ทำไมเป้าหมายปีใหม่ (New Year’s Resolution) ไม่ยากแต่ไม่เคยทำได้

เป็นเรื่องประจำที่ช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างปีเก่ากับปีใหม่ คนส่วนใหญ่มักตั้งเป้าหมายให้ตัวเอง โดยหวังว่าในปีหน้าฟ้าใหม่ที่จะถึงชีวิตเราต้องดีกว่าเดิม สุขภาพเราต้องดีกว่าเดิม อะไรๆในชีวิตจะต้องดีกว่าเดิม สิ่งเหล่านี้เรียกว่า New Year’s Resolution หรือแปลให้เข้าใจง่ายก็คือ “การปฏิวัติตัวเองรับปีใหม่”

แต่ความตั้งใจบางทีก็เป็นแค่ความตั้งใจ ในโลกของความจริง www.ThaiSMEsCenter.com มั่นใจว่าคนส่วนใหญ่ไปไม่ถึงเป้าหมายหรือทำไม่ได้ตามที่ตั้งใจไว้ จึงเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจทั้งที่ความตั้งใจเหล่านั้นบางทีก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ทำไมเราถึงทำให้มันสำเร็จได้ยากมาก

คนส่วนใหญ่เลิกล้ม “เป้าหมาย” ภายใน 21 วัน

New Year’s Resolution

ถ้าบอกว่าคนส่วนใหญ่ไปไม่ถึงเป้าหมายยังไม่น่าตกใจเท่ากับข้อมูลที่บอกว่า เป้าหมายที่ตั้งใจส่วนใหญ่ทำได้ไม่เกิน 21 วัน ก็เลิกล้มกันซะแล้ว ทั้งที่ทุกคนใน 1 ปีมีเวลาเท่ากันคือ 365 วัน หรือ8,760 ชั่วโมง คิดเป็นนาทีคือ 525,600 นาที แต่ทว่าคนกว่า 90% กลับล้มเลิก new year’s resolution ภายใน 21 วัน

ซึ่งบางคนอาจทำได้เกินกว่านั้นแต่สุดท้ายก็ไปไม่ถึงเป้าหมายปลายทางสุดท้ายแล้วจำนวนคนที่ทำตามเป้าหมายได้จริงจึงมีน้อยมาก สอดคล้องกับทฤษฏี 21 วัน (21-Day Habit Theory) ที่กล่าวว่าการเปลี่ยนนิสัยโดยการทำพฤติกรรมบางอย่างซ้ำๆ ติดต่อกันเป็นเวลา 21 วัน หากทำได้ พฤติกรรมนั้นจะกลายมาเป็นนิสัยใหม่ก็คือเป็นการสร้างนิสัยใหม่ขึ้นมาแทนนิสัยเดิม

แต่จนแล้วจนรอดคนส่วนใหญ่ก็ “ทิ้งนิสัยเดิม” หรือ “ความคุ้นชินแบบเดิมๆ” ของตัวเองไม่ได้ สิ่งที่ทำให้เราไปไม่ถึงเป้าหมายมีด้วยกันหลายเหตุผล ทั้งการตั้งเป้าหมายที่ไม่เคยคิดจะจริงจัง ,ไม่มีความพยายาม , มีความอยากแต่ไม่มีความอดทน เป็นต้น

หลายคนยึดติดกับชีวิตที่เคยเป็นอยู่ พอจะเริ่มทำตามเป้าหมายที่คิดไว้ ก็รู้สึกว่าเป็นเรื่องลำบาก นิสัยผลัดวันประกันพรุ่งก็จะเริ่มเข้ามาแทนที่ เป็นอย่างนี้เรื่อยๆ ไปจนสุดท้ายไม่ว่าจะตั้งเป้าหมายที่ดีเลิศเลอแค่ไหน สุดท้ายก็ไปไม่ถึงเป้าได้สักที ยิ่งนิสัยคนไทย ที่รักสนุก รักสบาย ยังไงก็ได้ ไม่ค่อยจริงจังกับชีวิต ทำให้เป้าหมายกลายเป็นแค่ความคิดแบบไฟไหม้ฟาง คือฮึกเฮิมแค่ในช่วงเวลาหนึ่ง แต่สุดท้ายก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

ถ้าอยากพิชิต New Year’s Resolution ให้ได้ควรทำอย่างไร?

ทุกเป้าหมายของ New Year’s Resolution จะใช้แค่ความอยากไม่ได้ต้องมีความพยายามอย่างสุดกำลัง เพราะหลายสิ่งที่เราตั้งเป้ามักเป็นเรื่องที่เราไม่เคยทำได้ สำหรับคนที่ใจสู้และอยากก้าวสู่ New Year’s Resolutionให้ได้จริงมีวิธีที่ควรทำดังนี้

1.จดบันทึกทุกการเปลี่ยนแปลง

New Year’s Resolution

การไปถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไม่ใช่จะไปถึงได้ในทีเดียว ต้องมีขั้นตอน และใช้เวลา ดังนั้นทุกความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เราควรจดบันทึกว่าตอนนี้มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เพื่อให้เรารู้ปัญหาและหาวิธีแก้ไข เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายได้ตามต้องการ เช่นถ้าอยากเก็บเงินให้ได้ 1 แสนบาทภายใน 1 ปี ต้องตั้งเป้าว่าจะเก็บเงินเดือนละเท่าไหร่ จะหาเงินมาเพิ่มอย่างไร และการบันทึกผลในแต่ละเดือนจะทำให้เรารู้ว่าเดือนที่ผ่านมาเรามีรายได้เท่าไหร่ ต้องการอีกเท่าไหร่ และควรพัฒนาวิธีหาเงินอย่างไรต่อไปได้

2.ให้รางวัลตัวเองเพื่อสร้างแรงจูงใจ

New Year’s Resolution

ไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงเป้าหมายสุดท้ายในระหว่างทางที่เรากำลังไปถึงเป้าหมาย ก็ควรมีรางวัลให้กับตัวเองเล็กๆน้อยๆ เช่นซื้อของให้ตัวเองที่สามารถเก็บเงินได้ถึง 10,0000 เป็นต้น

3.โฟกัสแต่เป้าหมายที่ต้องการไปถึง

New Year’s Resolution

บางคนอาจมีเป้าหมายมากเกินไปจึงทำให้ต้องจัดสรรเวลาในการพาตัวเองไปสู่เป้าหมาย จนสุดท้ายก็เหนื่อยเกินไปและไม่สำเร็จสักอย่าง ทางที่ดีควรโฟกัสแต่เป้าหมายสำคัญที่เราอยากทำจริงๆ แล้วมุ่งมั่นทำให้เต็มที่จะดีกว่า

4.ควบคุมปัจจัยเสี่ยงให้มีผลต่อเป้าหมายน้อยที่สุด

New Year’s Resolution

สาเหตุที่ทำให้เราไม่ถึงเป้าหมายส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ดังนั้นเราต้องพยายามควบคุมตัวแปรต่างๆ ให้น้อยที่สุด เช่นถ้าอยากเก็บเงิน 1 แสนใน 1 ปี ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องควบคุมคือการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นทั้งหลาย

5.ทำตามเป้าหมายแบบขั้นบันได

การทำตามเป้าหมายก็เหมือนการเดินขึ้นบันได ถ้าเราอยากไปถึงขั้นสูงสุดเราต้องก้าวขึ้นขั้นแรกให้ได้ก่อน ดังนั้นในระยะเวลา 1 ปีควรกำหนดให้ชัดเจนว่า 3 เดือนจากนี้เราควรอยู่ตรงไหน หรือ 6 เดือนต่อจากนี้ควรอยู่ตรงไหน และพยายามไปตามลำดับขั้นนั้น

6.บอกต่อเป้าหมายของเราให้คนอื่นรู้

การแชร์เป้าหมายของเราให้คนรอบตัวรู้ หรือบอกคนในครอบครัวให้รับทราบ ในอีกด้านหนึ่งอาจเป็นการสร้างแรงกดดันให้กับตัวเอง แต่มันก็คือข้อดีที่จะทำให้เรามีแรงกระตุ้นเพื่อไม่ให้คนอื่นสบประมาทเราได้

7.รู้ตัวว่าหลุดจากเป้าหมาย ต้องรีบกลับสู่เส้นทางให้เร็วที่สุด

การจะเดินไปถึงเป้าหมายเราต้องผ่านอุปสรรคหลายอย่าง บางทีเราอาจหลุดเป้าหมายในระหว่างทาง สิ่งสำคัญคือเราต้องรู้ตัวให้ไว และกลับสู่เส้นทางที่ควรจะเป็นให้เร็วที่สุด หากปล่อยให้หลุดจากเส้นทางไปเรื่อยๆ สุดท้าย เป้าหมายที่ตั้งใจไว้ก็คงไปไม่ถึงเหมือนเดิม

การจะพิชิต New Year’s Resolution ไม่มีสูตรเด็ดเคล็ดลับตายตัว สำคัญที่สุดคือตัวเราเอง ถ้าไม่พยายาม ไม่ตั้งใจจริง สุดท้ายเป้าหมายตั้งใจก็เป็นได้แค่ความคิดที่ไม่อาจจับต้องให้เป็นจริงได้ และเมื่อวนมาถึงปีใหม่ก็ต้องมาตั้งใจกันไปเรื่อยๆ สุดท้ายก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเหมือนเดิม

 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3qJR8RE , https://bit.ly/3qJvtJ5 , https://bit.ly/3HBfPrU

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด