KOI The'(โคอิเตะ) ปฐมบทชานมไข่มุกรีเทิร์น!!

พูดถึงชานมไข่มุกนี่ต้องนึกถึง “ไต้หวัน” ที่เป็นแหล่งกำเนิดของเมนูเครื่องดื่มที่สามารถครองใจสาวไทยได้ทั่วประเทศ KOI Thé (โค-อิ-เตะ) คือ ร้านชานมรสชาติต้นตำรับจากเกาะไต้หวัน ที่เน้นการเสิร์ฟชานมคุณภาพ ผ่านกรรมวิธีการผลิตอย่างดี

ตั้งแต่การคัดสรรใบชาชั้นดี การต้มชาและการต้มไข่มุกเนื้อเหนียวหนึบ ที่ปัจจุบันมีสาขามากมาย ทั้งในประเทศสิงคโปร์ จีน อินโดนีเซีย กัมพูชา และประเทศไทย 49 สาขา

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาไปเจาะลึกธุรกิจร้าน KOI THE'(โคอิเตะ) ชานมไข่มุกร้านดังจากสิงคโปร์ เพราะกว่าจะมีวันนี้ ต้องอุปสรรคต่างๆ ในการทำตลาดในประเทศไทย

KOI THE’ (โคอิเตะ) มาจากไหน

กรณีศึกษา

สำหรับใครที่ยังไม่รู้จัก KOI Thé ว่าเป็นใคร มาจากไหน เกริ่นให้ฟังคร่าวๆ ได้ว่า โคอิเตะเป็นแบรนด์ชาจากประเทศไต้หวัน ก่อตั้งโดย มิสหม่า (Ms. Khloe Ma) ชาวไต้หวันที่ชื่นชอบการเดินทางท่องเที่ยวไปยังที่ต่างๆ และมีแนวคิดอยากแนะนำเครื่องดื่มชาที่เป็นเอกลักษณ์ในแบบไต้หวันแท้ๆ ให้ประเทศต่างๆ ได้รู้จัก

จึงต่อยอดจากธุรกิจครอบครัว ซึ่งเป็นร้านชาชื่อดังของไต้หวันอยู่แล้ว คือ อู่สือหลาน (50 嵐) เพื่อเปิดธุรกิจชาของตัวเองภายใต้แบรนด์ KOI Thé พร้อมกับเปิดสาขาต้นแบบเป็นแห่งแรกในไต้หวัน เมื่อปี 2006 จนปัจจุบันมีสาขาอยู่ใน 12 ประเทศ อาทิ ไต้หวัน ซึ่งมีอยู่เพียง 2 แห่ง เพื่อทำเป็นสาขาต้นแบบเท่านั้น ก่อนจะขยายมาที่สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม กัมพูชา ไทย มาเลเซีย และพม่า เป็นต้น

gg1

สำหรับประเทศไทย เป็นประเทศที่ 10 ที่โคอิ เตะ เลือกเข้ามาทำตลาด และเป็นหนึ่งประเทศที่มิสหม่ามองว่าเป็น Strategic Location ที่ต้องขยายเข้ามา เพราะเป็น Destination ของธุรกิจท่องเที่ยวในภูมิภาคที่คนทั่วโลกอยากเดินทางเข้ามา

ประกอบกับแบรนด์อาหารดังๆ หลายแบรนด์ก็เลือกที่จะขยายสาขามาเปิดในประเทศไทย ซึ่งในเดือนกรกฎาคม 2019 นี้ ก็จะครบรอบ 3 ปี ที่โคอิ เตะ เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย

เปิดตัวไม่ดังเปรี้ยงป้าง!

gg2

โคอิ เตะ ไม่ได้ประสบความสำเร็จแบบถล่มทลาย ตั้งแต่ช่วงแรกที่เปิดตัวธุรกิจในไทย แม้จะมีชื่อเสียงในต่างประเทศ และมีคนไทยบางส่วนที่เดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆ อาจจะรู้จักแบรนด์อยู่บ้างก็ตาม

เพราะช่วงเริ่มต้นธุรกิจ หลังเปิดสาขาแรกในเดือนกรกฎาคม 2016 ที่เซ็นทรัล บางนา กลับมีผลตอบรับไม่ค่อยดีนัก อาจจะด้วยความเป็นแบรนด์ใหม่ที่คนทั่วๆ ไปยังไม่ค่อยรู้จัก ประกอบกับที่ตั้งสาขาซึ่งออกไปในโซนที่ค่อนข้างไกล

รวมทั้งในช่วงเริ่มต้น ทาง โคอิ เตะ ประเทศไทย ซึ่งได้รับการมอบหมายจากมิสหม่าให้ดูแลการดำเนินธุรกิจในไทย ยังไม่ได้เน้นทำการตลาดมากนัก เนื่องจากจำนวนสาขาที่ยังมีน้อย จึงเน้นที่การพัฒนาธุรกิจและเตรียมบุคลากร เพื่อรองรับการขยายธุรกิจในอนาคตเป็นหลักก่อน

g2

3 เดือนต่อมา โคอิ เตะ สาขาที่ 2 จึงพร้อมเปิดให้บริการ โดยสาขานี้ได้พื้นที่ค่อนข้างดี เพราะอยู่ในสยามสแควร์วัน ซึ่งเป็นย่านใจกลางเมือง เป็นทั้งแหล่งรวมวัยรุ่นและเป็นพื้นที่ที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากด้วย

แต่เนื่องจากในขณะนั้นประเทศไทยอยู่ในช่วงของความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ Mood & Tone ของคนทั่วทั้งประเทศ จึงไม่พร้อมที่จะเปิดรับหรือสนใจเรื่องอื่นๆ มากนัก เรียกว่าอยู่ในช่วงที่ทุกอย่างแทบจะหยุดชะงักลงโดยอัตโนมัติ

เดินเกมการตลาดด้วยการรีวิว

gg4

โคอิ เตะ เปิดร้านและขายของไปอย่างเงียบๆ โดยในเดือนต่อมาก็ได้ขยายสาขาที่ 3 เพิ่มอีกหนึ่งแห่งที่ เซ็นทรัล พระราม 9 ทำให้เริ่มมีสาขากระจายอยู่ในพื้นที่แต่ละจุดของ กทม. เพิ่มมากขึ้น ขณะที่ยอดขายในช่วงเวลานั้นก็ยังคงไม่ค่อยดีมากนักเช่นเดิม

ขณะที่โคอิ เตะ เลือกที่จะใช้วิธีทำตลาดอย่างเงียบๆ ด้วยการเชิญสื่อที่อยู่ในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มมาทำการรีวิวร้าน ซึ่งภายหลังทำการแนะนำร้านผ่านสื่อออกไป ก็เริ่มเห็นผลตอบรับที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เรียกว่า จากที่เคยต้มชาแล้วต้องทิ้งมากกว่าได้ขาย ก็สามารถขายได้มากขึ้น ไปจนถึงในบางช่วงที่ต้มกันแทบไม่ทันเลยก็มี

ชูจุดเด่น Handmade Tea

gg7

ความแตกต่างของโคอิ เตะ ยังอยู่ที่การเป็น Handmade Tea เพราะวัตถุดิบที่ใช้ทุกอย่างจะทำใหม่หมดแบบ On Site เพื่อให้แต่ละแก้วที่ลูกค้าได้ดื่มนั้น คงความเป็นชาไข่มุกแบบไต้หวันอย่างแท้จริง

gg5

ไม่ว่าจะเป็นการต้มชา ที่การต้มแต่ละครั้งจะเก็บไว้แค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้น เช่นเดียวกับการต้มไข่มุกหรือ Golden Bubble ซึ่งต้องถือเป็น Signature ของโคอิเตะ เพราะเม็ดไข่มุกจะมีขนาดเล็กว่าทั่วไปและมีสีทอง ทำให้บางคนเปรียบเทียบเม็ดไข่มุกของโคอิ เตะ ว่าเหมือนกับไข่ปลาแซลมอน

g4

รายได้ของบริษัท โคอิ เตะ (ประเทศไทย) จำกัด

  • ปี 59 รายได้ 3.5 ล้านบาท ขาดทุน 2 ล้านบาท
  • ปี 60 รายได้ 62 ล้านบาท กำไร 8 ล้านบาท
  • ปี 61 รายได้ 304 ล้านบาท กำไร 81 ล้านบาท
  • ปี 62 รายได้ 519 ล้านบาท กำไร 107 ล้านบาท
  • ปี 63 รายได้ 386 ล้านบาท กำไร 36 ล้านบาท

KOI Thé ชื่อนี้เรียกไม่เหมือนกัน

g3

ถือเป็นหนึ่งประเด็นที่เกิดขึ้นกับชานมไข่มุกพรีเมี่ยมจากไต้หวันรายนี้ โดยเฉพาะในโลกโซเชียล ที่จะได้เห็นความสงสัยหรือเป็นที่ถกเถียงกันเกี่ยวกับชื่อของแบรนด์ KOI Thé ให้ได้เห็นกันอยู่เสมอ

ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว มีประเทศไทยเพียงประเทศเดียวที่เรียก KOI Thé ว่า โคอิ เตะ ขณะที่ประเทศอื่นๆ อีก 11 ประเทศที่ KOI Thé เข้าไปทำตลาดนั้นจะออกเสียงชื่อแบรนด์นี้ว่า “ข่อย”

แต่ด้วยลักษณะน้ำเสียงของคำที่พอออกเสียงเป็นภาษาไทยแล้ว อาจจะฟังดูไม่ค่อยไพเราะ หรือไปพ้องกับคำในภาษาอีสานที่ความหมายอาจจะไม่ค่อยสุภาพนัก ทำให้ทางมิสหม่าและโคอิ เตะ ประเทศไทย ตัดสินใจใช้ชื่อแบรนด์ว่า โคอิ เตะ แทน

gg3

จะเห็นได้ว่า เส้นทางการดำเนินธุรกิจของร้าน KOI Thé โคอิ เตะ กว่าจะมีวันนี้ได้ แทบกระอักเลือด เส้นทางไม่ได้โรยด้วยดอกกุหลาบ แม้ว่าผู้บริโภคคนไทยจะรู้จักคุ้นเคยกับแบรนด์ KOI Thé โคอิ เตะ เป็นอย่างดี แต่การที่ธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้ในพื้นที่หนึ่งๆ จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องทำการตลาด วิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคในพื้นที่นั้นๆ ให้ดีเสียก่อน


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ goo.gl/1kGtVY
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี แบรนด์อื่นๆ เปิดร้าน goo.gl/7uTKGW

อ้างอิงข้อมูล

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3Abfbgc

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช