4 กลยุทธ์ ขยายแฟรนไชส์ ในต่างประเทศ ให้ติดตลาด

ปัจจุบันการ ขยายแฟรนไชส์ มีแนวทางหลายแบบ แล้วแต่ผู้ประกอบการธุรกิจจะนำไปปรับใช้กับการดำเนินกิจการระบบแฟรนไชส์ สำหรับการสร้างความเติบโตให้ทั้งธุรกิจที่เป็นสาขาของแฟรนไชส์ซอร์และสาขาของแฟรนไชส์ซี ซึ่งแต่ละวิธีการนั้น ต้องขึ้นอยู่กับสภาพความพร้อมของธุรกิจที่สร้างขึ้นมา โดยเฉพาะแฟรนไชส์ที่ต้องการขยายสาขาในต่างประเทศ

โดยเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ต้องมีความเข้าใจกระบวนการธุรกิจในระบบแฟรนไชส์จริงๆ เสียก่อน เพราะที่ผ่านมาปัญหาของแฟรนไชส์ของไทยนั้น บางทีเรียกได้ว่าชิงสุกก่อนห่าม ไม่ทันอะไรก็วางแนวทางขายระบบแฟรนไชส์ให้คนอื่นเสียแล้ว

ผลที่ตามมาทำให้ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ไปไม่ถึงฝั่งฝัน กลายเป็นประสบการณ์ร้ายๆ ของเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์หลายราย ไม่กล้าสร้างระบบแฟรนไชส์ให้ธุรกิจเติบโต เพื่อขยายแฟรนไชส์ในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งๆ ที่มีโอกาสอยู่มากมาย โดยในช่วงเดือนสิงหาคมถึงสิ้นปี 2559 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ตั้งเป้าจะพาผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ 150 ราย ไปเปิดตลาดในต่างประเทศ

ขยายแฟรนไชส์

ซึ่งปัจจุบันมีธุรกิจแฟรนไชส์ไทยที่มีศักยภาพ มาตรฐานที่กรมได้คัดกรองแล้ว 209 ราย จากธุรกิจแฟรนไชส์ไทยที่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า 1,300 ราย ส่วนมูลค่าตลาดในปี 2558 ของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มีมูลค่า 2.5 แสนล้านบาท และในปี 2559 คาดว่าจะมีมูลค่าตลาดที่ 2.7 แสนล้านบาท

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จึงอยากขอนำเสนอ 4 กลยุทธ์ขยายธุรกิจแฟรนไชส์ในต่างประเทศ ให้ประสบความสำเร็จ เป็นที่นิยมของตลาดและกลุ่มผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ที่กำลังมองหาลู่ทางขายสาขา และกำลังเตรียมตัวขยายแฟรนไชส์ไปในต่างประเทศ มาดูกันเลยครับ

1.กำหนดตลาดกลุ่มเป้าหมายในต่างประเทศ

oo39

ผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ที่ต้องการขยายธุรกิจในต่างประเทศ จะต้องรู้และกำหนดตลาดกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงประเทศที่ต้องการขยายธุรกิจแฟรนไชส์ไปให้ชัดเจน โดยต้องมีการศึกษาข้อมูล ศึกษาตลาด พฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละประเทศเป้าหมาย ซึ่งการศึกษาตลาดในแต่ละประเทศอาจจะหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต หรือกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

หรืออาจจะสมัครเข้าร่วมงานแสดงสินค้า หรือออกบูธแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ในต่างประเทศ ซึ่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะมีโครงการนำผู้ประกอบการแฟรนไชส์ร่วมแสดงสินค้าอย่างต่อเนื่อง การขยายตลาดในต่างประเทศอย่างนี้ ต้องศึกษากำหนดตลาดไว้ตั้งแต่เริ่มต้น และวางแผนขยายเข้าไปในพื้นที่ที่ต้องการเมื่อมีความพร้อม

2.สร้างความแตกต่างและโดดเด่นให้ร้านต้นแบบ

oo35

แตกต่างจากวิธีการแรกเพราะจะใช้ประโยชน์ของการสร้างสาขาของบริษัทเอง หรือร้านต้นแบบ วิธีการดังกล่าวจะทำให้ภาพธุรกิจของแฟรนไชส์เด่นชัดในตลาดเป้าหมายก่อนที่จะขายให้แฟรนไชส์ซี เพื่อจุดประสงค์สร้างความต้องการอยากซื้อแฟรนไชส์ให้เกิดขึ้นกับนักลงทุน

หลังจากได้เห็นและสัมผัสกับร้านต้นแบบแล้ว ทำให้มีความรู้ความเข้าใจธุรกิจ ได้เห็นภาพร้านของบริษัทแฟรนไชส์ชัดเจนเสียก่อน ซึ่งร้านต้นแบบจะช่วยทำให้เกิดการลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง

3.มองหาจังหวะและสร้างโอกาสที่เหมาะสม

oo38

แม้ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณจะพร้อมแล้ว แต่โอกาสในต่างประเทศยังไม่มาถึง สถานการณ์ไม่เอื้ออำนวยในการเข้าไปลงทุนในช่วงเวลานั้น อาจด้วยสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง

คุณก็ควรที่จะชะลอการเข้าไปลงทุนในต่างประเทศไว้ก่อน รอสถานการณ์และโอกาสให้เอื้ออำนวยเสียก่อน ช่วงรอจังหวะและโอกาสคุณต้องพยายามสร้างธุรกิจและแบรนด์ให้แข็งแกร่งในประเทศ

ศึกษาหาความรู้การขยายธุรกิจแฟรนไชส์ในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องภาษาและวัฒนธรรมของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ รวมถึงอัตราค่าครองชีพ ที่จะมีผลต่อต่อการกำหนดราคาระบบแฟรนไชส์

พูดง่ายๆ คือ ช่วงรอโอกาสที่เหมาะสม คุณต้องทำอย่างไรก็ได้ให้ธุรกิจแฟรนไชส์มีความพร้อมมากที่สุด เพราะถ้าก้าวออกไปข้างนอก ถ้าพลาดแล้วก็พลาดเลย ไม่มีโอกาสที่จะแก้ตัว ถึงมีก็จะน้อยมาก

ดังนั้น คุณต้องเน้นขายธุรกิจแฟรนไชส์ในช่วงเวลาที่มีโอกาสเป็นไปได้ เช่น ภาวะเศรษฐกิจดี นโยบายรัฐสนับสนุนการลงทุนต่างชาติ ค่าครองชีพสูง ประชาชนมีรายได้ และต้องให้แฟรนไชส์ซีในตลาดนั้น ช่วยขยายธุรกิจด้วยการเพิ่มสาขา หรือแนะนำทำเลที่ดีต่อเนื่องสำหรับการเปิดสาขาใหม่ คัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่ดี ที่สามารถขยายสาขาในพื้นที่ได้ต่อเนื่อง

4.สร้างธุรกิจและแบรนด์แฟรนไชส์ให้แข็งแกร่ง

oo36

แน่นอนว่าการขยายธุรกิจแฟรนไชส์ในต่างประเทศให้ประสบความสำเร็จ เป็นที่ต้องการของตลาดและได้รับความในหมู่ผู้บริโภค ธุรกิจแฟรนไชส์นั้นต้องมีการสร้างระบบธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้มาตรฐานคุณภาพระดับสากล ผลการดำเนินงานของธุรกิจแฟรนไชส์มีรายได้ที่เติบโตมั่นคงอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญต้องมีการสร้างแบรนด์แฟรนไชส์ให้ติดตลาดและแข็งแกร่งในประเทศเสียก่อน มีการขยายสาขาในประเทศจำนวนมาก ต่อเนื่องทุกๆ ปี

ดังนั้น ก่อนขยายธุรกิจแฟรนไชส์ในต่างประเทศ คุณวางรากฐานธุรกิจ และสร้างระบบแฟรนไชส์ในประเทศให้แข็งแกร่ง สร้างร้านต้นแบบ รวมถึงสาขาทั่วประเทศให้มีระบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพราะระบบแฟรนไชส์ที่ดี ไม่ใช่ว่าคุณจะออกไปเร่ขายธุรกิจแฟรนไชส์ให้คนอื่นอย่างเดียวเท่านั้น

เพราะผู้ประกอบการแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จหลายคน แฟรนไชส์ซีเขาผ่านมาใช้บริการ แล้วมองเห็นโอกาสจึงเกิดความสนใจและตัดสินใจซื้อ และเมื่อคุณขยายสาขาได้ 1 ประเทศแล้ว คุสามารถเริ่มศึกษาตลาดประเทศอื่นๆ ก็ได้ ไปทีละขั้นตอน อย่ารีบร้อน เมื่อธุรกิจแฟรนไชส์คุณดี เจ๋งจริง แฟรนไชส์ซีมองเห็นความสำเร็จ โอกาสก็จะมาถึง

oo37

เห็นได้ว่าการขยายธุรกิจแฟรนไชส์ในต่างประเทศให้ประสบความสำเร็จ ติดตลาด เป็นที่นิยมของผู้บริโภค ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ต้องมีความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์ มีการวางแผน กำหนดเป้าหมายของตลาด

รู้จักการนำกลวิธีสร้างความแตกต่างและโดดเด่นมาปรับใช้กับสาขาต้นแบบ เพื่อสร้างธุรกิจ สร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง ก่อนที่จะนำเสนอรูปแบบความความสำเร็จของระบบธุรกิจแฟรนไชส์ให้กับแฟรนไชส์ซีหรือผู้ที่สนใจซื้อแฟรนไชส์ไปลงทุน

ดังนั้น การขยายธุรกิจแฟรนไชส์ในต่างประเทศ ไม่ใช่ว่าทุกธุรกิจแฟรนไชส์ของไทยจะประสบความสำเร็จในต่างประเทศและตลาดเพื่อนบ้าน จำเป็นที่ผู้ประกอบการแต่ละรายต้องหันกลับมามองตัวเองว่า มีความพร้อมจริงหรือเปล่าเท่านั้น

สำหรับข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์ไทยไปต่างประเทศ Go Inter 17 แบรนด์ 44 ประเทศ ไป 44 ประเทศ ใครอยากรู้! อ่านต่อได้ที่ http://goo.gl/O024OV 

01565898888

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช