Grab vs Get vs Food Panda – สงครามแอพพลิเคชั่นแย่งชิงถนนประเทศไทย

แอพพลิเคชั่น จัดส่งอาหารอย่าง Get, Grab, และ Food Panda ได้เปิดฉากสงครามการจัดส่ง แต่แทนที่พวกเขาจะใส่เสื้อเกราะกับถือปืน พวกเขากลับเลือกที่จะสวมเสื้อแบรนด์และจัดส่งพิซซ่าถาดร้อน ๆ บนรถมอเตอร์ไซด์ โดยรถมอเตอร์ไซด์สีชมพูดอย่าง Food Panda เองได้วิ่งโฉบเฉี่ยวบนถนน โดยวิ่งไปทั่วทุกแห่งในประเทศไทยของแต่ละวัน

โดย 2 ธุรกิจอย่าง Get กับ Grab ได้อ้างว่า พวกเขาได้ผลกำไรมากขึ้นจากการจัดส่ง โดยเฉพาะในพื้นที่รอบ ๆ กรุงเทพ แต่ทั้งหมดนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงหลังจากที่บริการขี่รถมอเตอร์ไซด์อาจได้รับการอนุมัติโดยรัฐบาลอย่างเป็นทางการ โดยมีแผนทำให้บริการนี้ถูกกฎหมายก่อนปี 2020 ซึ่งทาง Food Panda ยังไม่ได้ประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจการในประเทศไทยมากเท่าที่ควร

18

ภาพจาก bit.ly/2TdwOr7

ทั้ง 2 ธุรกิจนี้สร้างความได้เปรียบโดยใช้หลัก “เศรษฐกิจขี้เกียจ” เช่นกันแนวโน้มการเติบโตในบริการจัดส่งอาหารเริ่มเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นในอุตสาหกรรมร้านอาหารเมื่อครัวเฉพาะกิจได้มีการเปิดบริการแอพพลิเคชั่นตลาด ‘ออนไลน์’ เพียงอย่างเดียว เช่นเดียวกับแอพพลิเคชั่นจองห้องโรงแรม, การท่องเที่ยว, การจองเที่ยวบิน, ข่าวสาร, การเงินและเพลง ซึ่งธุรกิจการจัดส่งอาหารได้เริ่มเปลี่ยนแปลงธุรกิจร้านอาหารด้วยเช่นกัน

ธุรกิจบริการจัดส่งเริ่มส่งผลกระทบต่อร้านอาหารเก่าแก่เมื่อผู้คนส่วนใหญ่ต่างมีความสุขกับความสะดวกสบายในการกินอาหารที่บ้าน และไม่ได้เจอกับภาวะการจราจรที่คับคั่ง โดยเฉพาะพื้นที่รอบ ๆ เมืองกรุงเทพ

ทางด้านธรินทร์ ธนียวัน ประธาน Grab ประเทศไทยได้กล่าวว่า นี่เป็นปีที่น่าตื่นเต้นมากสำหรับ Grab ประเทศไทย

“ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา พวกเราได้รับยอดจองกว่า 120 ล้านจากบริการทั้งหมด”

“นี่เป็นแพลตฟอร์มธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เร็วที่สุดและเป็นอันดับหนึ่งในประเทศไทย”

17

ภาพจาก bit.ly/2v9Ybdv

ธุรกิจ GrabFood อ้างว่า มีผู้คน 4 ล้านคนได้ลงทะเบียนในการทำธุรกรรมหรือจองในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2019 เมื่อเทียบกับผู้คนกว่า 3 ล้านในช่วงปีที่ผ่านมา

ทาง Kantar ซึ่งเป็นหน่วยงานที่วิจัยทางด้านตลาดได้กล่าวว่า ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีนี้ มีการเดินสำรวจกว่า 54 % จากผู้บริโภค 599 คน พวกเขาได้กล่าวว่า พวกเขาใช้บริการ GrabFood ในการส่งอาหารบ่อยกว่า

ในขณะเดียวกัน Get ประเทศไทย ซึ่งเป็นบริษัทของอินโดนีเซียที่ได้พัฒนาแอพ ‘Go-jek’ ได้กล่าวว่า มีทริปเพิ่มมากขึ้นกว่า 10 ล้านครั้งในกรุงเทพจากการให้บริการทั้งหมดนับตั้งแต่ที่ได้เปิดตัวในช่วงเดือนกุมภาพันธ์

ทางด้านวงคทิปภา วิเศษเกษม ผู้อำนวยการ Get ที่ดูแลแพลตฟอร์มการปฏิบัติการ ได้กล่าวว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้นก็คือ บริการส่งอาหารโดยใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ในการจัดเตรียมเมนูที่เหมาะกับผู้บริโภคแต่ละคน

16

ภาพจาก bit.ly/2PkJo6G

“ในแต่ละเดือนนั้น Get ได้รับออเดอร์กว่า 3 แสนกว่าออเดอร์ที่เกี่ยวกับชานมไข่มุก ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ยุคชานมไข่มุกยังคงเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ”

ทั้ง 2 ธุรกิจกล่าวว่า ธุรกิจบริการจัดส่งอาหารเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของแอพพลิเคชั่น เช่นกันทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินการให้บริการจัดส่งทุก ๆ อย่าง ทั้ง 2 บริษัทได้ทำการแข่งขันเพื่อเอาชนะในบริการการใช้รถมอเตอร์ไซด์ตามกฎระเบียบการใช้ถนน (และทางเท้า) ของประเทศไทยในช่วงสิบปีที่ผ่านมา

Grab ได้กล่าวว่า พวกเขาได้วางแผนให้บริการใน 20 เมืองของ 18 จังหวัดและมีเป้าหมายที่จะขยายเมืองเทียร์ 2 โดยโฟกัสไปยังการท่องเที่ยว ทั้ง 2 ธุรกิจยอมรับว่า พวกเขายังไม่ได้ผลกำไรในเวลานี้ แต่หวังว่าโมเดลธุรกิจของพวกเขาจะแสดงผลกำไรในปีถัดไป


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3adkyNR
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
ข้อมูลจาก : Bangkok Post
ที่มา : thethaiger.com

อ้างอิงจาก bit.ly/396CVUH