ทำไม!!! สตาร์บัคส์ และแบรนด์กาแฟต่างชาติ เจาะตลาดเวียดนามไม่ได้

สตาร์บัคส์ (Starbucks) คือ ตัวแทนของแบรนด์ร้านกาแฟระดับโลก ซึ่งต้องแข่งขันกับคู่แข่งหลากหลายแบรนด์ดังทั่วโลก โดยเฉพาะแบรนด์ดังของท้องถิ่นในแต่ละประเทศ

ซึ่งหนึ่งในประเทศที่สตาร์บัคส์ต้องเชิญกับความท้าทาย จนถึงขั้นอาจยกธงขาวให้กับแบรนด์กาแฟท้องถิ่น นั่นคือ เวียดนาม ที่ผ่านมามีหลายแบรนด์กาแฟต่างประเทศ ออกจากตลาดเวียดนามไปแล้ว

อยากรู้หรือไม่ว่า ทำไม!!! เชนร้านกาแฟยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง สตาร์บัคส์ และเครือข่ายร้านกาแฟต่างประเทศอื่นๆ ถึงสู้แบรนด์ร้านกาแฟท้องถิ่นในเวียดนามไม่ได้ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบกันครับ

สตาร์บัคส์

ภาพจาก bit.ly/350gUnu

กาแฟ” เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมของชาวเวียดนาม โดยกาแฟเริ่มเป็นที่รู้จักของชาวเวียดนาม ในสมัยที่ชาวฝรั่งเศสได้นำกาแฟเข้าประเทศ มีการพัฒนาจนทำให้เวียดนามเพาะปลูก และส่งออกกาแฟเป็นอันดับที่ 2 ของโลก

คนเวียดนามนิยมดื่มกาแฟหลายแก้วต่อวัน ดื่มก่อนไปทำงาน กลางวัน แม้แต่เลิกงาน ความชื่นชอบนี้ทำให้มีการคาดการณ์ว่าตลาดกาแฟในเวียดนามจะเติบโตขึ้นอีก 8.2% ในปีนี้ จึงไม่แปลกที่ชาวเวียดนามบริโภคกาแฟถึงปีละประมาณ 2 ล้านกระสอบ

25

ภาพจาก bit.ly/2EStsmq

เวียดนาม นับว่าเป็นประเทศที่มีแบรนด์กาแฟท้องถิ่นแข็งแกร่งที่สุดในอาเซียน ซึ่งคนเวียดนามรู้จักและคุ้นเคยกับแบรนด์กาแฟของตนเป็นอย่างดี โดยเฉพาะชื่อเสียงในเรื่องของการชงกาแฟที่เข้มข้น และหนักหวานด้วยนมข้น อาจเป็นเพราะกาแฟของเวียดนามส่วนใหญ่เน้นไปทางสายพันธุ์โรบัสต้า ซึ่งมีคาเฟอีนสูง และมาพร้อมรสชาติเข้มข้น

ด้วยปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ที่ตอนนี้ชนชั้นกลางในเวียดนามกำลังเติบโต ส่งผลให้ตลาดสำหรับร้านกาแฟและชาในเวียดนามมีมูลค่าสูงถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และพบว่าเครือข่ายกาแฟท้องถิ่นของเวียดนามขยายตัว และไปได้ดีกว่าเครือข่ายจากต่างประเทศ เนื่องจากมีราคาที่เหมาะสมและรสชาติถูกปากคนในเวียดนามมากกว่า

สื่อนอกยังรายงานว่าตลาดกาแฟท้องถิ่นของเวียดนามสุดแข็งแกร่ง แม้แต่แบรนด์กาแฟดังระดับระดับโลก Starbucks – Coffee Bean & Tea Leaf ยังไม่สามารถเจาะเข้าได้เลย เพราะผู้บริโภคชาวเวียดนามนิยมกาแฟแบรนด์ท้องถิ่นมากกว่า

ปัจจุบันแบรนด์สินค้ากาแฟของเวียดนามมีหลายแบรนด์ที่คนท้องถิ่นรู้จัก รวมทั้งมีบางรายซึ่งทำแบรนด์สินค้ากาแฟมานาน ขยายมาทำแบรนด์ร้านกาแฟของตัวเองแล้ว เช่น Trung Nguyen Coffee และ Highlands Coffee

24

ภาพจาก bit.ly/2tWlPJB

สำหรับแบรนด์กาแฟ Trung Nguyen Coffee เป็นแบรนด์กาแฟในประเทศเวียดนามที่ใหญ่ที่สุด รวมทั้งมีการส่งออกกาแฟทั่วโลกมากกว่า 60 ประเทศ ส่วนแบรนด์กาแฟ Highlands Coffee ก็เป็นแบรนด์เกรด A ที่ผลิตและขายกาแฟระดับพรีเมียมเช่นกัน

โดยมีสาขามากกว่า 80 สาขา ในจังหวัดต่างๆ ของเวียดนาม รวมทั้งสาขาในต่างประเทศอีก 6 ประเทศ และเป็นเจ้าของเดียวกับร้านเฝอ 24 (Pho24) ที่ได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักทั้งในกลุ่มคนเวียดนามและนักท่องเที่ยวไม่น้อยหน้าร้านกาแฟ

เช่นเดียวกันกับกาแฟหลายเมนูในร้าน Trung Nguyen จะมีความคล้ายคลึงกับในร้านสตาร์บัคส์ ที่มักอยู่ตามตึกสำนักงาน สถานที่ราชการ ย่านนักท่องเที่ยว และตกแต่งร้านในดีไซน์มินิมอล ต้อนรับคนทำงานหรือหนุ่มสาวออฟฟิศ

23

ภาพจาก bit.ly/2Qi8HWE

ในขณะที่ร้านกาแฟ Highlands Coffee มีสาขาอยู่แทบทุกมุม และมักคึกคักไปด้วยนักเรียน ครอบครัว เพราะกาแฟมีราคาที่ย่อมเยากว่า และมีเมนูมีให้เลือกหลากหลายกว่า ที่สำคัญร้านกาแฟท้องถิ่นต่างๆ ไม่เฉพาะแบรนด์ดังๆ อาจเป็นร้านกาแฟริมถนนหลายพันร้านในกรุงฮานอย เวียดนาม ยังการให้บริการขัดรองเท้า และสัญญาณไวไฟฟรีอีกด้วย

ด้วยจุดแข็งและข้อได้เปรียบของแบรนด์กาแฟเวียดนามเหล่านี้ จึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้กาแฟแบรนด์ดังของโลก และแบรนด์กาแฟต่างชาติอื่นๆ ไม่สามารถตีตลาดที่โฮจิมินห์ ฮานอยได้ และหาดื่มได้ยากในเมืองโฮจิมินห์ เพราะมีสาขาน้อยกว่าร้านกาแฟเฟรนไชส์ชื่อดังอย่าง Highlands Coffee, Phúc Long และ Trung Nguyen Legend

22

ภาพจาก bit.ly/2EUsPsq

นอกจากนี้ แบรนด์ร้านกาแฟ สตาร์บัคส์ และ Coffee Bean & Tea Leaf ที่พยายามทำตลาดอย่างหนักในเวียดนามแล้ว ยังมีแบรนด์กาแฟชื่อดัง Gloria Jean’s จากประเทศออสเตรเลีย ที่ได้เข้ามาเปิดร้านกาแฟในเวียดนามก่อนหน้าสตาร์บัคส์พักหนึ่งแต่ก็มีรายงานว่าปัจจุบันแบรนด์กาแฟ Gloria Jean’s จากออสเตรเลีย ได้ออกจากตลาดเวียดนามไปแล้วเมื่อช่วงปี 2560

Grace Chia นักวิเคราะห์อาวุโสจาก Euromonitor International สังเกตเห็นว่า Coffee Bean & Tea Leaf นั้นทำการตลาดได้ไม่ดีในเวียดนาม เพราะแม้ว่า Coffee Bean จะมีราคาไม่แพงเท่ากับร้านกาแฟท้องถิ่นอย่าง Highlands Coffee แต่ Coffee Bean ไม่ได้นำเสนอเมนูเครื่องดื่มตามฤดูกาลให้แก่ลูกค้า ขณะที่สตาร์บัคส์ขายในราคาระดับพรีเมียม การตลาดไม่ตอบโจทย์

ทั้งนี้ ร้านกาแฟสัญชาติอเมริกัน “สตาร์บัคส์” ได้ทำการเปิดร้านสาขาแห่งแรกในโฮจิมินห์ ซิตี้ เวียดนาม เมื่อเดือน ก.พ. 2556 โดยการเปิดตัวที่เวียดนามนั้น ได้เลือกเปิดตัวด้วยโปรโมชั่น Wi-Fi ฟรีตลอดวัน พร้อมกับการเปิดตัวสตาร์บัคส์การ์ด มีงบซื้อสื่อโฆษณา ทำบิลบอร์ดโฆษณาขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นข้อแตกต่างที่ไม่เคยเห็นสำหรับการเปิดตัวสตาร์บัคส์ในไทย

โดยปัจจุบันกาแฟชื่อดังระดับโลก ซึ่งมีสาขากว่า 21,000 สาขา ใน 62 ประเทศ เฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีจำนวนสาขามากกว่า 3,300 สาขาใน 12 ประเทศ รวมประเทศจีนด้วย ซึ่งเฉพาะในประเทศจีนประเทศเดียว มีจำนวนสาขามากกว่า 700 สาขา แต่สตาร์บัคส์ก็ได้ทำการบ้านก่อนเปิดร้านอย่างไม่ประมาท แต่ก็ยังเจอคู่แข่งขันที่แข็งแกร่งจากแบรนด์ท้องถิ่นอยู่ดี

ต้องจับตามองว่า แบรนด์กาแฟต่างชาติที่กำลังเจาะตลาดในเวียดนามอยู่นั้น จะยืนหยัดอยู่ได้ในระยะยาวหรือไม่ หากไม่ปรับเปลี่ยนการนำเสนอสินค้าและบริการ ที่สอดคล้องและตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคในเวียดนาม


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

อ้างอิงข้อมูล

แหล่งข้อมูลบทความจาก https://bit.ly/379tbaX

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช