7 ธุรกิจแฟรนไชส์นำเข้า เปิดขายแฟรนไชส์ ใช้เงินลงทุนเท่าไหร่

ธุรกิจแฟรนไชส์ต่างประเทศที่บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง CRG ไมเนอร์ฯ หรือซีพี นำเข้ามาเปิดตลาดและขยายกิจการในเมืองไทยมีทั้งขายแฟรนไชส์และไม่ขายแฟรนไชส์ มาดูกันว่ามี ธุรกิจแฟรนไชส์นำเข้า แบรนด์ไหนที่นำเข้ามาในไทยแล้วเปิดขายแฟรนไชส์

1. 7-Eleven

ธุรกิจแฟรนไชส์นำเข้า

ในเมืองไทย 7-Eleven อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เครือซีพี ได้รับสิทธิแฟรนไชส์จากสหรัฐอเมริกา เปิดสาขาแรกซอยพัฒน์พงศ์ เมื่อปี 2532 ปัจจุบันมีมากกว่า 14,000 สาขาทั่วประเทศ เปิดขายแฟรนไชส์ในรูปแบบการเป็น Store Business Partner ให้เราได้เลือก 2 รูปแบบ

รูปแบบที่ 1 ลงทุน 4.8 แสนบาท, เงินประกัน 1 ล้านบาท รวมแล้วต้องมีเงินให้ 7-Eleven ประมาณ 1.48 ล้านบาท อายุสัญญา 6 ปี ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะเข้าไปเป็นผู้จัดการร้าน มีเงินเดือน 29,000 บาท บริหารค่าใช้จ่ายให้ได้ตามงบ ย้ำว่าค่าใช้จ่ายนะครับไม่ใช่ยอดขาย ค่าใช้จ่ายก็มี ค่าจ้างพนักงาน ค่าน้ำค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์หลัก ถ้าบริหารได้ตามเป้างบค่าใช้จ่ายจะมีปันผลแบ่งยอดกำไรจากการขายให้ 20-30% ในส่วนที่มียอดขายเกินเป้า โดยผู้จัดร้านสามารถเลือกร้านสาขา 7-Eleven ที่จะเข้าไปดูแลร้านได้ทั้งร้านเปิดใหม่ๆ และร้านที่ยังไม่ได้ก่อสร้างก็ได้

รูปแบบที่ 2 เงินลงทุน 1.73 ล้านบาท, เงินประกัน 9 แสนบาท ต้องมีเงินให้กับทาง 7-Eleven 2.63 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้ส่วนแบ่งจากกำไร 54% (ยังไม่ได้หักค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงาน และอื่นๆ ในร้าน)

ในส่วนเงินค้ำประกันของทั้ง 2 รูปแบบลงทุน จะได้รับคืนเมื่อสิ้นสุดสัญญา โดยจะได้รับดอกเบี้ยคืนทุกปี ตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารกรุงเทพ ณ วันที่ 1 มกราคม

หลายคนเริ่มสงสัยแล้วว่า เอ๊ะ! ทำไม ผู้ซื้อแฟรนไชส์ 7-Eleven ไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า วัสดุอุปกรณ์ และการตกแต่งร้านเลยเหรอ ลืมบอกไปว่าเงินในส่วนตรงนี้ทางซีพีออลล์จะออกให้ทั้งหมด ในส่วนของค่าเช่าตึก + ค่าเช่าที่ดิน ซึ่งบางสาขาเราจะเห็นเป็นลานจอดรถกว้างมาก ทางซีพีออลล์จะเป็นผู้รับชอบค่าใช้จ่ายในส่วนตรงนี้ทั้งหมด รวมถึงรายได้จากค่าเช่าพื้นที่ขายของ ค่าติดตั้งตู้ ATM และอื่นๆ ก็จะเป็นของซีพีออลล์

2. มิสเตอร์ โดนัท

ธุรกิจแฟรนไชส์นำเข้า

“มิสเตอร์ โดนัท” เข้ามาเปิดตลาดเมืองไทยเมื่อปี 2521 ผู้นำเข้ามา คือ คุณสุทธิชัย จิราธิวัฒน์ และคุณสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ ผู้บริหารของ บริษัท ไทยแฟรนไชซิ่ง จำกัด เป็นผู้บุกเบิกตลาดโดนัทเจ้าแรกในไทย เปิดสาขาแรกที่สยามสแควร์ ต่อมาในปี 2546 มิสเตอร์ โดนัท อยู่ภายใต้การดูแลของ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG จนปัจจุบันทำให้ “มิสเตอร์ โดนัท” ก้าวเป็นผู้นำตลาดโดนัทเมืองไทย เปิดขายแฟรนไชส์ให้กับนักลงทุนทั่วไปตั้งแต่ต้นปี 2565

การเปิดแฟรนไชส์ร้านมิสเตอร์ โดนัท มี 2 รูปแบบ

  • โมเดล 1 เดลโก้ (ขนาด 2.5 เมตร x 3 เมตร) ขนาดพื้นที่ 9 ตารางเมตร, ค่าก่อสร้างและเงินลงทุน 600,000 บาท, เงินมัดจำค่าเช่า ค่าใช้จ่ายเตรียมเปิดร้าน 100,000 บาท, ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ 200,000 บาท, เงินประกันวัตถุดิบ 70,000 บาท, Royalty Fee 7%, ประมาณยอดขายต่อเดือน 200,000 บาท, อายุสัญญา 3 ปี, ค่าสำรวจพื้นที่ กรุงเทพฯ ปริมณฑล 10,000 บาท (ต่างจังหวัดมีค่าเดินทางและที่พัก)
  • โมเดล 2 ร้านมิสเตอร์ โดนัท ขนาดพื้นที่ 15-20 ตารางเมตร, ค่าก่อสร้างและเงินลงทุนเริ่มต้น 600,000 บาท (ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่จริง), เงินมัดจำค่าเช่า ค่าใช้จ่ายเตรียมเปิดร้าน 100,000 บาท, ค่าแฟรนไชส์ 200,000 บาท, เงินประกันวัตถุดิบ 70,000 บาท, Royalty Fee 7%, ประมาณการยอดขายต่อเดือน 200,000 บาท, อายุสัญญา 3 ปี, ค่าสำรวจพื้นที่ กรุงเทพฯ ปริมณฑล 10,000 บาท (ต่างจังหวัดมีค่าเดินทางและที่พัก)

3. แดรี่ควีน

ธุรกิจแฟรนไชส์นำเข้า

“แดรี่ควีน” เป็นร้านไอศกรีมซอฟเสิร์ฟที่หลายๆ คนโปรดปราน นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา ในไทยถือสิทธิโดยบริษัทไมเนอร์ฟู้ดกรุ๊ป เปิดสาขาแรกที่เซ็นทรัลลาดพร้าวเมื่อปี 2539 ปัจจุบันมีกว่า 500 สาขาทั่วประเทศ แดรี่ควีนในเมืองไทยขายดีตั้งแต่เปิดร้านวันแรก ขนาดนักลงทุนระดับโลก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” ยังเป็นลูกค้า แถมติดใจจนต้องซื้อกิจการอเมริกา

จุดเด่นของแดรี่ควีน คือ รสสัมผัสที่นุ่ม ละมุนลิ้น นอกจากรสชาติดี ยังมีกิมมิกเสิร์ฟแบบคว่ำถ้วย อันเป็นเอกลักษณ์ของทางร้าน ถ้าถามว่า แดรี่ควีนประสบความสำเร็จกับการขายแฟรนไชส์ขนาดไหน ลองคิดดูว่าเพียง 15 ปีแรกในสหรัฐฯ แดรี่ควีนขยายสาขาเถึง 2,600 สาขา ปัจจุบันมีกว่า 7,000 สาขาในสหรัฐฯ, แคนาดา และกว่า 20 ประเทศทั่วโลก

มาถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วแดรี่ควีนในไทยขายแฟรนไชส์มั้ย หากต้องการซื้อแฟรนไชส์แดรี่ควีน เราต้องหาพื้นที่ 3 แห่ง เปิดสาขาแรกภายใน 60 วัน เปิดอีก 2 สาขาภายใน 1 ปี, ขนาดร้าน 30 ตารางเมตร, ค่าแรกเข้า 1,5 ล้านบาท, งบการลงทุนรวม 3-3.5 ล้านบาท, Royalty Fee 5%, Marketing Fee 6%

4. สเวนเซ่นส์

ธุรกิจแฟรนไชส์นำเข้า

เป็นเวลาเกือบ 4 ทศวรรษ ที่ “สเวนเซ่นส์” แฟรนไชส์ร้านไอศกรีมสัญชาติอเมริกา ภายใต้การดูแลของบริษัทเดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป สร้างตำนานความสำเร็จมาอย่างต่อเนื่อง ปักหมุดเป็นแบรนด์ Top of Mind ในใจผู้บริโภคจนถึงทุกวันนี้

สเวนเซ่นส์เปิดสาขาแรกในเมืองไทยที่เซ็นทรัลลาดพร้าวเมื่อปี 2529 ร้านไม่ใหญ่มากขนาด 30 ตารางเมตร มีพนักงานเพียง 14 คน ปัจจุบันมีจำนวน 320 สาขาทั่วประเทศ เป็นร้านแฟรนไชส์ 60% ร้านไมเนอร์ฯ 40%

สำหรับแผนขยายสาขาแฟรนไชส์จะเน้นในต่างจังหวัด รูปแบบร้านแบ่งเป็น ร้านสแตนด์อโลน ขนาดพื้นที่ 200-250 ตารางเมตร ตอนนี้เปิดบริการแล้ว 5 สาขา ได้แก่ ภูเก็ต นครศรีธรรมราช พิษณุโลก ยะลา และ น่าน

ในปี 2564 สเวนเซ่นส์ทำรายได้มากถึง 1,278 ล้านบาท กำไรกว่า 89.7 ล้านบาท ลองมาดูกันว่า ถ้าจะเปิดร้านแฟรนไชส์ สเวนเซ่นส์ 1 ร้าน จะใช้เงินลงทุนมากน้อยแค่ไหน?
ร้านขนาด 70-120 ตร.ม., จำนวนที่นั่ง 40-50 คน, ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ 1,402 ล้านบาท, งบลงทุนรวมประมาณ 5.5 – 7 ล้านบาท (ค่าออกแบบตกแต่ง อุปกรณ์และเฟอร์นิเจอร์), Royalty Fee 7%, Marketing Fee 5%, ระยะสัญญา 10 ปี

ส่วนค่าใช้จ่ายต่างๆ ภายในร้าน ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องรับผิดชอบ มีอะไรบ้าง? มาดูกัน ต้นทุนอาหาร 30%, ค่าขนส่ง 3%, พนักงานในร้าน 13%, ค่าน้ำ ค่าไฟ 12%, ค่าเช่า 10%, ส่วนลดที่ลูกค้าเข้ามาใช้บริการในร้าน 3%, รวมค่าใช้จ่ายต่างๆ ในร้านอยู่ที่ประมาณ 83%, กำไรก่อนหักภาษีรายได้จะอยู่ที่ประมาณ 17%

5. คุมอง

ภาพจาก https://shorturl.at/itxO4

คุมองแฟรนไชส์การศึกษาอันดับ 1 ของโลก มุ่งเน้นการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ มุ่งพัฒนาศักยภาพของนักเรียนแต่ละคนไปยังจุดสูงสุดโดยไม่จำกัดอยู่ที่อายุหรือชั้นเรียนในโรงเรียน ระบบการเรียนแบบคุมองมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมากว่า 60 ปี ปัจจุบันได้แพร่หลายในกว่า 49 ประเทศและมีจำนวนนักเรียนมากกว่า 4 ล้านคนทั่วโลก

จุดเด่นของคุมอง คือ ระบบการเรียนมีลักษณะการเรียนแบบเฉพาะตัว นักเรียนแต่ละคนได้เรียนในระดับที่พอเหมาะพอดีกับความสามารถ ผ่านแบบฝึกหัดที่ออกแบบมาเพื่อมุ่งพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง เมื่อนักเรียนได้เรียนเนื้อหาที่พอเหมาะพอดีกับความสามารถอย่างต่อเนื่อง นักเรียนจะสามารถเรียนในเนื้อหาที่เกินชั้นเรียนที่โรงเรียนต่อไปได้

การลงทุนแฟรนไชส์ มีค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในการเปิดศูนย์คุมองอยู่ที่ 700,000 บาทขึ้นไป, ค่าใบอนุญาตชั่วคราวสำหรับการเปิดสอน 3 วิชา (73,830 บาท), ค่าตกแต่งอาคาร ค่าเฟอร์นิเจอร์ภายในศูนย์ สำหรับรายละเอียดอื่นๆ บริษัทฯ จะแจ้งในวันที่ผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนา ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดได้ทางเว็บไซต์ https://bit.ly/2GAuhkc โทร. 02-6266555 ต่อ 1453-1455

6. คอฟฟี่ เจอร์นี่

ภาพจาก www.facebook.com/CoffeeJourneyThailand/

Coffee Journey อีกหนึ่งแบรนด์แฟรนไชส์ร้านกาแฟที่กำลังมาแรงในประเทศไทย อยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นแบรนด์ร้านกาแฟชื่อดังจากประเทศออสเตรเลีย ทำการตลาดด้วยการชูจุดแข็งด้วยการใช้เมล็ดกาแฟอาราบิก้าที่นำเข้าจากออสเตรเลีย และพัฒนาสูตรให้รสชาติโดนใจคนไทย 100%

การลงทุนแฟรนไชส์

  • ค่าแฟรนไชส์ 2 แสนบาท
  • อายุสัญญา 6 ปี,
  • จำนวนสาขา 62 สาขาม
  • งบลงทุน 1.290-3.215 ล้านบาท

7. Bellinee’s Bake & Brew

ธุรกิจแฟรนไชส์นำเข้า

แฟรนไชส์ร้านเบเกอรี่และกาแฟระดับพรีเมี่ยม อีกหนึ่งธุรกิจภายใต้การดูแลของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) โดดเด่นด้านเบเกอรี่อบสดและอาหาร คิดค้นและสร้างสรรค์เมนู อันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดยปาติซิเย่ (Patisserie) มืออาชีพ รวมถึงกาแฟสดระดับพรีเมียมจากอิตาลี ปัจจุบันมีสาขาทั่วประเทศมากกว่า 60 สาขา

ผู้ที่สนใจเป็นเจ้าของร้าน Bellinee’s Bake & Brew ทางซีพีออลล์ เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจมาร่วมสร้างความสุขและส่งมอบสิ่งดีๆ ให้กับลูกค้า ด้วยการเป็นเจ้าของร้านแฟรนไชส์ โดยมีเงื่อนไขในการลงทุน คือ

#Premium ขนาด 50+ ตร.ม., ออกแบบและตกแต่ง 1,200,000 บาท, อุปกรณ์/เฟอร์นิเจอร์ 1,400,000 บาท, ค่าแฟรนไชส์แรกเข้า 300,000 บาท, เงินประกัน 150,000 บาท, ระยะสัญญา 8 ปี, Royalty Fee 4.5%, Marketing Fee 1.5%

#Grab & Go, ขนาด 20+ ตร.ม., ออกแบบและตกแต่ง 500,000 บาท, อุปกรณ์ / เฟอร์นิเจอร์ 850,000 บาท, ค่าแฟรนไชส์แรกเข้า 150,000 บาท, เงินประกัน 150,000 บาท, ระยะสัญญา 8 ปี, Royalty Fee 4.5%, Marketing Fee 1.5%

การซื้อแฟรนไชส์แม้ว่าจะเป็นทางลัดในการทำธุรกิจ ความเสี่ยงน้อยกว่าการสร้างธุรกิจขึ้นมาด้วยตัวเอง แต่ก็ใช่ว่าการซื้อแฟรนไชส์จะประสบความสำเร็จกันทุกคน แม้ว่าแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์จะได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างจากทางแบรนด์แฟรนไชส์ แต่ถ้าเลือกแฟรนไชส์ที่ตัวเองไม่ชอบ ธุรกิจเป็นกระแส ไม่ตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภค ลงทุนสูงเกินไป อาจต้องเสียใจในภายหลังได้นะครับ

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช