#รีวิวหนังสือ สร้างคอนเทนต์ มัดใจลูกค้า How to Do Content Marketing Right

สิ่งที่จะได้รับใน รีวิวหนังสือ สร้างคอนเทนต์ มัดใจลูกค้า How to Do Content Marketing Right หนังสือเล่มนี้ ก่อนสร้างคอนเทนต์เราต้องรู้ก่อนว่า คอนเทนต์คืออะไร? และช่วยการตลาดได้อย่างไร เมื่อเรามีพื้นฐานที่ดีพอ เราจะรู้และเข้าใจต่อไปว่า ต้องสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่เหมาะสมกับสินค้า/บริการ ของเราอย่างไร เพื่อให้เกิดผลลัพธ์กับ กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ

รีวิวหนังสือ สร้างคอนเทนต์

6

5

ผู้เขียน ณัชพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง

จำนวน 246 หน้า
ราคา 255 บาท


1.คอนเทนต์คือ ?

4

  • คอนเทนต์ คือ ข้อมูลและเนื้อหา ที่มนุษย์เราสามารถรับได้ผ่านสื่อต่างๆ
  • มนุษย์เราล้วนอยากได้ข้อมูลต่างๆ เพื่อมาประกอบการใช้ชีวิตด้วยจุดประสงค์สำคัญ คือ การเลี่ยงปัญหาหรือภัยที่อาจจะเกิดขึ้นและทำให้ชีวิตดีขึ้น
  • ผู้ทำคอนเทนต์ต้องรู้จักแยกองค์ประกอบสำคัญของชิ้นงานคอนเทนต์ ได้แก่ ตัวเนื้อหาที่ต้องการจะสื่อ และรูปแบบการนำเสนอ ซึ่งสองสิ่งนี้ล้วนสำคัญ ขาดอันใดอันหนึ่งไม่ได้
  • คอนเทนต์ที่ดี คือ คอนเทนต์ที่สามารถนำพาให้ผู้ทำคอนเนต์บรรลุเป้าหมายที่ตัวเองตั้งไว้ได้
  • การประเมินคอนเทนต์ใดๆนั้นจำเป็นจะต้องเข้าใจด้วยว่าเป้าหมายของการทำคอนเทนต์นั้นคืออะไร
  • ผู้ทำคอนเทนต์ควรหมั่นสำรวจอยู่เสมอว่าวันนี้เรากำลังทำคอนเทนต์ที่เป็น “ปกติ” กับกลุ่มเป้าหมายของตัวอยู่หรือเปล่า

การสื่อสารแบบ Content Centric

การตั้งต้นว่า เนื้อหาสำคัญที่ต้องการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายนั้นคืออะไร แล้วดูว่าจะใช้สื่ออะไรที่สามารถเป็นตัวกลางพาคอนเทนต์นั้นไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้

  • Facebook : Text / Link / Photo / Video
  • Twitter : Text / Link / Photo / Video
  • YouTube : Video
  • Instagram : Photo / Video
  • TikTok : Video
  • Website : Article

คอนเทนต์ที่ดีคืออะไร

ความต้องการที่จะสื่อสารคอนเทนต์ไปยังผู้รับ การสื่อสารนั้นก็เกิดขึ้นจากวัตถุประสงค์บางอย่างเป็นจุดตั้งต้น

  • ความต้องการที่แท้จริง > วัตถุประสงค์ในการสื่อสาร > การทำคอนเทนต์

2.พลังสำคัญของคอนเทนต์

3

พลังสำคัญของคอนเทนต์ คือ การที่มันสามารถขับเคลื่อนให้ตัวมนุษย์เราเกิดการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่การรับรู้ข้อมูลใหม่ เปลี่ยนความรู้สึก เกิดความเชื่อ และนำไปสู่พฤติกรรมต่างๆ

เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว นักสื่อสารควรจะคิดและพิจารณากลไกของการสื่อสารนี้กับการสร้างคอนเทนต์ของตัวเองว่าเราต้องการอะไร จากคนที่รับสาร เราต้องการเปลี่ยนเขาไปทางไหนอย่างไร ซึ่งถ้าเราเห็นความเชื่อมโยงได้ชัดเจน ก็จะทำให้การสื่อสารนั้นมีความ “ชัด” ในตัวเอง และมีโอกาสเกิดประสิทธิภาพได้มาก

พยายามเลือกดูว่าอะไรคือข้อมูลและความเชื่อที่จำเป็นสำหรับการสื่อสาร และหากพบว่าอันไหนไม่จำเป็นแล้วก็ควรเลี่ยงที่จะเพิ่มเข้าไปในการสื่อสาร เพราะอาจจะทำให้กลายเป็นอุปสรรคในการสื่อสารแทน

การคิดเรื่องของคอนเทนต์นั้นสามารถเพลิกแพลงและกาตัวเลือกได้มากมายจากการเห็นความเชื่อมโยงไปยังความเชื่อที่หลากหลายและนั่นเป็นอีกเทคนิคหนึ่งในการคิดคอนเทนต์ให้หลากหลายได้

กล่อง 3 ใบ ของการจัดลำดับความสำคัญ

  1. ต้องทำ สิ่งที่จำเป็นต้องมี ไม่มีไม่ได้
  2. ควรทำ สิ่งไม่ถึงขั้นจำเป็น
  3. น่าทำสิ่งที่ไม่จำเป็น

การสร้าง Framework ง่ายๆ เพื่อใช้ในการออกแบบสารหรือคอนเทนต์

Communication Design Canvas

  • ข้อมูล/เรื่องราว > ความรู้สึก > ความเชื่อ > พฤติกรรม
  • เช่น ข่าวการระบาดของ Covid-19 > รู้สึกกลัว >
  • มีโอกาสติด COVID-19 ถ้าไม่ป้องกัน > ป้องกันตัวโดยการสวมใส่หน้าการอนามัย

3.การทำ Content Marketing

2

การทำ Content Marketing คือส่วนหนึ่งของการทำการตลาด Content Marketing สามารถเป็นได้ในทุกรูปแบบ ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ต้องเป็นคอนเทนต์แบบดิจิทัลเท่านั้น

หัวใจสำคัญของ Content Marketing คือ การสร้างเนื้อหาต่างๆซึ่งสามารถเป็นคุณค่าร่วมกันระหว่างผู้สร้างคอนเทนต์กับตัวคนรับคอนรับคอนเทนต์ได้ ซึ่งผลจากการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพนี้จะเกิดเป็นผลประโยชน์ทางด้านการตลาดให้กับตัวผู้สร้างคอนเทนต์ได้นั่นเอง

คอนเทนต์ที่มีคุณค่าร่วม
ผู้ทำคอนเทนต์ ผู้รับคอนเทนต์
คุณค่าของผู้สื่อสาร “สิ่งที่อยากบอก”
คุณค่าของผู้รับสาร “สิ่งที่อยากฟัง”


4.ศึกษาและสังเกต

1

คนทำคอนเทนต์จึงควรหมั่นศึกษาและสังเกตการเปลี่ยนแปลงของแนวคิดเหล่านี้อยู่เสมอ เช่น เดียวกับการฝึกฝนที่จะนำแนวคิดแต่ละอย่างมาเชื่อมโยงกันเพื่อสร้างสรรค์วิธีการนำเสนอคอนเทนต์ ที่มีประสิทธิภาพขึ้นได้อีกเรื่อยๆ

ปัจจัยที่ทำให้คนจำคอนเทนต์เราได้

  • บริบท
  • ความโดดเด่น
  • ความคุ้นเคย
  • แรงจูงใจ
  • คุณภาพ
  • ความยาว
  • ความถี่
  • ความประหลาดใจ

หลากเหตุผลที่คนแชร์ และบอกต่อคอนเทนต์ให้คนอื่น

  • สิทธิประโยชน์
  • คำแนะนำ
  • คำเตือน
  • บันเทิง
  • บันดาลใจ
  • น่าทึ่ง
  • รวมใจ

 

เรียบเรียงโดย : คุณปิยาพัชร ปกครอง (ปาร์มี่)

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3BeWOGU