7 ข้อนี้ดีแน่ หากธุรกิจของเรามีที่ปรึกษาแบบเจ๋งๆ

ที่ปรึกษา (Consulting) คือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและมีระดับความรู้ที่มาพร้อมประสบการณ์และมากพอที่จะถ่ายทอดให้กับคนที่ทำธุรกิจสามารถแก้ไขปัญหาหรือคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงในอนาคตและหาวิธีการป้องกันไว้ในเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี

แต่ทว่าการเป็นที่ปรึกษาได้นั้นโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องมีใบรับรองใบอนุญาติและดูเหมือนว่าที่อเมริกาธุรกิจที่ปรึกษานี้จะเป็นสิ่งที่ผู้ลงทุนมีความต้องการมากถึงขนาดเคยสร้างรายได้กว่า 1,200 ล้านเหรียญกันมาแล้ว

แต่กฏหมายของแต่ละรัฐในอเมริกาก็กำหนดขอบเขตเรื่องนี้ไว้ต่างกันดังนั้นการจะเริ่มต้นอาชีพนี้ได้นอกจากความรู้ที่มีก็ต้องดูข้อกฏหมายในการเริ่มต้นอาชีพที่ค่อนข้างจะแตกต่างกันอีกด้วย

แต่อย่างไรก็ตามในภาคธุรกิจเองนั้นไม่ว่าจะเริ่มธุรกิจประเภทไหนอย่างไรบรรดาที่ปรึกษาก็ยังมีความสำคัญมากแต่คำถามก็คือว่า ธุรกิจทั้งหลายจะมีการเลือกใช้เหล่าที่ปรึษาอย่างไรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพกับการลงทุนของตัวเองได้มากที่สุดเพราะอย่าลืมว่าที่ปรึกษาก็คือธุรกิจประเภทหนึ่งที่มีการจัดตั้งกันเป็นจำนวนมากดังนั้นการเลือกใช้รูปแบบบริการจากที่ปรึกษานี้

www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าต้องให้ความสำคัญมากพอสมควรเพราะถ้าการเลือกที่ปรึกษาได้ดีก็เท่ากับติดปีกให้ธุรกิจเราบินสูงได้มากยิ่งขึ้นด้วยและต่อไปนี้คือ 7 ข้อที่ธุรกิจจะได้รับแน่ๆหากเลือกใช้ที่ปรึกษาได้อย่างถูกที่ถูกทางและใช้งานได้คุ้มค่ากับการที่ว่าจ้างมา

1.เปลี่ยนจากสัญญาที่ปรึกษา เป็นฟรีแลนซ์

ที่ปรึกษา

ก่อนอื่นเพื่อให้เข้ากับกระแสของธุรกิจที่จำเป็นต้องลดทอนต้นทุนตัวเองให้น้อยแต่ยังเป็นการลงทุนที่มีประสิทธิภาพแนะนำก่อนว่าการมีที่ปรึกษานั้นก็เป็นเรื่องที่ดีที่มีส่วนสำคัญให้เราทำธุรกิจได้ถูกช่องทาง

แต่กระนั้นก็ดีหากเป็นไปได้ให้ทำสัญญากับเหล่าที่ปรึกษาในแบบฟรีแลนซ์จะดีกว่า ถามว่าทำไม? นั้นเพราะตลาดยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงเร็วมากธุรกิจทั้งหลายเองก็ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกันเป็นว่าเล่นที่ปรึกษาแบบฟรีแลนซ์มีข้อดีคือการมีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติด้วยไม่ใช่ให้แต่คำปรึกษาแต่ว่าไม่ได้ลงมือทำกับเราแม้แต่น้อย

2.เลือกที่ปรึกษาที่ชำนาญการในเรื่องนั้นๆโดยเฉพาะ

d6

อย่ามองว่าที่ปรึกษาจะต้องเก่งและรอบรู้ในทุกมิติแม้ภาพรวมจะเป็นเช่นนั้นแต่เชื่อเถอะว่านักปรึกษาแต่ละคนก็มีความถนัดเฉพาะด้าน ในข้อที่ 1 เราถึงให้ทำสัญญาแบบฟรีแลนซ์เพื่อจะได้มาที่ปรึกษาเฉพาะด้านมาทำงานให้เราได้ง่ายกว่า

ซึ่งโครงสร้างทางธุรกิจมีหลายส่วนรวมกันทั้งประชาสัมพันธ์ สินค้าบริการ การตลาด และระบบองค์กร บางครั้งการเลือกที่ปรึกษามาทำงานเฉพาะทางจะเสริมให้ธุรกิจเรามีประสิทธิภาพได้ดีกว่าที่ปรึกษาคนเดียวแต่สอนคนได้ทั้งบริษัท

3.ตั้งเป้าหมายการทำงานให้เป็น Project-based เพื่อความมั่นคงของธุรกิจ

d8

สัมพันธ์กันมาตั้งแต่ข้อ 1 มาถึงข้อ 3 ที่เราบอกว่าควรจ้างแบบฟรีแลนซ์และเลือกที่ปรึกษาแบบเฉพาะด้าน แต่การจ้างที่ไม่ประจำนั้นเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น

และลดต้นทุนในระยะยาวคือการจ้างแบบโปรเจคที่อาจจะคิดค่าจ้างกันเป็นรายวัน รายชั่วโมง เพื่อให้เงินที่จ้างคุ้มค่ากับเวลาที่ใช้งานได้จริงอันจะเป็นประโยชน์โดยตรงกับธุรกิจมากกว่า

4.มองหาที่ปรึกษาซึ่งสามารถทำงานได้หลายระดับ

u2

คงจะไม่ใช่เรื่องที่ดีนักหากที่ปรึกษาที่เราจ้างมาไม่ว่าจะแบบประจำ หรือทำเป็นโปรเจค แต่ทว่าตัวที่ปรึกษากับไม่สามารถทำให้เราดูเป็นตัวอย่างหรือมาเพียงแค่คำพูด บทความ เนื้อหา ที่คนในองค์กรมองไม่เห็นภาพ การหาที่ปรึกษาเจ๋งๆ

นั้นคือต้องรู้จักการถ่ายทอดและลงไปคลุกคลีกับปัญหาและคนทำงานที่เกิดปัญหาเพื่อแก้ไขทุกอย่างให้ลุล่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

5.ต้องสามารถสร้างโมเดลใหม่ๆที่ใช้ได้จริงในการตลาด

d9

ปัจจุบันมีเหล่าสตาร์ทอัพเกิดขึ้นจำนวนมากแต่ทว่าการมีที่ปรึกษาในธุรกิจสตาร์ทอัพนั้น ไม่ใช่การเข้ามาพยุงไว้โดยที่ไม่รู้จักสร้างระบบให้สามารถทำงานได้เอง

ว่ากันว่าที่ปรึกษาที่ดีต้องไม่ดูแลสตาร์ทอัพเหมือนเป็นลูกค้ารายใหญ่นั้นคือต้องพยายามให้แก้ปัญหาที่มี คิดวิเคราะห์ทุกอย่างเป็น ที่ปรึกษาของสตาร์อัพเป็นเพียงแบคอัพซึ่งจะเป็นผลดีในระยะยาวต่อธุรกิจเหล่านี้มากที่สุด

6.มองหาที่ปรึกษาชนิดที่เข้าถึงตัวได้ง่าย ทำงานเป็นส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว

u3

ธุรกิจจะได้ประโยชน์มากกับการหาที่ปรึกษาที่มีจรรณยาบรรณในการทำงานที่ดีมากพอ ด้วยความรู้ ความสามารถที่คนเหล่านี้มีบางครั้งก็ทำให้หลายคนทำงานร่วมได้ยาก โดยเฉพาะกับการติดต่อสื่อสารที่เมื่อเวลาเกิดปัญหาบางทีติดต่อไม่ได้หรือไม่ใช่เวลาที่เขาทำงานก็ทำให้เรารู้สึกได้ว่าเป็นการงอนง้อให้มาทำงานมากกว่าจะร่วมหัวจมท้ายในการแก้ไขปัญหา

นั้นคือความผิดพลาดที่จะสร้างความเสียหายให้ธุรกิจดังนั้นการสรรหาที่ปรึกษาซึ่งทุ่มเทเวลาให้กับเราได้มากพอติดต่อสื่อสารกันได้ง่าย และใช้เหตุผลในการทำงานมากกว่าอารมณ์ส่วนตัวถือเป็นเรื่องดีที่ธุรกิจจะได้ประโยชน์เต็มๆ

7.ที่ปรึกษาต้องมาพร้อมกับความคิดสร้างสรรค์

d5

การตลาดยุคใหม่จะมัวอ้างอิงข้อมูลในเชิงวิชาการอย่างเดียวก็ดูจะไม่ทันเกมส์สักเท่าไหร่ เครื่องมือทางการตลาดในปัจจุบันก้าวหน้ามาก แทบจะมีการเปลี่ยนแปลงกันอยู่ทุกเดือน

ที่ปรึกษาที่ดีต้องสามารถเอาความรู้เหล่านั้นมาผสมผสานกับเครื่องมือทางการตลาดและสามารถถ่ายทอดเป็นกลยุทธ์ใหม่ๆให้กับธุรกิจได้ ดังนั้นจึงหมดยุคที่ปรึกษารุ่นเก่าที่เอาแต่นั่งเสนอความคิดเห็นยุคนี้ที่ปรึกษาแบบเจ๋งๆต้องก้าวทันโลก ก้าวทันเทคโนโลยี และรู้จักการถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอนอีกด้วย

มองโดยรวมแล้วการเป็นที่ปรึกษาก็ใช่ว่าใครก็ได้ที่จะมาเริ่มต้นในอาชีพนี้ได้ คุณสมบัติของที่ปรึกษาส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับความเครียดเป็นหลัก รวมถึงที่ปรึกษาที่ดีต้องให้ได้มากกว่าสิ่งที่เราถามไป นั้นคือแนวทางว่าทำไมในสหรัฐอเมริกางานตำแหน่งที่ปรึกษาถึงต้องมีขั้นตอนยุ่งยากกว่าใครสักคนจะเริ่มต้นได้

ในเมืองไทยเองอาจจะเริ่มต้นอาชีพนี้กันได้ง่ายกว่าแต่ในเชิงคุณภาพแล้วก็ควรมีการพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้นไปให้ทันกับกระแสธุรกิจโลกยุคใหม่ซึ่งที่ปรึกษาก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของพนักงานในธุรกิจเหล่านั้นเช่นกัน


SMEs Tips (มีที่ปรึกษาดี ธุรกิจเราก็จะดีด้วย)

  • ที่ปรึกษาที่ดีต้องทุ่มเทเวลาให้กับเราจริงจัง
  • ที่ปรึกษาช่วยมองตลาดในอนาคตและสร้างวิธีการรองรับขึ้นมาได้
  • การจ้างที่ปรึกษาให้เกิดประโยชน์ควรเลือกแบบเฉพาะด้านมากกว่าองค์รวม
  • เพื่อลดรายจ่ายค่าจ้างจึงเน้นจ้างที่ปรึกษาแบบเป็นโปรเจคที่ธุรกิจได้ประโยชน์มากกว่า

และงานนี้ถ้าใครที่คิดอยากจะเริ่มธุรกิจแบบยังไม่มีที่ปรึกษาโดยเฉพาะกับการสร้างแผนทางธุรกิจเพื่อประหยัดงบให้ทุกการลงทุนได้มากขึ้นเราจึงมีแผนธุรกิจให้เลือกกันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียดที่ goo.gl/hGp19G

ท่านใดสนใจบริการรับปรึกษาแฟรนไชส์แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

ๅ

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด