ธุรกิจร้านอาหาร รอดหรือร่วง ขาย 100 โดนหัก 32.1

การทำธุรกิจร้านอาหารในปัจจุบันจำเป็นอย่างมากที่จะต้องพึ่งพาแอปเดลิเวอรี่ต่างๆ เพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้กว้างมากกว่าการขายหน้าร้านอย่างเดียว แต่เจ้าของร้านอาหารต้องเข้าใจด้วยว่าการใช้บริการระบบดังกล่าว จะมีค่าใช้จ่ายที่เรียกว่า GP หรือ Gross Profit เป็นค่าใช้จ่ายที่ทางร้านต้องเสียให้กับบริการส่งอาหาร

ถ้าเทียบกับระบบธุรกิจแฟรนไชส์ที่แท้จริง ก็คือ ค่า Royalty Fee และ Marketing Fee นั่นเอง ที่เจ้าของแอปฯ หรือเจ้าของแฟรนไชส์จะช่วยเหลือสาขาให้คนรู้จักร้านและเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น แต่ถ้าถามว่า ธุรกิจร้านอาหาร รอดหรือร่วงเมื่อขาย 100 บาท แต่โดนหัก 32.1 บาท วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบครับ

โดยเฉลี่ยต้นทุนของค่า GP จะอยู่ที่ประมาณ 30-35% เจ้าของธุรกิจร้านอาหารต้องสามารถควบคุมต้นทุนและกำหนดราคาเมนูอาหารแต่ละประเภทให้ได้กำไรที่เหมาะสม ที่สำคัญต้องรู้จักวิธีการการคำนวณค่า GP ด้วย โดยปกติแอปเดลิเวอรี่จะมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เข้าไปด้วย

วิธีการคำนวณค่า GP

ธุรกิจร้านอาหาร รอดหรือร่วง

การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ของแอปฯ ส่งอาหาร จะคำนวณจาก รายได้ที่ได้รับจากการสั่งอาหาร เช่น

  • รายการอาหารที่สั่ง 100 บาท หัก ค่า GP 30% = แอปฯ มีรายได้ 30 บาท
  • รายได้ 30 บาท จะหักอีก 7% = 2.1 บาท
  • ร้านอาหารจะมีต้นทุนใช้บริการจากรายการสั่งอาหารอยู่ที่ 32.1 บาท (30+2.1)

ยกตัวอย่าง รายการอาหาร 100 เทียบเท่ากับค่าเปอร์เซ็นต์ คือ การสั่งแต่ละรายการอาหาร เจ้าของร้านสามารถคำนวณตามสูตร ดังนี้ ราคาอาหาร – 32.1% = รายได้จริง (100-32.1% = 67.9 บาท) โดนหัก 32.1 บาท

อีกตัวอย่าง ราคาอาหาร 300 บาท หัก ค่า GP ที่รวม VAT 7% แล้ว ก็จะได้เป็น 300 – 32.1% = 203.7 บาท (โดนหัก 96.3 บาท) สมมติว่าเจ้าของร้านอาหารได้รับคำสั่งซื้ออาหารจากลูกค้าผ่านแอปฯ เป็นเมนูต้มยำไก่ ราคา 300 หักค่า GP 32.1% จะเหลือ 203.7 บาท เมื่อนำไปหักออกจากต้นทุนอาหารและอื่นๆ ประมาณ 100 บาท จะเหลือกำไร 103.7 บาท

ธุรกิจร้านอาหาร รอดหรือร่วง

สรุป ธุรกิจร้านอาหาร จะสามารถอยู่รอดได้ ถ้าหากขาย 100 แล้วโดนหัก 32.1% แต่เจ้าของร้านอาหารจะต้องรู้ในเรื่องของการคำนวณค่า GP ที่ส่วนใหญ่จะเก็บที่ 30-35% ที่สำคัญเจ้าของร้านอาหารจะต้องเข้าใจตัวเลขรายรับ-รายจ่าย รวมถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายคงที่ต่างๆ ภายในร้านอาหารของตัวเอง บางร้านมีค่าเช่า ไม่มีค่าเช่า ซึ่งแต่ละร้านอาหารจะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายไม่เหมือนกัน จึงอย่าไปเปรียบเทียบกับร้านอื่นๆ เพราะกำไรแต่ละร้านก็จะไม่เหมือนกันด้วยเช่นกัน

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูล

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช