ธุรกิจ แบบพันธมิตร ทางเดินร่วมกันที่ทำให้ประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น

การทำ ธุรกิจ เราต้องมองเรื่องผลกำไรกันเป็นหลัก แต่วิธีการที่จะได้มานั้นมีอย่างหลากหลายสามารถเรียนรู้กันได้ทั้งในแบบทฤษฏี กลยุทธ์ แนวคิด ซึ่งผู้รู้ทั้งหลายได้รวบรวมไว้อย่างน่าสนใจมากมาย

หนึ่งในรูปแบบของธุรกิจที่มองว่านำพาความสำเร็จมาถึงมือได้เช่นกันนั้นคือการเปลี่ยนคู่แข่งให้มาเป็นพันธมิตร ซึ่งหลายคนอาจจะคิดต่างว่าพันธมิตรที่ว่านี้จะมีบทบาทกับธุรกิจได้มากมายขนาดไหน

www.ThaiSMEsCenter.com นำเรื่องนี้มาเสนอเพื่อให้นักลงทุนทุกท่านได้เปิดมุมมองที่น่าสนใจและเพื่อให้เริ่มสำรวจดูธุรกิจว่าจำเป็นหรือไม่กับการมี “พันธมิตร”

ทำไมธุรกิจต้องมีพันธมิตร?

ธุรกิจ

ภาพจาก http://goo.gl/7bBGVs

สินค้าขายดีหรือไม่ดีให้สังเกตดูที่คู่แข่ง ถ้าแรกเริ่มเดิมทีเปิดร้านอยู่แค่คนเดียวในละแวกนั้นไม่มีเจ้าอื่นเลยแล้วเริ่มขายดิบขายดี เชื่อได้ว่าอีกไม่นานเกินรอต้องมี ร้านที่ 2 ที่ 3 เปิดใกล้เคียงตามมา นั้นก็แสดงว่าธุรกิจที่เราทำอยู่นั้นเริ่มประสบความสำเร็จมากขึ้นแล้ว

แต่ทีนี้ก็เกิดปัญหาตามมาว่าการมีคู่แข่งตกลงว่าดีหรือไม่ดี บางมุมก็บอกว่าไม่ดีเพราะเป็นการแชร์รายได้อย่างชัดเจน แต่อีกมุมหนึ่งก็บอกว่าเป็นเรื่องดีที่จะทำให้เราได้พัฒนาตัวเองให้ดียิ่งๆขึ้นไป

aa2

ภาพจาก http://goo.gl/Di3qk8

แต่ถ้ามองในเชิงธุรกิจแบบล้วนๆ คู่แข่งย่อมไม่ใช่เรื่องดี ซึ่งในธุรกิจใหญ่ๆหลายแห่งเองก็ต้องหาวิธีการเปลี่ยนแปลงวิกฤติเหล่านี้ให้เป็นโอกาสจึงกลายเป็นที่มาของคำว่า “พันธมิตร” ที่เน้นการช่วยเหลือและส่งเสริมธุรกิจต่อกันมากขึ้นไม่ใช่แค่ต่างคนต่างขายกันเพียงอย่างเดียว

แต่ถ้าในมุมมองของธุรกิจแบบทั่วไปไม่จำเป็นต้องลงนามการค้าหรือว่าทำสัญญาซื้อขายต่อกัน แค่การมารวมตัวกันจัดเป็นโซนสินค้ามากกว่าจะแยกขายแบบตัวใครตัวมันก็ถือเป็นการสร้างพันธมิตรแบบง่ายๆที่ทำให้เกิดประโยชน์ร่วมได้เช่นเดียวกัน

ข้อดีของการรวมตัวเพื่อประโยชน์ทางการค้า

aa3
ภาพจาก http://goo.gl/Di3qk8

บางครั้งการเปลี่ยนให้คู่แข่งกลายมาเป็นพันธมิตรกลายเป็นเหมือนติดแม่เหล็กให้ธุรกิจเติบโตได้เร็วขึ้น ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ก็พึงพอใจเพราะดูว่ามีทางเลือกในการซื้อขายมากขึ้น

แต่ทั้งนี้การเป็นพันธมิตรกันได้นั้นก็ไม่ควรให้สินค้ามีลักษณะเหมือนกันทุกประการ ควรหาจุดที่แตกต่างออกไปบ้างแม้เพียงเล็กน้อยก็น่าจะได้ประโยชน์เต็มที่มากกว่า
องค์ประกอบของการอยู่ร่วมกันแล้วได้ประโยชน์นั้นกลุ่มธุรกิจที่อยู่ร่วมกันต้องสร้างบรรยากาศที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงความพึงพอใจ

เช่น การขายอาหารซึ่งไม่มีร้านไหนที่จะมีทุกเมนูตามที่ลูกค้าต้องการ การจัดโซนแบบร้านอาหารก็เพื่อตอบสนองสิ่งที่ขาดหายไป แต่ทั้งนี้จำนวนร้านค้าที่อยู่รวมกันเองก็ต้องมีจำนวนที่สัมพันธ์กับปริมาณลูกค้าเพื่อประโยชน์โดยตรงร่วมกันของทุกคน

ธุรกิจที่จำเป็นต้องมีพันธมิตรอยู่ร่วมกันเพื่อได้รับประโยชน์ร่วมกันอย่างสูงสุด

aa4

ภาพจาก http://goo.gl/9bgecU

  1. ร้านขายอาหารขนาดเล็ก บูธขายอาหารที่รวมตัวกันเป็นตลาดนัดอาหารหรือว่าฟู้ดคอร์ท
  2. สถาบันกวดวิชา มีวิชาที่สอนให้แตกต่างกันไป จึงควรตั้งในทำเลเดียวกันเพื่อลูกค้าซึ่งเป็นผู้ปกครองหรือนักเรียนจะสามารถเดินทางได้สะดวกสามารถรับส่งและเรียนหลายวิชาภายในพื้นที่เดียวกันได้
  3. ผับบาร์ ที่ต้องเน้นสไตล์ของการจัดตกแต่งร้านที่แกแตกต่างกันไป การอยู่ในบริเวณเดียวกันเพื่อให้ลูกค้ามีโอกาสในการเลือกร้านที่ชอบสำหรับการสังสรรค์ได้
  4. ร้านขายเสื้อผ้าที่รวมตัวกันกลายเป็นตลาดนัดเสื้อผ้า เทคนิคก็เช่นเดียวกันคือต้องหาความแตกต่างที่เป็นสไตล์ของสินค้า เพื่อให้ลูกค้ามีตัวเลือกมากขึ้นในการเดินเลือกซื้อ

ผลดีของการรวมตัวกันสร้างพันธมิตรคือการสร้างรายได้ที่ดีกว่าแยกขายคนเดียว

aa5
ภาพจาก http://goo.gl/KPC8QX

เราลองดูแหล่งสินค้าที่มีสินค้าประเภทเดียวกันวางขายกันเป็นกลุ่ม ข้อดีและรายได้เป็นอย่างไรกันบ้างในที่นี้เรายกรูปแบบของธุรกิจเสื้อผ้าบริเวณประตูน้ำมาเป็นตัวอย่างในการนำเสนอให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น

  1. เมื่อกลายเป็นศูนย์รวมทำให้กลุ่มลูกค้าสามารถเจาะจงเดินทางมาเลือกซื้อสินค้าได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
  2. การขายแบบรวมกลุ่มก่อให้เกิดการขายในลักษณะค้าส่งได้ดียิ่งขึ้นเพราะสามารถรวบรวมสินค้าได้จากในแหล่งเดียวกันได้ดีกว่าการแยกขายแบบตัวใครตัวมัน
  3. รายได้โดยเฉลี่ยของร้านค้าย่านประตูน้ำมีไม่ต่ำกว่า 2,000 – 3,000 บาท/วัน โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดหรือว่าศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ รายได้จะดีกว่าวันธรรมดามากเป็นพิเศษ
  4. แต่ข้อจำกัดประการเดียวคือเรื่องราคาที่ต้องใกล้เคียงกับร้านอื่นเพื่อให้เกิดความสมดุลในการซื้อขาย

แต่ทั้งนี้ก็ใช่ว่าทุกธุรกิจจะสามารถดำเนินในลักษณะเดียวกันนี้ได้ทั้งหมดบางครั้งการทำธุรกิจแบบแยกตัวเองออกมาให้โดดเด่นก็มีข้อดีในเรื่องของการทำประชาสัมพันธ์ การพัฒนาสินค้า

รวมถึงมีความเป็นตัวของตัวเองได้มากขึ้น ซึ่งเทคนิคของการรวมตัวกันแบบพันธมิตรนี้ก็เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การขายที่เอาไปปรับใช้ได้กับการทำธุรกิจในทุกๆรูปแบบ

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด