ซื้อแฟรนไชส์ในอเมริกา น่าสนใจหรือไม่?

การซื้อแฟรนไชส์ เป็นทางลัดสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ แต่ความจริงแล้วการซื้อแฟรนไชส์ มีข้อเสียอยู่มากมายเช่นกัน ใช่ว่าทุกคนจะประสบความสำเร็จ หลายคนต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมาก โดยเฉพาะแฟรนไชส์สหรัฐอเมริกา 

ในบทความนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะวิเคราะห์ว่า ซื้อแฟรนไชส์ในอเมริกา ดีหรือไม่ ค่าใช้จ่ายเริ่มแรกที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องจ่าย ก็คือ ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า (Franchise Fee) และค่าสิทธิต่อเนื่อง (Royalty Fee) รวมถึงต้องจ่ายค่าเช่าพื้นที่อีกต่างหาก

ตัวอย่าง ซื้อแฟรนไชส์ร้านแมคโดนัลด์ นอกจากแฟรนไชส์ซีจะจ่ายค่าเช่าพื้นที่แล้ว ยังต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ 45,000 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับสิทธิ์ดำเนินธุรกิจระยะเวลา 20 ปี

ซื้อแฟรนไชส์ในอเมริกา

ภาพจาก bit.ly/3wTPLSc

หลังจาก 20 ปี หากแฟรนไชส์ซีตกลงจะต่ออายุสัญญา ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์อีก 45,000 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินลงทุนเปิดร้านแมคโดนัลด์ทั้งหมดราวๆ น้อยกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ มากกว่า 2.2 ล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับค่าสิทธิ์ต่อเนื่อง หรือ Royalty Fee ทุกๆ ปี แฟรนไชส์ซีต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับแฟรนไชส์ซอร์ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดขาย (เมืองไทยจ่ายเป็นรายเดือน) ดังนั้น ไม่ว่าแฟรนไชส์จะมีรายได้ขนาดไหน ก็ต้องจ่ายให้กับแฟรนไชส์ซอร์

24

ภาพจาก bit.ly/3vXeKm5

Royalty Fee ของแฟรนไชส์ในสหรัฐอเมริกาค่อนข้างจะเป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น เบอร์เกอร์คิงเรียกเก็บค่า Royalty Fee 4.5% ของยอดขาย ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ 50,000 เหรียญสหรัฐ และ Dunkin’ เก็บค่า Royalty Fee 5.9% ของยอดขาย ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า 40,000-90,000 เหรียญสหรัฐ ขึ้นอยู่กับทำเลพื้นที่ การตกแต่งร้าน และภาษี นั่นจึงเป็นสาเหตุทำให้แฟรนไชส์ซีในสหรัฐอเมริกาไม่ได้นำมาซึ่งความหรูหราเหมือนที่จินตนาการเอาไว้

ข้อเสียเปิดแฟรนไชส์ในสหรัฐฯ

23

ภาพจาก bit.ly/3quIA0s

1.ต้นทุนวัตถุดิบสูง

แฟรนไชส์ซอร์กำหนดให้แฟรนไชส์ซีซื้อวัตถุดิบจากแฟรนไชส์ซอร์ หรือซัพพลายเออร์ที่รู้จัก ซึ่งเงินที่จ่ายไปกับค่าวัตถุดิบนั้นมักจะสูงกว่าราคาวัตถุดิบขายที่อื่น แฟรนไชส์ซีฟาสต์ฟู้ดบางรายจ่าย 5-10% สูงกว่าราคาผักกาด มะเขือเทศ และอื่นๆ ที่หาซื้อได้ง่ายในท้องตลาด จนทำให้แฟรนไชส์ซอร์บางแบรนด์ถูกฟ้องร้องข้อหาเก็บเงินค่าวัตถุดิบจากแฟรนไชส์ซีสูงเกินไป

2.ขาดเงินทุน

แฟรนไชส์ซอร์ส่วนใหญ่ไม่ได้จัดหาเงินทุนให้กับแฟรนไชส์ซี หมายความว่าผู้ซื้อแฟรนไชส์อาจจะต้องใช้เงินออม หรือหาแหล่งเงินทุนอื่นๆ เช่น สินเชื่อจากธนาคาร โดยเงินทุนที่หามาได้จะเป็นค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่าวัตถุดิบ เป็นต้น

22

ภาพจาก bit.ly/3zNz6lb

3.ขาดการควบคุมอาณาเขต

ตามหลักแล้วแฟรนไชส์ซอร์จะจำกัดจำนวนร้านสาขาแฟรนไชส์ในแต่ละพื้นที่ ไม่ให้เปิดร้านมากจนเกินไป เพราะจะเกิดการแข่งขันของแบรนด์เดียวกัน ทำให้ขายไม่ได้ ในขณะที่แฟรนไชส์หลายแบรนด์พยามเปิดร้านในพื้นที่ที่กำหนดให้มากที่สุด ยกตัวอย่าง แมคโดนัลด์มีร้านถึง 5 สาขาภายในพื้นที่ 5 ไมล์

4.ขาดความคิดสร้างสรรค์

ทุกอย่างตั้งแต่การตกแต่งร้าน ป้าย ผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอ และเครื่องแบบที่พนักงานสวมใส่ ถูกกำหนดโดยแฟรนไชส์ซอร์ สำหรับคนที่ชอบความคิดสร้างสรรค์ ไม่ควรซื้อแฟรนไชส์ เพราะรูปแบบร้านจะถูกกำหนดโดยแฟรนไชส์ซอร์ สาขาแฟรนไชส์จะมีข้อกำหนดที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้น ถ้าคุณชอบที่จะเป็นเจ้านายตัวเองเอง การซื้อแฟรนไชส์อาจไม่เหมาะกับคุณ

แฟรนไชส์ซีในอเมริกา มีรายได้เท่าไหร่

21

ภาพจาก bit.ly/2UyDdRX

จากการสำรวจโดย Franchise Business Review พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อปีของสาขาแฟรนไชส์ซีในสหรัฐฯ อยู่ที่ประมาณ 80,000 ดอลลาร์ โดยมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อรายได้สาขาแฟรนไชส์ซี เช่น จำนวนประชากรในพื้นที่และใกล้เคียง และการจราจร จากการศึกษาข้อมูลเดียวกันเดียวกันพบว่า สาขาแฟรนไชส์ซีส่วนใหญ่มีรายได้น้อยกว่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี ในขณะที่ 7% มีรายได้มากกว่า 250,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี

แฟรนไชส์ยอดนิยมในอเมริกา

20

ภาพจาก bit.ly/35LAN4z

สำหรับแฟรนไชส์ในสหรัฐอเมริกาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปี 2564 คือ McDonald’s รองลงมาคือ KFC และ Burger King ตามรายงานข้อมูลของ Franchise Direct นอกเหนือจากแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดแล้ว ยังมีแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ 7-Eleven, Ace Hardware และ Century 21

มาถึงตรงนี้รู้หรือยังว่า ในช่วง 2-3 ปีมานี้ เรามักจะได้เห็นข่าวบรรดาแฟรนไชส์ซีในสหรัฐอเมริกา ต่างทยอยยื่นล้มละลายกันอย่างต่อเนื่อง หลายๆ รายจำใจต้องขายกิจการ หรือหานักลงทุนเข้ามาร่วมลงทุน


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูลจาก https://bit.ly/2UtZ2Sx

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3w2HtpE

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช