7 เหตุผลที่ทำให้ Appication ของ Startup ไม่รุ่ง

ปัจจุบันมีเครื่องมือทางการตลาดให้เลือกใช้กันจำนวนมากโดยเฉพาะ Appication แพลตฟอร์ม ต่างๆที่แต่ละค่ายต่างก็งัดเอามาเป็นจุดเด่น เพื่อให้ใช้เป็นเทคนิคทางการตลาดที่ทำให้ผู้ประกอบการสามารถย่นย่อการทำงานให้รวดเร็วได้ยิ่งขึ้น

แต่ด้วยความหลากหลายที่ว่านี้ก็เป็นเหมือนดาบสองคมที่คนไม่รู้จักการจัดระเบียบการใช้ให้ถูกต้องนอกจากไม่ช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจรุ่งแล้วยังกลายเป็นภาระที่ทำให้ธุรกิจดูสับสนวุ่นวายได้มากขึ้นอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ www.ThaiSMEsCenter.com เพื่อให้นักสร้างและพัฒนา Appication ได้มีแนวทางของการปรับปรุงเพื่อให้ Appication ที่สร้างมานั้นกลายเป็นฟีเจอร์ที่สะดวกสบายและใช้งานได้จริงไม่ใช่แค่ไอคอนหน้าตาดี

แต่ไม่มีประโยชน์ใดๆทางธุรกิจและนี่คือแนวทางพัฒนาที่ควรรู้ไว้เพื่อให้ Appication กลายเป็นสิ่งที่มีค่าและทำประโยชน์ให้กับนักธุรกิจได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด

แพลตฟอร์ม

ภาพจาก goo.gl/pP7qAF

1. Appication ที่พัฒนามาแบบผิดๆ

ผู้สร้าง Appication ควรเลือกให้ดีว่าจะสร้าง App แบบไหน ไม่ว่าจะเป็น App ที่โหลดจาก App Store หรือ Google Play หรือแบบ Mobile Friendly ที่เปิดจากบราวเซอร์บนมือถืออย่าง Safari หรือ Chrome ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการพัฒนา App แบบNative

แม้มีต้นทุนสูงแต่ก็มอบประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานได้ดีกว่า ใช้ ง่ายและเร็วกว่าแบบผสม แต่การพัฒนา App แบบผสมจะมีต้นทุนที่ประหยัดกว่าซึ่งรูปแบบการพัฒนา App จะมีผลกระทบในงานส่วนอื่นๆของStartup

ฉะนั้นลองตอบตัวเองให้ชัดเจนว่างบตอนนี้มีอยู่เท่าไร่ มีตารางงานและกำหนดการหรือไม่ App ของเรามีฟังก์ชันที่จำเป็นสำหรับระบบปฎิบัติการ OS หรือไม่ และมีอะไรบ้าง ประสบการณ์แบบไหนที่อยากให้ผู้ใช้ App นั้นพอใจ

2. ฟีเจอร์มากเกินความจำเป็น

การมีฟีเจอร์มากใช่ว่าจะกลายเป็นสิ่งที่ดีต่อ Startup อย่าลืมว่า Startup ต้องการใช้ App ที่ง่ายและรวดเร็ว ถ้า App ไหนยัดฟีเจอร์เข้าไปมากเกินจำเป็น

จะกลายเป็นเรื่องการใช้ที่ยุ่งยากมาก สุดท้ายนักลงทุนบางคนก็เลือกมองข้าม App นั้นไปกลายเป็นแค่ไอคอนที่อยู่หน้าจอโทรศัพท์เท่านั้น

et1

ภาพจาก goo.gl/FoLIFK

3. ลืมคิดถึงแพลตฟอร์มที่ App ไปอยู่

ระบบปฏิบัติการ iOS อาจจะนิยมในอเมริกา แต่ Android ก็ใช้ทั่วโลกเช่นเดียวกัน นักพัฒนา App ส่วนมากมักเลือกพัฒนาบน iOS เพราะเชื่อว่า App บน iOS ทำรายได้ง่ายๆใน App storeย่างเดียว

แต่การทำ App บนแพลตฟอร์มเดียวทำให้เสียโอกาสเข้าหาผู้ใช้งานหน้าใหม่จำนวนมากอย่าง ฉะนั้นหากต้องการให้ App เป็นที่ต้องการของ Startup ในหลายๆประเทศ ควรมีการพัฒนาที่รองรับทุกๆแพลตฟอร์มด้วย

4. ไม่ให้ความสำคัญกับการทดสอบการใช้งานของ App

น่าตกใจที่กว่าร้อยละ 50 ของผู้ใช้ App จะลบ App นั้นทิ้งถ้ากดโหลดใช้งานไม่ขึ้นภายใน 3 วินาทีหรือน้อยกว่านั้นด้วยซ้ำ แต่แต่นักพัฒนาส่วนมากกลับละเลยเรื่องนี้ไปและรีบพัฒนาให้เสร็จๆและทดสอบแบบลวกๆ

ทำให้นักพัฒนาไม่เรียนรู้จุดบกพร่องเพียงพอและเสริมจุดแข็งที่จำเป็น และไม่ทดสอบไปเรื่อยๆเพื่อให้ได้ App ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้ สุดท้าย App ที่พัฒนามาก็ใช้งานไม่ได้จริงและไม่ได้รับความนิยมในเหล่า Startup

et3

ภาพจาก goo.gl/YlKGsP

5. ลืมคิดถึงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ App จริง

นักพัฒนา App ที่ดีต้องนึกถึงผลลัพธ์ที่ Startup คาดหวังซึ่งก็คือประสบการณ์ที่ต้องการให้เหล่า Startup ได้รับรู้ถึง ประโยชน์ของการนึกถึงข้อนี้เป็นโจทย์หลัก

จะทำให้นักพัฒนา App สามารถระบุขั้นตอนที่มีปัญหาเพื่อจะได้แก้ไขเยียวยาได้ตรงจุด อันจะเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ App นั้นกลายเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพและน่าใช้งานเป็นอย่างยิ่ง

6. ไม่มีแผนการตลาดที่เข้าท่า

Appication และผู้สร้างธุรกิจจากการทำ App จำนวนมากสนใจแต่ยอดคนที่ดาวน์โหลด เพราะ Startup จำนวนไม่นยอดคนที่ดาวน์โหลด แต่ยอดจำนวนที่ดาวน์โหลดสูงๆไม่ได้การันตีว่า App นั้นๆจะประสบความสำเร็จ ฉะนั้นต้องหาทางให้ App หาง่ายๆใน สโตร์เข้าไว้

รวมถึงการรีวิวทั้งหลายก็เป็นเหตุผลสำคัญในการที่คนจะเลือกใช้ App ต่างๆทางที่ดีหากคิดจะทำ App ควรมีการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายทุกๆช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นอีเมล์ Facebook หรือ Twitter

et4

ภาพจาก goo.gl/OXVIIj

7. ไม่สร้างความสัมพันธ์กับผู้ใช้งานเลย

เมื่อไร่ก็ตามที่ผู้ใช้ App โหลดลงเครื่องแล้ว นั่นหมายความว่าผู้ใช้ App มี “เรา” อยู่ในเครื่องติดตัวไปด้วย ฉะนั้นคว้าโอกาสนี้ไว้ให้ดี เร่งสร้างความสัมพันธ์ เชิญชวนให้ผู้ใช้ App เข้ามาใช้อย่างสม่ำเสมอ

โดยเฉพาะปัจจุบันที่ลูกค้านั้นมีความควาดหวังไว้สูงมาก อีกทั้งต้องทำให้ผู้ใช้งานให้ความเห็นและร้องเรียนการใช้งานช่องทางอื่นๆได้ง่ายด้วย

และจากเหตุทั้ง 7 ประการนี้จะเป็นกรอบสำคัญที่ทำให้การพัฒนา Appกลายเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อบรรดา Startup แน่นอนว่าในมุมของการเลือกใช้เองก็ควรพิจารณาดูองค์ประกอบของแต่ละ App ว่ามีโครงสร้างที่สุ่มเสี่ยงต่อความยุ่งยากในการใช้หรือไม่ถ้าธุรกิจดีเลือกAppดีก็จะทำให้งานง่ายขึ้น ผลกำไรที่ได้ก็จะง่ายขึ้นด้วยเช่นกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก goo.gl/g0WkLf

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด