ทำไมเจ้าของแฟรนไชส์ ควรจดทะเบียนนิติบุคคล

ปัจจุบัน ธุรกิจแฟรนไชส์ สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาลให้กับประเทศไทย มีส่วนช่วยให้ธุรกิจ SMEs ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถขยายกิจการได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถลดข้อจำกัด สร้างความได้เปรียบในด้านแหล่งเงินทุน รวมถึงการสร้างผู้ประกอบธุรกิจรายใหม่ ให้มีโอกาสประสบความสำเร็จในธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว

แต่ปัญหาของแฟรนไชส์ไทย ส่วนใหญ่ยังเป็นรายเล็กๆ ไปถึงกลาง เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งยังเป็นแฟรนไชส์แบบบุคคลธรรมดาเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้มีข้อจำกัดมากมายในการดำเนินธุรกิจ

โดยเฉพาะเรื่องการของสินเชื่อ และการขยายตลาดต่างประเทศ ตลอดจนการตรวจสอบจากกรมสรรพากรในเรื่องของเงินเข้าออกบัญชีจำนวนมากๆ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาคุณไปดูว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (บริษัท) มีข้อดีอย่างไร

ธุรกิจแฟรนไชส์

1. การเป็นนิติบุคคล แม้ว่าจะต้องทำบัญชีส่งสรรพากร แต่ก็จะทำให้ธุรกิจต้องเสียภาษีตามผลกำไรที่เกิดขึ้นจริงตามรายงานทางบัญชี ถ้าปีไหนธุรกิจขาดทุน ก็ไม่ต้องเสียภาษี และสามารถยกยอดผลขาดทุนในปีนี้ ไปใช้ในปีถัดไปได้ ซึ่งต่างจากการเสียภาษีแบบบุคคลธรรมดา เพราะถ้าผลประกอบการธุรกิจขาดทุน ไม่สามารถยกยอดไปในปีถัดไปได้ แต่ในทางภาษี ถึงอย่างไรก็จะหักค่าใช้จ่ายได้แค่ตามอัตราเหมาจ่าย ( เหมา 60% ของยอดขาย ) กล่าวคือ การทำธุรกิจรูปแบบบุคคลธรรมดา แม้ว่าจะขาดทุน ก็ยังต้องจ่ายภาษีอยู่ดี

2. การเสียภาษีของนิติบุคคล จะคิดจากกำไรทางภาษีเท่านั้น และภาษีที่ต้องจ่ายภายใต้กฎหมายไทยมีอัตราสูงสุด 20% ซึ่งนี่ต่างจากอัตราภาษีแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่อัตราสูงสุดถึง 35% ซึ่งมากกว่าการเสียภาษีของนิติบุคคล

3. การเป็นนิติบุคคล ทำให้ธุรกิจดูมีความน่าเชื่อถือมากกว่าธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา ทำให้สถาบันเงินมีความเชื่อมั่นในการปล่อยสินเชื่อให้ธุรกิจ ซึ่งโอกาสในการได้สินเชื่อที่มากขึ้น ก็หมายถึงโอกาสในการเติบโตของธุรกิจที่มากขึ้นด้วย

4. การเป็นนิติบุคคล จะทำให้เงินของธุรกิจและเงินเจ้าของธุรกิจแยกออกจากกันชัดเจน ทำให้เกิดความไม่สับสน ระหว่างเงินทั้งสองส่วน ถ้าธุรกิจเป็นแบบธุรกิจบุคคลธรรมดา หากมีการบริหารจัดการไม่ดี อาจทำให้ไม่สามารถควบคุมธุรกิจได้

5. การเป็นนิติบุคคล เป็นการจำกัดความรับผิดชอบต่อหนี้สินของบริษัท ตามมูลค่าหุ้นของตัวเองที่ลงไปในบริษัท หรือพูดง่ายๆ คือ ถ้าบริษัทเกิดความเสียหายถึงต้องล้มละลาย คุณในสถานะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ก็จะสูญเสียสินทรัพย์ไปแค่ตามมูลค่าหุ้นเท่านั้น แต่ตัวคุณไม่ได้ล้มละลายตามบริษัทไปด้วย

สรรพกรเช็คเงินเข้า-ออกมาก ต้องระวัง!

31

ภาพจาก bit.ly/2DEFjY5

ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2562 เป็นต้นมา กรมสรรพพากรได้เอาจริงเอาจังในเรื่องของ “เงินเข้า-ออก” ในบัญชีธนาคาร ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล SME หรือแม้กระทั้งขายสินค้าออนไลน์ โดยใครที่มีรายการเงินฝาก หรือรับโอนเงินเข้าบัญชีตัวเอง รวมกันทุกบัญชี ทุกธนาคาร จำนวน 3,000 ครั้ง

หรือ ใน 1 บัญชี มียอดฝากจำนวน 200 ครั้ง และ ยอดรวมเกินกว่า 2 ล้านบาทต่อปี เฉลี่ยเดือนละ 17 ครั้ง หรือ 1.7 แสนบาท ข้อมูลจะถูกส่งไปที่กรมสรรพากร ซึ่งมีอำนาจในตรวจและเรียกบุคคลดังกล่าวเข้าไปชี้แจง เพราะคิดก่อนว่าบุคคลดังกล่าวน่าจะแอบทำธุรกิจแบบเงียบๆ ไม่ว่าจะออนไลน์ หรือออฟไลน์

พร้อมกันนี้ ผู้ที่ถูกเรียกจะต้องเคลียร์ให้ได้ว่า เงินจำนวนดังกล่าวมาจากที่ไหน ถ้าเคลียร์ไม่ชัด ก็จะถูกประเมินรายได้ใหม่ พร้อมทั้งคำนวณภาษีเงินได้ที่ต้องจ่ายย้อนหลัง พร้อมค่าปรับมโหฬาร

อีกทั้งยังต้องเจอคดีอาญาด้วย คนที่ทำถูกต้อง ทำการค้าปกติ มีที่มาของเงินชัดเจน ไม่ต้องกลัว แต่คนที่มีรายได้เยอะๆ แอบทำในนามบุคคล ไม่จดทะเบียนนิติบุคคล รับรองว่าไม่น่ารอด ดังนั้น ใครค้าขายมาก ขายดี ควรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เพื่อเข้าระบบถูกต้อง

“ธุรกิจแฟรนไชส์” ควรจดทะเบียนนิติบุคคล

33

ธุรกิจแฟรนไชส์เปรียบเสมือนธุรกิจ SMEs เพราะก่อนเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ จำเป็นต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับนักลงทุน ยิ่งปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาลให้กับประเทศไทย มีส่วนช่วยให้ธุรกิจ SMEs ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถขยายกิจการได้อย่างรวดเร็ว

ปัจจุบันต้องยอมรับว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ยังเป็นบุคคลธรรมดายังมีอยู่มาก มีโอกาสโดนเรียกสอบที่มาที่ไปของเงิน ถ้าหากเป็นแฟรนไชส์ขายมาก ขายดี มีเงินเข้า-ออกบัญชีเป็นจำนวนมาก หลายบัญชี ก็จะต้องถูกเรียกตรวจสอบเช่นเดียวกัน เพราะเป็นการทำธุรกิจที่ไม่ได้เข้าสู่ระบบการเสียภาษีที่ถูกต้อง

34

ดังนั้น ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ยังเป็นบุคคลธรรมดา ควรที่จะเขาสู่ระบบด้วยการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เพื่อจะได้เสียภาษีที่ถูกต้อง อีกทั้งยังจะได้รับความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจจากบุคคลภายนอกมากกว่า ดูเป็นทางการมากกว่า นอกจากนี้ ยังจะช่วยธุรกิจแฟรนไชส์ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล สามารถขอสินเชื่อจากทางธนาคารได้ง่าย และได้วงเงินจำนวนมากกว่าการเป็นบุคคลธรรมดา เพราะการเป็นนิติบุคลจะการันตีความมีตัวตน และสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้น

ประการสำคัญ การจดทะเบียนนิติบุคคล จะทำให้มีข้อมูลพื้นฐานของธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศ ว่ามีจำนวนเท่าไรกันแน่ มีใครบ้าง และมีข้อมูลเป็นอย่างไร ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมาก สำหรับประชาชนได้ค้นหาข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์ที่สนใจ ได้อย่างครบถ้วน และถูกต้อง และยังให้ประโยชน์ในการกำหนดทิศทาง สำหรับการส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ของไทย

เจ้าของแฟรนไชส์ สนใจสมัครคอร์สเรียน หลักสูตร บัญชีพื้นฐานสำหรับแฟรนไชส์ (Accounting for Franchise) คลิก https://bit.ly/2DgbfCh

30


ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

2

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ่านบทความเพิ่มเติม https://bit.ly/2CbtckU

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช