การสร้างคู่มือแฟรนไชส์

ผู้ประกอบการธุรกิจหลายคนที่ต้องการนำธุรกิจของตนเองเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ อาจไม่รู้ว่ามาก่อนว่า นอกจากต้องเขียนแผนธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อกำหนดเส้นทางและเป้าหมายของธุรกิจแล้ว คุณยังต้องจัดทำคู่มือปฏิบัติการแฟรนไชส์ เพื่อเป็นเครื่องมือในการควบคุมระบบมาตรฐานแฟรนไชส์ ซึ่งจะต้องส่งต่อให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซีนำไปปฏิบัติตาม

ดังนั้น คู่มือแฟรนไชส์ จึงถือเป็นสินค้าของระบบโปรแกรมแฟรนไชส์ เป็นทรัพย์สินหรือลิขสิทธิ์ของแฟรนไชส์ รวมถึงเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ ประสบการณ์ของระบบแฟรนไชส์ ในการก้าวไปสู่ความสำเร็จ เรียกได้ว่า คู่มือแฟรนไชส์เป็นเสาหลักของระบบแฟรนไชส์ ที่เกิดจากการฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ มาได้ ซึ่งธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ต้องมีเก็บไว้

วันนี้ www.ThaiSMEsCnter.com จึงอยากนำผู้ประกอบการทุกท่าน ที่ต้องการนำธุรกิจของตัวเองเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ ไปทำความรู้จักกับคู่มือปฏิบัติการแฟรนไชส์ ว่ามีความสำคัญอย่างไรบ้าง ทำไมธุรกิจแฟรนไชส์ต้องจัดทำขึ้น
ความสำคัญของคู่มือแฟรนไชส์

การสร้างคู่มือแฟรนไชส์

1.ช่วยส่งเสริม ตอกย้ำ คุณค่าของแนวคิดธุรกิจ

คู่มือแฟรนไชส์จะแสดงถึงคุณค่า และเอกลักษณ์ของธุรกิจแฟรนไชส์นั้นๆ ช่วยให้เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ใช้สงวนรักษา ปรัชญา และรูปแบบของธุรกิจเอาไว้ เป็นการบอกเล่าและเน้นให้ความสำคัญกับสิ่งที่เป็นปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนประสบความสำเร็จ ว่าฝ่าฟันปัญหาและอุปสรรคต่างๆ มาได้อย่างไร

วิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เหมือนเป็นการบอกให้เห็นว่าเจ้าของแฟรนไชส์ประสบความสำเร็จมาได้อย่างไร ตรงนี้จะช่วยให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์เข้าใจถึงความรู้ ประสบการณ์ และความพยายามของเจ้าของแฟรนไชส์ที่สะสมมา ซึ่งถือเป็นคุณค่าที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องการ

2.ช่วยในการปรับปรุงกลไกของระบบธุรกิจ

การบันทึกระบบปฏิบัติการลงเป็นคู่มือแฟรนไชส์ ถือเป็นการทบทวน ปรับปรุง และพัฒนาให้ระบบการทำงานให้มีความราบรื่น ไม่สะดุด ช่วยสร้างแผนที่นำทางของระบบธุรกิจแฟรนไชส์ ในการก้าวเดิน ทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้เรียนรู้ ได้เข้าใจระบบงานต่างๆ ที่มาจากประสบการณ์ของแฟรนไชส์ซอร์หรือเจ้าของแฟรนไชส์ เพื่อสามารถเลียนแบบไปสู่ความสำเร็จได้โดยใช้เวลาและความพยายามที่น้อยกว่าแฟรนไชส์ซอร์

sw2

3.เป็นเอกสารอ้างอิงที่สำคัญ สำหรับการอบรม

ทำให้การอบรมทำงานได้อย่างราบรื่น มีความสะดวกมากขึ้น ทั้งแบบเต็มรูปแบบหรือบางส่วน ตามลำดับที่เหมาะสม ถือเป็นมาตรฐานในการส่งผ่านความรู้อย่างเป็นระบบ

4.ช่วยส่งเสริมระบบโครงสร้างการสนับสนุนที่ดี

ทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์รู้ถึงวิธีการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่แค่มีตัวช่วย หรือสิ่งอำนวยความสะดวกเท่านั้น ซึ่งผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องนำศึกษาและปฏิบัติตามทุกอย่าง ทุกขั้น ระบบความสำเร็จทำมาแบบไหน ก็ต้องทำแบบนั้น นอกจากนี้คู่มือยังช่วยให้เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ ได้ทำการปรับปรุง แก้ไข ระบบภายในให้ถูกต้องยิ่งขึ้น

5.ช่วยขยายความชัดเจนของเงื่อนไขสัญญาในการปฏิบัติจริง

คู่มือไม่ได้เพียงแค่ช่วยผู้ซื้อแฟรนไชส์ในการปฏิบัติงานประจำวันเท่านั้น แต่ช่วยขยายความหมาย ข้อกำหนด ความชัดเจน ของเงื่อนไขสัญญาแฟรนไชส์ ให้เข้าใจได้ในเชิงปฏิบัติ แทนที่จะใช้ภาษาทางกฎหมาย คู่มือยังเป็นส่วนหนึ่งในการอ้างอิงของสัญญาในเรื่องข้อกำหนด มาตรฐาน และวิธีปฏิบัติงานในระบบแฟรนไชส์

คุณได้เห็นแล้วว่า คู่มือแฟรนไชส์มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบแฟรนไชส์ ทั้งต่อเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ และผู้ซื้อแฟรนไชส์ เพราะช่วยให้เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ได้ทำการบันทึก ปรับปรุง กระบวนการทำงานต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จเอาไว้

เพื่อควบคุมระบบมาตรฐานของแฟรนไชส์ ขณะที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถปฏิบัติงานตามคู่มือ ช่วยให้ประหยัดเวลา และใช้ความพยายามในการบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จน้อยกว่าเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์

sw3

ลักษณะของคู่มือแฟรนไชส์ที่ดี-ไม่ดี

คู่มือแฟรนไชส์ ถือเป็นโปรแกรมการปฏิบัติงานของระบบแฟรนไชส์ เป็นทรัพย์สินหรือลิขสิทธิ์ของแฟรนไชส์ รวมถึงเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ ประสบการณ์ของระบบแฟรนไชส์ ในการก้าวไปสู่ความสำเร็จ

เรียกได้ว่า คู่มือแฟรนไชส์เป็นเสาหลักของระบบแฟรนไชส์ ที่เกิดจากการฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ มาได้ ซึ่งธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ต้องมีเก็บเอาไว้ มาดูกันว่าลักษณะของคู่มือแฟรนไชส์ที่ดี และไม่ดี เป็นอย่างไรบ้าง

sw4

คู่มือแฟรนไชส์ที่ดี

  1. วิธีการเขียนและนำเสนอง่ายที่สุด อ่านแล้วเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน
  2. เขียนมาจากต้นแบบที่ดี
  3. ได้รับการทดลองใช้มาแล้ว ได้ผ่านการลองผิดลองถูกมาแล้ว จนกระทั่งนำพาธุรกิจประสบความสำเร็จ
  4. ผ่านการแก้ไขปรับปรุง เพื่อให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด
  5. แยกหมวดหมู่ของเรื่องได้ดี เพื่อง่ายต่อการค้นหา
  6. มีการ Up-date ข้อมูลเสมอ โดยเฉพาะเรื่องของการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานใหม่
  7. มีการเปรียบเทียบวิธีการทำงานที่ถูก และผิด พร้อมยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจน
  8. มีแบบฟอร์ม สำหรับควบคุมการทำงาน
  9. ได้นำไปอบรมจริง และนำไปปฏิบัติอย่างสมบูรณ์
  10. ได้ปฏิบัติ ตรวจสอบ และประเมินผลสำเร็จ

sw5

คู่มือแฟรนไชส์ที่ไม่ดี

  1. ใช้ภาษาที่ยาก อธิบายสับสน
  2. ไม่ได้แยกเรื่องเป็นหมวดหมู่สำคัญ
  3. มีจำนวนหน้าน้อย ไม่ถึง 10 หน้า
  4. ไม่จัดหน้าให้สวยงาม อ่านง่าย
  5. ขาดรูปประกอบ ตาราง และการเขียนแนะนำเป็นขั้นเป็นตอน
  6. ขาดตัวอย่าง ที่ทำให้ผู้อ่านได้เห็นกรณีศึกษา และเห็นภาพ
  7. ยังไม่ผ่านการทดลองใช้
  8. ยังไม่ได้ปรับปรุง หรือ Up-date อยู่เสมอ
  9. ไม่มีการนำมาอบรม ทดสอบ และใช้งานตามคู่มือ
  10. ขาดการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผล

ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์จะประสบความสำเร็จ มีการขยายสาขา และเติบโตอย่างมั่นคง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีคู่มือแฟรนไชส์ที่ดี เพราะเป็นโปรแกรมการปฏิบัติงานของระบบแฟรนไชส์ ที่จะถูกถ่ายทอดการทำงานให้กับแฟรนไชส์ไชส์ซี ถ้าแฟรนไชส์ไชส์ซีอ่านแล้ว ไม่เข้าใจ ใช้ภาษาอ่านยาก จนไม่สามารถปฏิบัติตามคู่มือได้ อาจส่งผลเสียต่อระบบแฟรนไชส์ได้

sw6

องค์ประกอบและแนวทางการเขียนคู่มือแฟรนไชส์

ผู้ประกอบการธุรกิจที่จะเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ นอกจากจะรู้ถึงความสำคัญของคู่มือแฟรนไชส์แล้ว ยังต้องจัดทำคู่มือธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีความน่าสนใจ ชวนหลงใหล และอยากติดตาม ด้วยเหตุผลที่ว่าคู่มือแฟรนไชส์เป็นสินค้า ทรัพย์สิน

หรือลิขสิทธิ์ของระบบแฟรนไชส์ เป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ ประสบการณ์ วิธีการทำธุรกิจแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ เพื่อใช้ในการถ่ายทอดระบบโปรแกรมความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์

การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ให้มีความน่าสนใจ ดูแล้วเข้าใจง่าย ช่วยผู้ซื้อแฟรนไชส์นำไปปฏิบัติได้อย่างราบรื่น มาดูกันเลยว่า คู่มือแฟนไชส์ที่ดี มีมาตรฐาน มีองค์ประกอบอะไรบ้าง ที่ต้องมีและขาดไม่ได้อยู่ข้างในคู่มือ

sw7

1.วัตถุประสงค์การใช้งาน

ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ต้องรู้ว่า วัตถุประสงค์ของคู่มือแฟรนไชส์ที่จัดทำขึ้น นำไปใช้เพื่อการอะไรบ้าง โดยคู่มือแฟรนไชส์ส่วนใหญ่จะใช้เป็นสินค้า ทรัพย์สิน ลิขสิทธิ์ และภาพพจน์ของระบบแฟรนไชส์

คู่มือแฟรนไชส์ใช้สำหรับถ่ายทอดความรู้ เอกสารอ้างอิง การอบรมระบบแฟรนไชส์ให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซี ซึ่งคู่มือแฟรนไชส์จะเป็นเครื่องมือควบคุมระบบ มาตรฐาน วิธีการปฏิบัติงานของแฟรนไชส์ รวมถึงใช้เป็นส่วนต่อขยายความชัดเจน การควบคุม เงื่อนไขสัญญาแฟรนไชส์ ซึ่งในคู่มือจะต้องระบุเงื่อนไขสัญญาให้มีความละเอียดชัดเจน ถูกต้อง

sw8

2.เนื้อหาสาระ

เมื่อรู้วัตถุประสงค์ของคู่มือแฟรนไชส์ ว่านำไปใช้เพื่อการอะไรแล้ว ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ต้องรู้ว่า เนื้อหาสาระที่จะใส่ลงไปในคู่มือแฟรนไชส์มีอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างราบรื่น มีความสะดวกสบาย เข้าใจภาพรวมของธุรกิจแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว

โดยเนื้อหาสาระในคู่มือแฟรนไชส์ ต้องระบุถึงภาพรวมธุรกิจทั่วๆ ไป ให้ผู้อ่านได้เข้าใจ ได้รู้ที่มาที่ไปของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดในการทำธุรกิจ ปัจจัยความสำเร็จ กฎเกณฑ์ต่างๆ ในการทำธุรกิจ มาตรฐานระบบธุรกิจแฟรนไชส์ ประวัติความเป็นมาของธุรกิจ โครงสร้างองค์กร ผู้บริหาร วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายของธุรกิจแฟรนไชส์

เนื้อหาสาระยังต้องมีองค์ประกอบส่วนหลัก เพื่อถ่ายทอดถึงระบบปฏิบัติการต่างๆ การทำงานประจำวัน การผลิต รูปแบบการขาย การให้บริการลูกค้า ระบบและกระบวนการขนส่งสินค้า การจัดเก็บและสต็อกสินค้า การจัดเก็บเงิน เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีเนื้อหาส่วนเสริม ระบุเกี่ยวกับระบบการบริหารง่านส่วนต่าง อาทิ การตลาด การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ โปรโมชั่น บุคลากร พนักงาน การแต่งกาย การเงิน การบัญชี เป็นต้น

we7

3.รูปแบบการนำเสนอ

การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ให้น่าสนใจในปัจจุบัน มีหลากหลายรูปแบบของการนำเสนอ แล้วแต่ว่าผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์จะเลือกใช้ให้มีความเหมาะสมกับธุรกิจของตัวเอง อ่านหรือดูแล้วไม่น่าเบื่อ โดยรูปแบบการนำเสนอขอคู่มือแฟรนไชส์ในปัจจุบันส่วนใหญ่นิยมใช้กัน อาทิ แบบเอกสารคู่มือทั่วไป แบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ แบบ Multimedia ภาพเคลื่อนไหว

นอกจากนี้ ยังมี Interactive สามารถโต้ตอบ แสดงความคิดเห็นย้อนกลับได้ อีกทั้งนำเสนอในรูปแบบออนไลน์ เว็บไซต์ สามารถเข้าถึงได้ง่าย ควบคุม แก้ไข และส่งถึงกันได้โดยง่าย โดยเฉพาะแฟรนไชส์ซีที่อยู่ห่างไกลกัน

ยิ่งโลกยุคปัจจุบัน ช่องทางสังคมออนไลน์ ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการนำเสนอคู่มือแฟรนไชส์ ที่มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น เฟสบุ๊ค ไลน์ รวมถึงเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ ที่ร่วมสมัย นำมาใช้ในการทำงานร่วมกันได้

การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ที่ดี มีมาตรฐาน มีการใส่องค์ประกอบที่ครบถ้วน มีความสมบูรณ์แบบ จะมีส่วนช่วยให้คุณสามารถควบคุมระบบมาตรฐานแฟรนไชส์ได้ง่ายขึ้น เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซีได้อ่านแล้ว เข้าใจง่าย นำไปปฏิบัติได้ราบรื่น ก็จะทำให้ระบบแฟรนไชส์ประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

S__2834448

ท่านใดสนใจอยากทำคู่มือแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/39hpi82

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช