9 กลยุทธ์แฟรนไชส์ ก่อนตายต้องอ่าน!

ในระบบแฟรนไชส์ มีทั้งผู้ขายแฟรนไชส์ และผู้ซื้อแฟรนไชส์ อีกคนหนึ่งสร้างระบบขึ้นมาขาย อีกคนหนึ่งถ้าอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ก็เอาเงินไปซื้อแบรนด์แฟรนไชส์ดีๆ ติดตลาดแล้วมาเปิดกิจการ

แต่กระนั้น การทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน ที่มีการแข่งขันกันรุนแรงมากขึ้น ใครหลายคนก็บอกว่ายากมาก กว่าจะนำพาธุรกิจประสบความสำเร็จ ต้องลองผิดลองถูก มุ่งมั่น อดทน ตั้งใจ พยายามทำให้ถึงที่สุด

ยิ่งเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ด้วยแล้ว ต้องมีระบบที่รัดกุม เจ้าของธุรกิจหลายคนต้องจบกลางทาง แต่หลายคนไปรอด ขยายธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่นคง ท่ามกลางสภาวะแวดล้อมใหม่ ที่มีการแข่งขันรุนแรง ผู้ประกอบการยุคใหม่มีความรู้สูงขึ้น มีเงินทุนมากขึ้น รู้จักนำเทคโนโลยีสมัยเข้ามาช่วย มุ่งเน้นสร้างสรรค์นวัตกรรมเพิ่มขึ้น

เช่นเดียวกับ ธุรกิจแฟรนไชส์ระดับโลก อาทิ ซัพเวย์ เคเอฟซี แม็กโดนัลด์ สตาร์บัคส์ พิซซ่าฮัท 7-11ฯลฯ ที่เดินทางมาถึงทุกวันนี้ ก็ต้องล้มลุกคลุกคลาน ลองผิดลองถูก มาเหมือนกัน กว่าจะสามารถสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ให้เติบโตอย่างมั่นคง

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์ระดับโลก ให้กับเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ รวมถึงผู้ที่กำลังทำธุรกิจของตัวเองเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ นำไปเป็นแนวทางในการบริหารธุรกิจแฟรนไชส์ของตัวเอง เพื่อขยายธุรกิจ และสร้างการเติบโตให้กับระบบแฟรนไชส์มั่นคงและอย่างยั่งยืน

1.ต้องสร้างมาตรฐานและความแตกต่าง

กลยุทธ์แฟรนไชส์

ภาพจาก goo.gl/72wJHd

การทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ก็ต้องมีกลยุทธ์ และมีมาตรฐาน อยากแรกเจ้าของธุรกิจต้องทำอะไรที่แตกต่างจากที่มีอยู่ ถ้าคุณทำเหมือนคนอื่นแล้วจะไปแข่งขันยังไงถึงจะชนะ ส่วนเรื่องมาตรฐานที่ว่าความเท่าเทียมนี่ หมายถึงการบริหารและควบคุมคุณภาพสินค้า หรือบริการให้เท่าเทียมกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เพื่อนำเสนอให้กับลูกค้าทุกรายได้เหมือนๆ กัน

สิ่งสำคัญผู้ประกอบการต้องรู้จักตัวเองและผู้อื่นก่อนว่า เก่งอะไรและไม่เก่งอะไร พอเรารู้ตัวเองว่าตัวเองเก่งอะไร ก็มาคิดต่อว่าว่าจะเอาความเก่งของตัวเองไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง อาจต้องขวนขวายหาข้อมูลพอสมควร เช่น เศรษฐกิจตอนนี้เป็นอย่างไร เทรนด์ไหนกำลังมา มีความต้องการอะไรบ้าง ที่พอจะทำแข่งได้ คู่แข่งขันเขาเก่งอะไร แล้วเราจะเอาอะไรไปสู้

2.คุณภาพของสินค้า

o2

ภาพจาก goo.gl/wMjiAp

แม้ว่าผู้พันแซนเดอร์สจะประสบความล้มเหลวในการประกอบอาชีพมาตลอดชีวิต แต่เขารู้ตัวเองอย่างหนึ่งว่า มีสิ่งที่เขาถนัดและทำได้ดีที่สุดอยู่ นั่นคือ การทำอาหาร เขาได้ตัดสินใจประกอบธุรกิจร้านอาหาร และพัฒนาสูตรไก่ทอดของตัวเองอย่างจริงจัง ถึงแม้ว่าขณะนั้นจะมีอายุมากแล้วก็ตาม เรียกได้ว่า ไม่สายไปหากจะทำธุรกิจที่เรามีความเชี่ยวชาญจริง

ทั้งนี้ รสชาติของไก่ทอดของ KFC ก็มีการปรับให้ถูกปาก และตอบโจทย์ผู้บริโภคในแต่ละเมืองได้เป็นอย่างดี แต่ละประเทศด้วย แต่ก็ยังคงมาตรฐานรสชาติในแบบ KFC เอาไว้ ถ้าใครเคยไปลิ้มลองที่ต่างประเทศก็จะทราบข้อนี้ดี นับเป็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่แสดงถึงความใส่ใจผู้บริโภค โดยใช้คุณภาพของสินค้าเป็นตัวนำ

3.สร้างเอกลักษณ์

o3

ภาพจาก goo.gl/yrPh4D

แม้ว่าเมนูในร้าน KFC จะมีค่อนข้างหลากหลาย แต่ KFC ก็เลือกที่จะใช้ไก่ทอดเป็นเอกลักษณ์มาโดยตลอด คิดค้นสูตรลับที่ทำให้ไม่มีใครเลียนแบบได้ รั้งตำแหน่งผู้นำตลาดได้อย่างเหนียวแน่น และสิ่งสำคัญอีกอย่าง “พันเอก ฮาร์แลนด์ แซนเดอร์ส” มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งเสื้อผ้าหน้าผม เรียกได้ว่า ติดอันดับมนุษย์ที่มีคนรู้จักเป็นอันดับต้นๆ ของโลก

อีกทั้ง โลโก้ของ KFC ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน ปรากฏหน้าของผู้พันควบคู่ไปกับตัวหนังสือทุกแบบ ทุกเวอร์ชั่น วางหุ่นรูปตัวเองไว้หน้าร้านทุกสาขา ทำกันขนาดนี้ จำไม่ได้ให้มันรู้ไป

4.สโลแกนน่าติดตาม

o4

ภาพจาก goo.gl/4K3vFy

นอกจากโลโก้ที่เป็นที่จดจำแล้ว สโลแกนของ KFC ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สร้างเอกลักษณ์ให้กับแบรนด์ แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนมาหลายครั้งแต่ก็คุ้นหูเกือบทุกอันเลยครับ โดยในช่วงแรกจะใช้อยู่ 2 อัน คือ “North America’s Hospitality Dish”และ “We fix Sunday dinner seven nights a week” จนกระทั่งภายหลังปรับให้กระชับขึ้นเป็น “Finger licking good”

ที่เราคุ้นเคยมาตลอดในศตวรรษที่ 20 จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2006 สโลแกนเปลี่ยนอีกครั้งเป็น “Follow your taste” และล่าสุดในปี 2011 กับสโลแกนที่สั้นลงกว่าเดิม “So good” ตามนโยบายของบริษัท ที่อยากจะสื่อสารกับผู้บริโภคให้มากกว่าการขายอาหารรสชาติดี แต่รวมไปถึงการบริการที่อบอุ่นด้วย

5.สร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง

o5

ภาพจาก goo.gl/RrDU8m

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การดำเนินธุรกิจของ KFC ในประเทศไทย แม้จะประสบความสำเร็จอย่างมากทางการตลาด โดยการตอกย้ำสินค้าไก่ทอดของตนเอง แต่ KFC ไม่หยุดอยู่เพียงเท่านั้น

โดยเมื่อปี 2016 ได้เพิ่มกลยุทธ์ทางการตลาดในประเทศไทยด้วยการทำ Branding ด้วยแนวคิด ที่เห็นว่า แบรนด์ เป็นเรื่องของความรู้สึก เมื่อนึกถึงต้องบอกได้ว่าแบรนด์นี้มีความรู้สึกอย่างไร หรือทำให้ผู้บริโภครู้สึกอย่างไร KFC จึงเริ่มต้นด้วยแนวคิด KFC Always Original เป็นตัวจริง เป็นสิ่งที่ดีที่สุด สื่อสารโดยใช้รูปแบบงานศิลปะ Music and Pop Art

6.เติบโตอย่างระมัดระวัง

o6

ภาพจาก www.cpall.co.th

ธุรกิจแฟรนไชส์ระดับโลกกว่าจะขยายธุรกิจไปปักหมุดในต่างประเทศ ต้องใช้เวลาในการสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ สร้างรูปแบบธุรกิจ สร้างแบรนด์ให้คนจำนวนมากรู้จัก ถ้าสินค้าไม่ดีจริง ไม่รีบขยายธุรกิจ เพราะธุรกิจแฟรนไชส์เหล่านี้ไม่ต้องเติบโตอย่างรวดเร็ว เติบโตอย่างระมัดระวัง มีความรอบคอบในการขยายธุรกิจ ถ้าพื้นที่ ทำเลที่ตั้งไม่ดีจริง จะไม่ทำ

แต่ถ้าคุณอยากโตเร็ว ต้องมีความพร้อมทุกเรื่อง คนพร้อม ระบบพร้อม เงินพร้อม สินค้าและบริการพร้อม ถ้าคุณไม่พร้อมในเรื่องเหล่านี้ คุณจะเดินหน้าธุรกิจไม่ได้ ถ้าขืนเดินไปก็ล้ม บริษัทใหญ่ๆ ที่เติบโตเร็วได้ เพราะเขามีพร้อมทุกด้านแล้ว อย่างในเมืองไทย 7-11 เป็นอีกตัวอย่างที่ต้องการเติบโตเร็ว แต่เขามีความรอบคอบ มีระบบต่างๆ พร้อมที่จะขยายธุรกิจ

7.มุ่งขายแฟรนไชส์ให้นักลงทุนรายใหญ่

o7

ภาพจาก goo.gl/PcosJN

เห็นชัดเจนว่าธุรกิจแฟรนไชส์ระดับโลก อย่าง เคเอฟซี แม็คโดนัลด์ พิซซ่าฮัท จะให้ความสำคัญกับบริษัทใหญ่ๆ หรือกลุ่มบุคคลที่มีเงินทุนจำนวนมาก มีเงินหมุนเวียนพร้อมเปิดกิจการเพียงพอ และมีความพร้อมที่ซื้อแฟรนไชส์ไปบริหาร

เพราะธุรกิจแฟรนไชส์ระดับโลกต้องการความสำเร็จ ต้องการคนที่เก่งจริงๆ เข้ามาทำธุรกิจ ต้องการคนที่จะนำพาธุรกิจแฟรนไชส์ของบริษัทฯ ประสบความสำเร็จ นั่นก็คือ บริษัทที่มีเงินทุน มีศักยภาพในการทำการตลาดในแต่ละประเทศนั้นๆ เช่น กลุ่มเซ็นทรัลฯ และกลุ่มไมเนอร์ฯ หรือแม้แต่แฟรนไชส์บ้านเราก็ต้องเลือกนักลงทุนที่มีศักยภาพ เป็นต้น

8.หาคู่ค้าพันธมิตรที่ทันสมัย มีความรู้ และเงินทุน

o8

ภาพจาก goo.gl/V1UN4v

ไม่ต่างไปจากข้างบน เพราะยุคนี้ สมัยนี้ หากจะหาผู้ที่จะมาร่วมลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์กับคุณ อย่างแรกต้องเลือกผู้ประกอบการที่มีความทันสมัยพอ มีความรู้ และเงินทุน เพราะคนเหล่านี้มีพร้อมที่จะซื้อแฟรนไชส์จากคุณไปเปิดกิจการ

พวกเขาพร้อมที่จะเติบโตไปพร้อมกับคุณ ยิ่งเด็กสมัยใหม่มีความรู้ ทำให้ต้องเลือกมากขึ้น เมื่อคุณเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ต้องทำให้ตัวเองเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณต้องมีกำไร สินค้าหรือบริการเป็นที่ต้องการของตลาด

ธุรกิจแฟรนไชส์ระดับโลก เคเอฟซี แม็คโดนัลด์ เลือกผู้ที่มีความสามารถทำธุรกิจแฟรนไชส์ได้อย่างมั่นคงเช่นกัน ห้างเซ็นทรัลไปปักธงที่ไหน มักจะเห็นร้านเคเอฟซี และแม็คโดนัลด์ ติดสอยห้อยตามไปด้วยเสมอ เพราะเซ็นทรัลเป็นผู้ประกอบการสมัยใหม่ มีความทันสมัย มีเงินทุน มีความรู้ เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคทุกกลุ่ม

9.สร้างโอกาสในการเข้าตลาด

o9

ภาพจาก goo.gl/bbR6Zo

แฟรนไชส์ระดับโลก มักเดินตามกลยุทธ์นี้ครับ เข้าตลาดเร็ว แต่ใช้เวลาฟักตัว หรือไม่ก็รอเวลา เมื่อเห็นโอกาสเหมาะสม พวกเขาจะจู่โจมทันทีเมื่อมีโอกาส และเข้าไปสำรวจตลาด สร้างตลาด สร้างแบรนด์ในแต่ละประเทศให้ผู้บริโภคได้รู้จัก กว่าจะขยายสาขาได้แต่ละสาขา ต้องมีความรอบคอบ ใช้ระยะเวลา

แต่ถ้าหากคุณอยากประสบความสำเร็จในการเจาะตลาด หากมีกำลังมากพอ ทั้งเงินทุน ทีมงาน ระบบ ผลกำไร ต้องเข้าให้เร็วที่สุด ถ้าไม่มีกำลัง จงค่อยๆ ฟักตัว อย่ารีบร้อน เพราะในปัจจุบันตลาดต่างๆ ได้แปรเปลี่ยนไปมาก หากคุณอยากได้ตลาดเร็วๆ คุณต้องใช้กำลังเงินสูงมาก ไม่มีกำลังอย่ารีบร้อน ต้องเข้าไปฟักตัวก่อน นี่คือ ระบบแฟรนไชส์

สรุปก็คือ เจ้าของแฟรนไชส์ควรขายแฟรนไชส์ในช่วงเวลาที่มีโอกาสเป็นไปได้ และให้แฟรนไชส์ซีในตลาดนั้นๆ ช่วยขยายธุรกิจด้วยการเพิ่มสาขา หรือแนะนำทำเลที่ดีต่อเนื่องสำหรับการเปิดสาขาใหม่

วิธีการนี้ดูเหมือนไม่ได้วางแผนแน่ชัด อาศัยโอกาสมาเป็นตัวชี้นำ ถ้ามีช่องทางก็เดินหน้าเปิดสาขา แต่วางแผนให้เกิดแฟรนไชส์ซีที่ดี ช่วยให้เกิดการขยายตัวในพื้นที่ต่อเนื่อง การใช้แผนงานนี้จะมี 2 ลักษณะ
คือ ตอนเริ่มต้นที่ยังไม่ได้มีสาขามากนัก แล้วก็ช่วงท้ายๆ หลังจากที่การขยายสาขาได้มากพอแล้ว ก็เริ่มค่อยคัดโอกาสสร้างแฟรนไชส์ซีดีๆ แทน

คุณได้เห็นแล้วว่า กว่าที่ธุรกิจแฟรนไชส์ระดับโลกอย่าง เคเอฟซี แม็คโดนัลด์ พิซซ่าฮัท หรือ 7-Eleven ในบ้านเรา จะประสบความสำเร็จในการทำแฟรนไชส์ ล้วนแต่มีกลยุทธ์ที่ได้เตรียมการเป็นอย่างดี ทั้งคุณภาพ มาตรฐาน รู้เขารู้เรา ไม่เร่งรีบ รอบคอบ

หาพันธมิตรธุรกิจที่แข็งแกร่งมาช่วยทำธุรกิจ เพราะระบบแฟรนไชส์นั้น เขามีไว้เพื่อแบ่งปันความสำเร็จให้คนอื่น รวมถึงการแสวงหาผู้ร่วมลงทุนที่มีความพร้อมจะเติบโตไปด้วยกัน

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com
สนใจซื้อแฟรนไชส์ www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3pnDoK6

01565898888

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช