเสนอบริการให้กับลูกค้าได้ยิ่งขึ้นผ่านสถานีบริการน้ำมัน ทั่วประเทศ รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยี

รายได้ “บางจาก” กับ “เอสโซ่”

#บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

  • ปี 2563 รายได้ 136,982 ล้านบาท ขาดทุน 6,967 ล้านบาท
  • ปี 2564 รายได้ 200,695 ล้านบาท กำไร 7,623 ล้านบาท
  • ปี 2565 (9 เดือน) รายได้ 228,895 ล้านบาท กำไร 12,102 ล้านบาท

#บริษัท เอสโซ่ ประเทศไทย (มหาชน) (ESSO)

  • ปี 2563 รายได้ 126,739 ล้านบาท ขาดทุน 7,911 ล้านบาท
  • ปี 2564 รายได้ 172,907 ล้านบาท กำไร 4,443 ล้านบาท
  • ปี 2565 (9 เดือน) รายได้ 199,381 ล้านบาท กำไร 11,072 ล้านบาท

“บางจาก” ขยายธุรกิจกาแฟ “อินทนิล” ในปั้มเอสโซ่

สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหลังบางจากซื้อเอสโซ่ ก็คือ ธุรกิจภายใต้การบริหารของบางจากอย่าง แฟรนไชส์ร้านกาแฟ “อินทนิล” ปัจจุบันมีร้านกาแฟราวๆ 1,000 สาขาทั่วประเทศ (ธ.ค.65) จะสามารถขยายไปในทำเลปั้มน้ำมันเอสโซ่อีกกว่า 700 สาขา นั่นก็เท่ากับว่าจำนวนร้านกาแฟอินทนิลอาจจะเพิ่มขึ้นราวๆ 2,000 สาขาในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า รั้งอันดับ 2 ต่อไปในตลาดร้านกาแฟนอกบ้านในเมืองไทย ขณะที่ “คาเฟ่ อเมซอน” คู่แข่งในเครือ OR มีจำนวนร้านกาแฟกว่า 4,120 สาขาทั้งในและต่างประเทศ โดยแบ่งเป็นสาขาในต่างประเทศจำนวน 355 สาขา ซึ่งในประเทศกัมพูชามีจำนวนสาขามากที่สุด

สำหรับแฟรนไชส์ร้านกาแฟ “อินทนิล” ได้เปิดให้บริการสาขาแรกเมื่อปี 2549 ในสถานีบริการน้ำมันบางจาก บนถนนเจริญกรุงตัดใหม่ จนถึงวันนี้ “อินทนิล” ได้เติบโต ผลิบาน ไปทั่วทุกพื้นที่ของประเทศและต่างประเทศ เช่น ลาว และกัมพูชา ปัจจุบันอินทนิลมีสาขานอกสถานีบริการน้ำมันบางจากมากกว่า 40% คาดว่าจะเพิ่มเป็น 50% ในเร็วๆ นี้ ทั้งนี้ในจำนวนร้านกาแฟอินทนิล 1,000 สาขา แบ่งเป็นสาขาที่บริหารโดยบริษัทฯ 25% ส่วนที่เหลือ 75% เป็นสาขาของผู้ซื้อแฟรนไชส์

ปัจจุบันการเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ร้านกาแฟ “อินทนิล” ยังเป็นการเพิ่มโอกาสสำหรับผู้ประกอบการ รวมถึงผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก หรือกลุ่ม SME ให้สามารถมีช่องทางในการดำเนินธุรกิจร้านกาแฟผ่านโครงข่ายแฟรนไชส์ที่มีการบริหารงานอย่างมืออาชีพ รวมถึงเพิ่มโอกาสในการจ้างงานบาริสต้าหรือพนักงานประจำสาขาอีกด้วย

งบลงทุนเปิดร้านแฟรนไชส์ร้านกาแฟ “อินทนิล”

  • ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ 150,000 บาท
  • Royalty Fee 3%
  • Marketing Fee 3%
  • ระยะเวลาสัญญา 6 ปี
  • เงินลงทุนเริ่มต้น 1-2 ล้านบาท

นั่นคือ แนวโน้มและทิศทางของแฟรนไชส์ร้านกาแฟ “อินทนิล” หลังจากที่ “บางจาก” ซื้อกิจการ “ปั้มน้ำมันเอสโซ่” ซึ่งแน่นอนว่าธุรกิจร้านกาแฟในปั้มและนอกปั้มน้ำมันนับต่อจากนี้เป็นต้นไป น่าจะมีการแข่งขันกันรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะ “อินทนิล” และ “คาเฟ่ อเมซอน”

ซึ่งยังไม่นับรวมแฟรนไชส์ “กาแฟพันธุ์ไทย” จากค่ายพีทีจี ที่ตั้งเป้าขยายสาขาตามขึ้นมาติดๆ โดยปี 2566 กับการก้าวเป็นผู้เล่นเบอร์ 2 มีจำนวนสาขา 1,500 แห่ง หรือเติบโตขึ้นเป็น 3 เท่าจากปัจจุบันมีมากกว่า 500 สาขา กลายเป็นเชนแฟรนไชส์ร้านกาแฟในปั๊มน้ำมันรองจากคาเฟ่ อเมซอน เบียดอินทนิลผู้เล่นเบอร์ 2 ในปัจจุบัน

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

แหล่งข้อมูล

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3iX9Ghj


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช